เทคนิคตะลุยโจทย์ข้อสอบ 5 เทคนิคทำข้อสอบเก่า เตรียมสอบยังไงให้ปัง #TCAS65

สำหรับน้อง #TCAS65 คนไหนที่เริ่มกังวลกับการสอบที่นับวันยิ่งใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ แถมเรียบออนไลน์ก็ยังไม่รู้เรื่อง วันนี้พี่ ๆ TCASter ได้ขุดเทคนิคการเตรียมสอบในส่วนของการทำข้อสอบเก่ายังไงให้ปัง รวมถึง ท้ายบทความยังมีอีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ ฝึกซ้อมได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลย! เทคนิคที่ 1 จับเวลา และจำลองสถานการณ์ เทคนิคนี้ พี่แนะนำให้เราใช้ประเมินความสามารถของตัวเองในเบื้องต้นก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าวิชานี้ เราได้แค่ไหน บทไหนยังไม่แม่น ข้อสอบแบบไหนที่ต้องไปติวเพิ่ม  เมื่อเราได้ลองทำเป็น Pre-test ไปแล้ว เราก็มาเริ่มวางแผนตะลุยแต่ละบท บทไหนแม่นแล้วก็ทำพอคร่าวๆ บทไหนยังไม่แม่น และเป็นบทสำคัญให้ตะลุยโจทย์บทนั้นอย่างจริงจัง จากนั้นจึงทำเป็น Post-test อีกรอบหนึ่ง อาจจะหลังจากผ่านระยะการฝึกฝนไปสัก 1 เดือน เป็นการวัดผลความก้าวหน้าของตัวเองทุกเดือน จะได้รู้ว่าควรจะเก็บบทไหน ควรจะเน้นอะไร วิธีการจำลองสถานการณ์ ตรวจสอบเวลา จำนวนชั่วโมงในการสอบจริงของแต่ละวิชาว่าใช้เวลาเท่าไหร่ กำหนดตารางเวลาไว้ในปฏิทิน แล้วห้ามเบี้ยวนะ! คิดเหมือนนับถอยหลังวันสอบจริง หากเป็นไปได้ จัดเวลาให้ตรงกับที่ต้องสอบจริงๆ เตรียมข้อสอบเก่า กระดาษคำตอบเหมือนจริง บัตรประจำตัว เตรียมทุกอย่างให้เหมือนวันสอบ อย่าลืมบอกผู้ปกครองให้เข้าใจ ท่านจะได้ไม่รบกวนเวลาจำลองสถานการณ์ จากนั้นทำข้อสอบเก่าให้เต็มที่สุดความสามารถที่มี…

รวมไอเดียจัดโต๊ะอ่านหนังสือ

กักตัวอยู่บ้านนานๆ กับบรรยากาศเดิม ๆ เริ่มเบื่อกันรึยังนะ มุมโปรดในบ้านของน้องๆ มีมุมไหนกันบ้าง? สำหรับวัยเรียนหลาย ๆ คนคงไม่พ้นมุมโต๊ะอ่านหนังสือที่เอาไว้ใช้อ่านหนังสือหรือทำการบ้าน น้อง ๆ คงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตรงนี้แน่นอน! การที่เรามีโต๊ะอ่านหนังสือส่วนตัวจะช่วยให้เรามีสมาธิในการอ่านหนังสือ หรือทำการบ้านมากขึ้น…แต่ว่า! นั่งอยู่ที่โต๊ะหนังสือแบบเดิมๆ นานวันเข้าก็อาจมีเบื่อกันบ้าง วันนี้พี่รวมไอเดียการจัดโต๊ะอ่านหนังสือมาเสนอน้องๆ เอาไว้เปลี่ยนบรรยากาศมุมโปรดที่จะช่วยกระตุ้นให้น้องๆ อยากอ่านหนังสือและใช้เวลาตรงนี้เพิ่มขึ้นด้วย!  สายคุมโทน การจัดแบบนี้จะช่วยให้เวลามองน้องๆจะรู้สึกสบายตาเนื่องจากโทนสีที่ไปในทางเดียวกันจะช่วยให้ใช้สายตาในการมองง่ายมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับน้องๆที่มีอุปกรณ์น้อยชิ้น มีเฉพาะของที่จำเป็น ที่เราจะหยิบใช้บ่อยๆบนโต๊ะเท่านั้น การจัดแบบนี้อาจเพิ่มกล่องเก็บของตั้งข้างๆก็ได้ แต่อย่าลืมว่าวางอะไรไว้ตรงไหนล่ะ! อีกหนึ่งไอเท็มที่ขาดไม่ได้ คือ ต้นไม้หรือแจกันดอกไม้เล็กๆ เพื่อเพิ่มให้ภาพรวมของโต๊ะมีความสบายตามากยิ่งขึ้น รวมถึงอาจมีของตกแต่งเล็กๆไว้ประดับสักชิ้นนึงให้ไม่เหงาด้วยก็ได้นะ ที่มา : https://www.pexels.com/photo/laptop-on-white-desk-3740747/ ที่มา : https://www.pexels.com/photo/black-frame-laptop-on-white-table-near-glass-of-milk-3758743/   สายตกแต่ง แนวนี้จะค่อนข้างตรงข้ามกับสายที่ผ่านมา เนื่องจากการจัดโต๊ะแนวนี้จะมีอุปกรณ์ตกแต่งค่อนข้างเยอะ อาจเลือกจากความชอบขอบโทนสี แล้วค่อยหาอุปกรณ์มาตกแต่งกัน! สำหรับแนวนี้ที่ขาดไม่ได้เห็นจะเป็นตะแกรงหรือบอร์ดตกแต่งที่ไว้ใช้ติดภาพหรือแปะข้อความเตือนความจำ อาจติดรูปภาพที่สื่อถึงความเป็นตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปวิว หรือสัตว์ที่ชอบก็ได้ รวมถึงไฟประดับตกแต่งหรือโคมไฟน่ารักๆก็ช่วยเพิ่มความน่ารักให้กับโต๊ะอ่านหนังสือของเราได้ ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/187603140716288049/ ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/61572719893873811/ สายมองวิว…

|

เรียนอะไรดี? ค้นพบคณะที่ใช่ด้วย 5 วิธีนี้เลย!!

ผิดด้วยหรอ ที่ยังไม่รู้ตัวว่าอยากเข้าคณะอะไร? จริง ๆ ไม่ใช่ความผิดน้อง ๆ เลย ที่เรายังไม่รู้ตัวว่าจะเข้าคณะอะไรกันแน่ แต่การที่เราได้รู้ตัวเร็ว เราก็จะสามารถวางแผนรับมือกับการเรียนต่อในอนาคตได้นั่นเอง วันนี้น้อง ๆ คนไหนที่กำลังกังวล หรือกำลังปวดหัวกับคำถามจากคนรอบตัวในเรื่องการเรียนต่อ ต้องห้ามพลาดบทความนี้เลย ในวันนี้พี่มีวิธีมาเสนอให้น้อง ๆ ได้ค้นพบตัวตนที่ใช่! คณะที่ชอบ! โดยมีทั้งหมด 5 วิธีด้วยกัน ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มทำพร้อมกันเลย!! . แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า ก่อนที่น้อง ๆ จะเริ่มทำ 5 ขั้นตอนนี้ พี่อยากให้น้อง ๆ หาพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวในการทำนิดนึง เพื่อที่จะช่วยให้น้อง ๆ มีสมาธิ และจริงจังกับการทำตามขั้นตอนที่พี่กำลังจะแนะนำในตอนนี้ เอาหล่ะ มาเริ่มที่ขั้นแรกกันเลย . ขั้นที่ 1 ก่อนทำโจทย์ อย่าลืมเช็กตัวเลือก ในขั้นตอนนี้ ตัวเลือกที่พี่หมายถึง คือ พี่อยากให้น้อง ๆ ลองลิสต์รายชื่อคณะทั้งหมด โดยเป็นคณะที่มีการเปิดสอนอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาจเริ่มไล่จากข้อกำหนดที่เราต้องการก่อน เช่น มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน มหาวิทยาลัยในกรุงเทพ…

|

รวมประสบการณ์จาก “เด็กซิ่ว” ทำไมถึงซิ่ว แล้วซิ่วไปไหน มาดูคำตอบกันเลย

“ตอนแรกคณะนี้มันใช่ แต่เรียนไปเรียนมากลับไม่ใช่ซะงั้น” “ถ้ารู้ตัวว่าไม่ใช่ จะฝืนหรือซิ่วดี” “จะขึ้นปี 4 แล้ว ซิ่วดีไหมนะ” ทำไมเราต้องกังวลเรื่องซิ่วกันนะ?…ถ้าเราเรียนไปแล้วจากตอนแรกที่มันใช่ แล้วพอเรียนไปเรื่อย ๆ มันกลับไม่ใช่หล่ะ…การเลือกที่จะซิ่วถือว่าผิดไหม?  วันนี้พี่ได้รวบรวมเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงจากเด็กซิ่วในคณะต่าง ๆ เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจที่จะซิ่ว ความรู้สึกต่าง ๆ ของทั้งตัวเอง และครอบครัว จะเป็นยังไงเราลองมาดูกันเลย . รุ่นพี่ที่ซิ่วจาก บัญชี-บัญชี ไป วิศวะ-คอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ซิ่ว จริงๆเราชอบเขียนโค้ดกับชอบอะไรแนวคอมมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่เพราะเราเรียนเก่ง ที่บ้านก็เลยพยายามพูดบังคับให้เราเป็นหมอ จนเราได้แต่เก็บสิ่งที่เราอยากเป็นไว้ สุดท้ายพอตอนสอบเข้าจริงๆ เราไม่ได้อยากเป็นหมอ แล้วเราก็ไม่ได้เก่งขนาดที่จะสอบหมอติด แต่ถึงแบบนั้นที่บ้านก็พูดตลอดว่าไม่อยากให้เราเรียนวิศวะ สุดท้ายเราก็เลยไปเรียนบัญชี แต่พอเรียนจริงๆแล้วเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เราอยากทำในอนาคตเลย แล้วเราก็เรียนได้ไม่ค่อยดีด้วย ยิ่งมีเพื่อนที่เรียนวิศวะแล้วได้เห็นสิ่งที่เขาเรียนเรายิ่งอิจฉา เราเริ่มมั่นใจว่าเราอยากเรียนวิศวะมากกว่า สุดท้ายเราก็เลยทนไม่ได้แล้วตัดสินใจซิ่วไป ความคิดเห็นของที่บ้าน ตอนแรกที่บ้านไม่สนับสนุนเลย เพราะเสียเวลาไปตั้งเป็นปี พยายามจะพูดกล่อมให้เราอยากเรียนบัญชีต่อ แต่เราก็ยืนยันว่ายังไงเราก็จะซิ่ว สุดท้ายที่บ้านก็เลยยอมให้เราซิ่ว ถึงจะยังดูไม่ค่อยเห็นด้วยอยู่ดีก็ตาม เรียนคณะใหม่แล้วเป็นยังไงบ้าง ชีวิตดีขึ้นมากๆๆๆ เราชอบสิ่งที่เรียน เราทำได้ดีมากๆ เราเข้ากับสังคมเพื่อนได้ดีกว่าด้วยเพราะมีความชอบคล้ายๆกัน ที่บ้านก็ไม่ได้ขัดอะไรเราแล้วด้วยเพราะเห็นว่าเราก็ทำได้ดี สาขาที่เราเรียนก็กำลังเป็นที่นิยม เราคิดถูกมากๆที่ซิ่วมา…

Generation คืออะไร ทำไมถึงต่างกัน

“ทำไมสังคมของเราต้องแบ่งช่วงของมนุษย์เป็น Gen?” แน่นอนว่าแต่ละช่วงเวลาที่มีคนเกิดมานั่น เป็นช่วงเวลาที่มีความเหมือน และแตกต่างกัน การแบ่งช่วงของมนุษย์ในแต่ละ Gen นั้นแบ่งจากสังคม การศึกษา เทคโนโลยีในปัจจุบัน ถ้าให้พูดเห็นภาพรวม ๆ คือ แบ่งตามการใช้ชีวิตในแต่ละช่วง เราลองมาดูกันดีกว่าว่าตอนนี้มี Gen อะไรบ้าง และมีการแบ่งยังไง ลองดูกันเลย Generation Z (พ.ศ. 2540 ขึ้นไป) เทียบอายุแล้วก็เป็นช่วงวัยของน้อง ๆ ในตอนนี้นั่นเอง ถือว่าเป็นยุคที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทำให้เด็กส่วนใหญ่ในยุคนี้ใช้เวลาไปกับเทคโนโลยีมากกว่าออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเนื่องจากพ่อแม่ที่อยู่ใน Gan X และ Gan Y อาจไม่ค่อยมีเวลา การคุ้นเคยกับเทคโนโลยีจึงทำให้ค้นคว้าหาข้อมูล หรือสื่อต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนใน Gen นี้ Generation Y (พ.ศ. 2523–2540) จัดเป็นยุคที่เจอการคาบเกี่ยวหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรื่องการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม เนื่องจากเติบโตท่ามกลางรุ่นปู่ย่า กับรุ่นพ่อแม่…

รวม Marketplace ตลาดมหาลัยฯ แบบออนไลน์!!

ช่วง Covid-19 ที่ผ่านมาทำให้อาชีพหลายๆ อย่างต้องมีการปรับตัวตามความเหมาะสม เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังแย่ จากร้านอาหารที่ขายแต่หน้าร้าน ตอนนี้ก็มีการปรับตัวให้มีทั้งหน้าร้าน และ Delivery ด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่เป็นกระแสอย่างมากกับชาวนิสิตนักศึกษา รวมถึงเป็นช่องทางที่จะหารายได้เสริมด้วย นั่นคือ Marketplace ตลาดของมหาวิทยาลัยที่มาในรูปแบบเพจ Facebook นั่นเอง เราลองไปดูกันดีกว่าว่ามีมหาวิทยาลัยอะไรบ้าง   จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย .จุฬาฯมาร์เก็ตเพลสแหล่งรวมการแลกเปลี่ยน ซื้อขาย และบริการของนิสิตเก่า และปัจจุบัน https://www.facebook.com/groups/1162370287441092/. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เเละการฝากร้าน รวม community พี่น้องธรรมศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันhttps://www.facebook.com/groups/302075350757527/. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .KU จะฝากร้าน สำหรับนิสิตเก่า ปัจจุบัน และบุคคลากรของเกษตรศาสตร์ มาแลกเปลี่ยน นอกจากสินค้า สามารถหาคอนเนคชั่นกันได้https://www.facebook.com/groups/210008013625799/about. มหาวิทยาลัยศิลปากร .Silpakorn Online Market : ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาวๆขอต้อนรับพ่อค้าแม่ค้าชาวศิลปากร ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบัน และยินดีต้อนรับผู้ซื้อจากทุกสถาบันhttps://www.facebook.com/groups/SilpakornOnlineMarket/. มหาวิทยาลัยมหิดล .ชาวมหิดลเปิดแผงพี่น้องชาวมหิดล ทำอะไร ขายอะไร สามารถแชร์กันได้เลยhttps://www.facebook.com/groups/216746236277917/….

รวม 9 เคล็ดลับ รักษาความสัมพันธ์กับ “เพื่อนมัธยม”

“สบายดีหรือเปล่า ข่าวคราวไม่เคยรู้ สืบดูเธอไม่อยู่ แอบดูแวะมองหา” “ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัย…ยังได้ติดต่อกับเพื่อนมัธยมอยู่รึเปล่า?” ประโยคนี้น้อง ๆ บางคนอาจเคยถามเพื่อน หรืออาจเป็นฝ่ายถูกถามซะเอง เพราะการก้าวเข้าสู่การเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเหมือนการที่ต่างคนต่างแยกไปทำตามความฝัน เพื่อนในกลุ่มของช่วงมัธยมบางคนอาจย้ายไปอยู่จังหวัดที่ห่างไกลจากจังหวัดเดิม ดังนั้น การติดต่อกับเพื่อนมัธยมที่ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกันดูอาจเป็นเรื่องยาก วันนี้พี่เลยมีวิธีแนะนำกับน้อง ๆ บางคนที่กำลังไม่มั่นใจในความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ มัธยมที่แยกกันไปเรียน อย่ารอช้า ลองมาดูกันเลย!! คิดถึงก็แค่โทร จัดว่าเป็นวิธีเบสิกที่สุดในการรักษาความสัมพันธ์ แต่สิ่งที่เป็นเรื่องยากของการโทรคุย คือการหาเรื่องในการพูดคุยนั่นเอง ลองชวนคุยเรื่องชีวิตในมหาวิทยาลัยก็ไม่แย่นะ ถ้าไม่กล้าโทร งั้นลองพิมพ์ไหม บางคนอาจไม่ค่อยชินกับการโทรหาใครสักคน ลองพิมพ์ส่งไปก็ได้ ยุคนี้การติดต่อหากันไม่ใช่เรื่องยาก ลองถามพิมพ์ถามไปว่าช่วงนี้เป็นไงบ้าง เรียนยากไหม เพื่อน และอาจารย์เป็นยังไง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บทสนทนาน้อง ๆ ได้ลื่นไหลมากขึ้น อาจลองเอาคำตอบของเพื่อนมาถามขยายต่อก็ได้นะ แสดงความคิดเห็น ในยุคที่สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น น้อง ๆ สามารถโพส หรือแสดงความคิดเห็นใน Social media ของเพื่อน ๆ ได้ อาจเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรู้ที่เพื่อนลง หรือทัก Story IG / Facebook…

รวมตลาด / แหล่งรวมของกิน ใกล้มหาวิทยาลัย

เปิดเทอมใหม่สำหรับน้อง ๆ เฟรชชี่ปี 1 นอกจากการเดินทางที่ต้องดู และหอที่ต้องหาสำหรับน้อง ๆ บ้านไกลแล้ว นั่นก็คือ…ตลาด หรือแหล่งรวมของกินใกล้มหาวิทยาลัย!!! วันนี้พี่เลยรวมตลาด / แหล่งรวมของกินใกล้ ๆ  มหาวิทยาลัย มาไว้ให้สำหรับน้อง ๆ เรียบร้อย…ลองดูแล้วไปตามชิม / ช้อปได้เลย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลาดนัดวันศุกร์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลาดนัดอินเตอร์โซน เปิดทุกวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี เปิดบริการตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.30 น. . มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตลาดนัดสีเขียว เปิดทุกวันเสาร์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00 – 14.00 น. . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลาดนัดหน้ากรมประมง เปิดทุกวันศุกร์ เปิดบริการตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น. ….

หาเพื่อนมหา’ลัย เริ่มยังไงดี?

หลังจากผ่านช่วงมัธยมแล้วกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงมหาวิทยาลัย หลาย ๆ คนก็เริ่มหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการเริ่มต้นใหม่ในสังคมของมหาวิทยาลัยบ้างแล้ว บางคนก็อาจจะมีคำถามในใจมากมาย เช่น  “จริงหรือไม่..ที่เพื่อนในมหาวิทยาลัย คือ เพื่อนไม่แท้” “สังคมมหาวิทยาลัยไม่มีหรอกช่วยกันเรียน มีแต่แข่งกันเรียน” “คบกันแค่เฉพาะตอนเรียน พอเรียนจบก็แยกย้าย”  สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามที่เขาว่า จริง ๆ หรอ? ดังนั้น!! วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าเราจะทำยังไงให้ได้คบเพื่อนที่เหมาะสมกับตัวเรา ลองเปิดใจ ไม่ปิดกั้น การก้าวเข้าสู่สังคมใหม่ที่ใหญ่ขึ้น หลาย ๆ คนมาจากคนละจังหวัด ทำให้อาจมีความแตกต่างในการดำเนินชีวิตบ้างเล็กน้อย แต่หากเราลองเปิดใจ เปิดรับความแตกต่างของเพื่อนคนอื่น เราก็จะได้เรียนรู้ว่า เราสามารถเข้ากับเพื่อนใหม่ได้หรือไม่  เป็นตัวเอง การเป็นตัวเอง หมายถึง การเป็นตัวเราเองในแบบที่พอดีกับการเข้าสังคมที่กว้างขึ้น ปรับในส่วนที่ควรปรับ เป็นตัวเองในส่วนที่ควรเป็น การที่เราจะถูกยอมรับในสังคมได้ เราต้องรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราไม่อยากเจอเพื่อนแบบไหน ก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่น…แต่ว่า! ไม่ได้หมายความว่าเราต้องยอมคนอื่นทุกเรื่องนะ!! ลองทำความรู้จักก่อน บางคนเข้าไปใหม่ ๆ อาจจะยังเขิน เลยทำให้ไม่กล้าคุยกับใคร หรือบางทีเพื่อนชวนคุยก็ไม่กล้าคุยด้วยซะงั้น ทำให้น้อง ๆ อาจพลาดที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ไปเลยก็ได้ ลองรวบรวมความกล้า แล้วทักคนที่นั่งข้าง ๆ ก่อนบ้างก็ได้…

เริ่มหมดไฟทำยังไงดี?

 ภาวะหมดไฟ หรือ burnout syndrome คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดในการเรียนหรือทำงาน โดยอาการหลัก ๆ ของอาการมี ดังนี้ เหนื่อยง่ายทั้งร่ายกาย และจิตใจ เป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกัน หดหู่ คิดเชิงลบเกี่ยวกับตนเอง มองความสามารถตนเองในเชิงลบ ประสบความสำเร็จยาก รู้สึกเหินห่างกับคนอื่น ไม่เป็นที่ต้องการ ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปในเชิงลบ อาการหมดไฟมีหลายระยะ น้อง ๆ สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมอาการเหล่านี้ได้ แต่ในขั้นแรก น้อง ๆ ควรรู้จักสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายอาการเหล่านี้หรือไม่ หากยิ่งสังเกตได้เร็ว เราก็จะยิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงและจัดการอารมณ์ของเราได้เร็วเช่นกัน วันนี้พี่จึงได้รวบรวมวิธีการแก้ภาวะหมดไฟ หากคนไหนรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในอาการเหล่านี้..ลองใช้เทคนิคนี้ดู เชื่อว่าจะช่วยให้ภาวะหมดไฟหายไปอย่างแน่นอน! ปรับทัศนคติตัวเอง หากเรากำลังมีอารมณ์เชิงลบเข้ามาในหัวมากมาย อยากให้เราลองปรับทัศนคติ ลองคิดในเชิงบวก และลองหามุมมองใหม่ ๆ ว่าสิ่งที่เราเผชิญอยู่มีข้อดีอะไรบ้าง อะไรที่เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราทำสิ่งนั้น พยายามปล่อยวางเรื่องต่าง ๆ และมองอุปสรรคเป็นแรงผลักดันให้เราก้าวไปต่อ  หางานอดิเรกที่ชอบ หางานอดิเรกมาเป็นตัวช่วย เป็นอีกวิธีที่จะทำให้น้อง ๆ ไม่เก็บหลาย  ๆ เรื่องไปคิด ใช้เวลากับงานอดิเรกให้มากขึ้น ดีกว่าอยู่แบบคิดฟุ้งซ่าน…