Follow us on

มาแล้ว! รอบ Portfolio แพทย์ จุฬา 67 – TCASter

วันที่โพสต์
tcas67-portfolio-medcu

จะเปิดรับสมัครกันแล้วกับรอบ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับผู้ที่มีความถนัดทางด้านภาษาอังกฤษ เริ่มรับสมัครตั้งแต่ 19 กันยายนนี้เป็นต้นไป มาเช็กกำหนดการและคุณสมบัติไปพร้อม ๆ กับพี่ TCASter ได้ที่นี่เลย

รายละเอียดวิธีการรับสมัครและคัดเลือก รอบ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.1 คุณสมบัติทั่วไป
     1.1.1 มีสัญชาติไทยและเป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
     1.1.2 ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษา
     1.1.3 เป็นผู้มีความประพฤติดีและรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถและยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
     1.1.4 ต้องไม่เป็นผู้ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ มาแล้วเพราะความประพฤติไม่เหมาะสมหรือมีความผิดตามกฎหมาย
     1.1.5 ต้องไม่เป็นผู้ถูกลงโทษเนื่องจากกระทำผิดหรือทุจริตในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาใด ๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
     1.1.6 มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการทางร่างกายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
          1.1.6.1 ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง อันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (Psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
          1.1.6.2 โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตรายที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร
          1.1.6.3 โรคไม่ติดต่อหรือภาวะที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้ป่วยตังต่อไปนี้

      • โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ (โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้)
      • โรคหัวใจระดับรุนแรง
      • โรคความดันโลหิตสูงรุนแรงและมีภาวะแทรกช้อนจนทำให้กิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะอย่างถาวร
      • ภาวะไตวายเรื้อรัง
      • ภาวะติดสารเสพติดให้โทษ

         1.1.6 4 ความผิดปกติในการเห็นภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว น้อยกว่า 6/12 หรือ 20/40
         1.1.6.5 ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดชิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
          1.1.6.6 โรคหรือภาวะความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้
1.2 คุณสมบัติเฉพาะ
     1.2.1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายในระดับม.ปลายและคาดว่าจะจบการศึกษา ก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับม.ปลายตามหลักสูตรมาไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร ดังนี้
          1.2.1.1 ชั้นม. 6 ตามระบบการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ
          1.2.1.2 ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาของอเมริกัน หรือ
          1.2.1.3 ระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาของอังกฤษ
     1.2.2 มีผลคะแนนสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
          1.2.2.1 TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 100 หรือ
          1.2.2.2 IELTS (Academic) ไม่ต่ำกว่า 7.0 หรือ
          1.2.2.3 CU-TEP & Speaking (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) ไม่ต่ำกว่า 110 (จะต้องเป็นคะแนนที่มาจากการสอบในวันเดียวกัน) โดยสามารถใช้ผลสอบตามข้อ 1.2.2 ย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
     1.2.3 ก่อนเข้าศึกษาต้องทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาลหรือมหาวิทยาลัย ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติงานในส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด หากปรากฏในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือตรวจสอบพบในภายหลังว่าข้อความที่ใด้แจ้งไว้ในใบสมัครเป็นเท็จหรือหลักฐานประกอบการสมัครเป็นเอกสารเท็จหรือปลอม ผู้สมัครจะถูกเฟิกถอนสิทธิ์ในการรับการคัดเลือกครั้งนี้ แม้ว่าผู้สมัครจะได้สมัครหรือได้ผ่านการคัดเลือกแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย

2. จำนวนที่จะรับเข้าศึกษา จำนวน 24 คน
ในกรณีที่มีผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาไม่ครบตามจำนวนที่ประกาศรับ คณะแพทยศาสตร์ขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณานำจำนวนที่นั่งว่างไปรวมกับจำนวนที่ประกาศรับของโครงการอื่นในรอบอื่น ๆ ของคณะตามที่เห็นสมควร

3. กำหนดการสมัครสอบคัดเลือก
สามารถศึกษารายละเอียตได้ที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th

  • สมัครสอบคัดเลือกฯ ที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th พร้อมอัปโหลดเอกสารที่ระบุในข้อ 4.1
    วันอังคารที่ 19 กันยายน ถึงวันอังคารที่ 3 ตุลาคมพ.ศ. 2566
  • ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือกฯ ตามที่ระบุในข้อ 4.2 (คณะแพทยศาสตร์ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าธรรมเนียมการสมัครฯไม่ว่ากรณีใด ๆ)
    วันอังคารที่ 19 กันยายน ถึงวันพุธที่ 4 ตุลาคมพ.ศ. 2566 เวลา 12.00 น.
  • ตรวจสอบสถานภาพการสมัครและผลการตรวจสอบเอกสารประกอบการสมัคร ที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขภายในวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th
    2 วันทำการราชการหลังจากวันที่ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครฯ
  • ผู้สมัครทุกคนเข้าไปลงทะเบียนใช้งานระบบ TCAS67 ตามที่ทปอ. กำหนด
    ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือกฯ (ผู้ที่ได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือกฯ จะต้องเข้าไปลงทะเบียนในระบบ TCAS67 ตามที่ ทปอ. กำหนด หากตรวจสอบแล้วพบว่ายังไม่ได้เข้าไปลงทะเบียนตามที่ ทปอ.กำหนด จะถูกตัดสิทธิ์ในการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ)
    ประมาณวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
  • ทักท้วงการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือกฯ ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนดทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ส่งไปที่
    “โครงการสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2567
    ฝ่ายวิชาการ อาคารอานันทมหิตล ชั้น 4 คณะแพทยศาสตร์ จุหาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330″
    โดยผู้สมัครจะต้องสั่งพิมพ์ใบปะหน้าของขนาด A4 สำหรับส่งเอกสารทางไปรษณีย์เท่านั้น (ห้ามแก้ไขหรือดัดหรือตัดแปลงเอกสารนี้โดยเด็ดขาด)
    ภายในวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
    (ถือเอาวันที่ประทับตราของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เป็นวันสุดท้ายของการส่งเอกสาร)
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ (ผู้ที่จะได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ จะต้องเป็นผู้ที่ได้ลงทะเบียนใช้งานระบบ TCAS67 ตามที่ ทปอ. กำหนด ตามข้อ 3.4 เรียบร้อยแล้ว)
    ประมาณวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  • ตรวจสุขภาพ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ 2567
  • สอบสัมภาษณ์ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2567
  • ส่งรายชื่อผู้สมัครและผู้ผ่านการคัดเลือกรูปแบบที่ 1 เข้าระบบ TCAS67
    วันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
  • ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกฯ
    วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
  • การยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ TCAS67 (ดูรายละเอียดในระบบ TCAS67 ที่เว็บไซต์ mytcas)
    วันอังคารที่ 6 ถึงวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
  • การสละสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ TCAS67 ช่วงที่ 1 (ดูรายละเอียดในระบบ TCAS67 ที่เว็บไซต์ mytcas)
    วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
  • ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา
    วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
  • ทำสัญญาเข้าศึกษา ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กำหนดการจะประกาศภายหลังที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th)
    ประมาณวันเสาร์ที่ 20 ถึงวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

*หมายเหตุ ตารางกิจกรรมนี้ อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขอให้ติดตามประกาศที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th อย่างใกล้ชิด

4. วิธีการสมัคร

  • หากผู้ใดปฏิบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ กรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่เป็นความจริง จะเป็นเพราะเจตนาหรือไม่ก็ตาม จะถือว่าเป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ในการเข้ารับการคัดเลือก
  • ให้ผู้สมัครตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วจึงกดยืนยันบันทึกการสมัคร (หลังจากกดยืนยันบันทึกการสมัครแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใด ๆ ได้)
  • ผู้สมัครต้องสั่งพิมพ์เอกสารใบสมัคร พร้อมลงลายมือชื่อและนามสกุลของผู้สมัครเพื่อนำมาแสดงในวันที่รายงานตัวเพื่อตรวจสุขภาพ/สอบสัมภาษณ์

4.1 สมัครผ่านทางเว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th พร้อมทั้งแนบไฟล์รูปถ่ายและเอกสารประกอบการสมัครโดยการสแกน ดังนี้
      4.1.1 รูปถ่ายดิจิทัลของผู้สมัคร เป็นรูปเดี่ยว ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 4 x 5 ซม. หรือ 1.5 x 2 นิ้ว หน้าตรงเต็มหน้า เห็นใบหน้าชัดเจน ไม่ยิ้ม สวมชุดนักเรียนหรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำหรือแว่นกันแดด พื้นหลังสีขาวหรือสีฟ้าหรือสีน้ำงเิน ไม่มีการปรับแต่งทางดิจิทัล เป็นไฟล์นามสกุล .jpg ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 180 พิกเซล และความสูงไม่น้อยกว่า 200 พิกเซล ขนาดไฟล์ไม่เกิน 1 MB ดังภาพตัวอย่างใน admission.md.chula.ac.th และ
     4.1.2 บัตรประจำตัวประชาชน เฉพาะด้านที่มีรูปของผู้สมัคร เป็นไฟล์นามสกุล .jpg ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 500 พิกเซล และความสูงไม่น้อยกว่า 350 พิกเซล ขนาดไฟล์ไม่เกิน 1 MB และ
     4.1.3 เอกสารคุณวุฒิการศึกษา ตามที่ระบุในข้อ 1.2.1 เป็นไฟล์นามสกุล .jpg ได้แก่
          4.1.3.1 ใบรับรองการศึกษาที่สถานศึกษาออกให้เพื่อแสดงว่ากำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นม.6 (ปพ.7) หรือ ระดับ Grade 12 หรือ ระดับ Year 13
          4.1.3.2 ใบรับรองการศึกษาที่สถานศึกษาออกให้เพื่อแสดงว่าสำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 (ปพ.1:พ) หรือ ระดับ Grade 12 หรือ ระดับ Year 13
     4.1.4 คะแนนสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ระบุใน 1.2.2
     4.1.5 แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงตัวตน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม หรือรางวัลที่ได้รับในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ในด้านจิตสาธารณะ การวิจัย หรือกิจกรรมอื่น ๆ ความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 (ไม่นับรวมหน้าปก คำนำและสารบัญ) พิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้ font TH Sarabun ขนาด 16 Single space ไม่มีการขยายหรือบีบช่องระหว่างตัวอักษร ตั้งค่าขอบกระดาษ 1 นิ้วทั้ง 4 ด้าน โดยส่งเป็นไฟล์นามสกุล .pdf ให้เอกสารทั้งหมดอยู่ในไฟล์เดียวกัน (ไม่จำเป็นต้องแนบรูปถ่ายที่แสดงการทำกิจกรรม หรือรูปถ่ายการรับรางวัลใด ๆ)
     4.1.6 เอกสารเปลี่ยนชื่อ – นามสกุลทุกฉบับ (ถ้าเคยมีการเปลี่ยนชื่อและ/หรือนามสกุล) เป็นไฟล์นามสกุล .jpg ขนาดไฟล์ไม่เกิน  2MB
4.2  ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครสอบจำนวน 500.00 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) โดยสามารถชำระได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ 
     4.2.1 ผ่านช่องทาง Bill Payment โดยนำใบฝากชำระเงินแบบที่ 1 ไปชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ทุกสาขา 
     4.2.2 ผ่านช่องทาง Cross Bank Bill Payment โดยนำใบฝากชำระเงินแบบที่ 2 ชำระเงินโดยการ Scan QR Code หรือ Barcode ผ่านช่องทาง Mobile App. และตู้ ATM ของธนาคารต่าง ๆ 
4.3 การลงทะเบียนสมัครสอบจะสมบูรณ์และผู้สมัครมีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก เมื่อได้สมัครและอัปโหลดเอกสารตามที่ระบุในข้อ 4.1 ผ่านทางเว็บไซต์ ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครและได้รับการตรวจสอบว่าครบถ้วนสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วภายในระยะเวลาที่กำหนด
4.4 ผู้สมัครจะต้องติดตามตรวจสอบสถานภาพการสมัครว่าสมบูรณ์หรือไม่ที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th และทำการแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมให้เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์เข้าสอบคัดเลือก
4.5 หากผู้สมัครต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ฯลฯ ให้ผู้สมัครแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบฟอร์มใบคำร้องขอแก้ไขข้อมูล ลงนามด้วยตนเองพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำจัวประชาชนและสำเนาหลักฐานการชำระเงิน (พร้อมลงนามสำเนาถูกต้อง)  ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปที่ ผ่านวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามที่อยู่ในข้อ 3.6 ภายในวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 วงเล็บที่มุมซองด้านล่าง “แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ข้อ 4.5”
4.6 ถ้าผู้สมัครสอบได้มีการลงทะเบียนสมัครมากกว่า 1 ครั้ง จะถือเอาข้อมูลที่มีการชำระเงินครั้งหลังสุดเป็นข้อมูลในการประมวล
4.7 การสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือว่าผู้สมัครเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องข้อมูลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ดังนั้นหากผู้สมัครจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
4.8 ผู้สมัครสอบต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัครสอบและต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครหรือตรวจพบว่าเอกสารหลักฐาน ซึ่งผู้สมัครสอบนำมาแสดงไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาัลย จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น

5. ค่าธรรมเนียมการสมัคร
5.1 ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก
      ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบคัดเลือกคนละ 500.00 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
5.2 ค่าธรรมเนียมในการสอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ
     5.2.1 ค่าธรรมเนียมในการสอบสัมภาษณ์ 2,500.00 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)
     5.2.2 ค่าธรรมเนียมในการตรวจสุขภาพ ตามอัตราที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กำหนด
5.3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอสงวนสิทธิ์จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการสมัครทุกประเภทแก่ผู้สมัคร ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

6. กาคัดเลือกเข้าศึกษา
6.1 การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือก
      คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบคัดเลือก ในวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th
6.2 วิชาที่สอบและการสอบ 
      ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนนการสอบ BioMedical Admission Test (BMAT) ซึ่งจัดสอบโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ผู้สมัครจะต้องแจ้งให้ผู้จัดสอบ Share คะแนนให้แก่ Faculty of Medicine Chulalongkorn University 
6.3 เกณฑ์การพิจารณาผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ
      ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาต้องมีคะแนนสอบ BMAT ที่สอบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ครบทั้ง 3 section โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะประมวลผลจากคะแนน BMAT เรียงลำดับตามคะแนนรวมจากมากไปหาน้อย โดยมีค่าน้ำหนัก (ร้อยละ) ดังนี้
     6.3.1 Section 1 Thinking Skills  ค่าน้ำหนักร้อยละ 40
     6.3.2 Section 2 Scientific Knowledge and Applications ค่าน้ำหนักร้อยละ 40
     6.3.3 Section 3 Writing Task ค่าน้ำหนักร้อยละ 20
6.4 การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ
      คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพจำนวน 60 คน ประมาณวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ที่เว็บไซต์  admission.md.chula.ac.th ทั้งนี้ อาจประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพจำนวนมากกว่า 60 คน ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพคนสุดท้ายมีคะแนนเท่ากัน 
6.5 การตรวจสุขภาพ
      ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันพุธที่ 10 มกราาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบภายหลังที่เว็บไซต์ admission.md.chula.ac.th
ผู้มีสิทธิ์ตรวจสุขภาพ หากไม่มาตรวขสุขภาพตามกำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
หลักฐานที่จะต้องนำมาในวันตรวจสุขภาพ ได้แก่
     6.5.1 ใบสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2567 TCAS67 รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่มีภาพถ่ายของผู้สมัครตามข้อ 4.1 และได้ลงชื่อ-สกุลของผู้สมัครแล้ว
     6.5.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน โดยถายเอกสารเฉพาะด้านที่มีรูปของผู้สมัคร (ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดงด้วย)
     6.5.3 เอกสารต้นฉบับตามข้อ 4.1.3, 4.1.4, 4.1.5 และ 4.1.6 ที่อัปโหลดพร้อมสำเนาเอกสารนั้น ๆ
6.6 การสอบสัมภาษณ์
      ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรววจสุขภาพจะต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แนวคิดทางจริยธรรม ความเหมาะสมในการเป็นแพทย์ และความคิดสร้างสรรค์ ในวันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2567

8. อัตราค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. การจัดการศึกษา
หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรเป็นเวลา 6 ปี
10. กระบวนการศึกษา
10.1 ศึกษาและปฏิบัติงาน ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นหลัก โดยจะมีการศึกษาและปฏิบัติงานในบางรายวิชา ณ สถาบันร่วมผลิต สถาบันสมทบ และหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
10.2 ลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรเช่นเดียวกับนิสิตในโครงการอื่น ๆ ยกเว้น 
     10.2.1 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษจำนวนอย่างน้อย 6 หน่วยกิต
     10.2.2 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาเวชปฏิบัติและระบบสุขภาพชั้นปีที่ 2 เป็นภาษาอังกฤษ จำนวน 4 หน่วยกิต
10.3 เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนกลุ่มย่อยเป็นภาษาอังกฤษ และ/หรือ ภาษาไทยตามนโยบายการจัดการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต สำหรับการเรียนกลุ่มใหญ่จะใช้ภาษาไทยเป็นหลักในการเรียนร่วมกับนิสิตในโครงการอื่น ๆ 
**หมายเหตุ ข้อกำหนดข้างต้นอาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตามนโยบายการจัดการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตในแต่ละปีการศึกษา**

อ่านประกาศตัวเต็มได้ที่นี่เลย คลิก

ใครอยากเข้าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รอบ Portfolio ก็อย่าลืมไปเตรียมตัวเตรียมพอร์ต รอยื่นในวันที่ 19 กันยายนนี้กันนะ ระหว่างนี้ก็อ่านหนังสือกันไปพลาง ๆ พี่ ๆ TCASter จะคอยเป็นกำลังใจให้

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

#อัปเดต TCAS68 กสพท คืออะไร ต้องสอบอะไรบ้าง ? – TCASter

16,154 views

#อัปเดต TCAS68 ข้อสอบ TGAT/TPAT, A-Level คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS68

6,312 views

#อัปเดต TCAS68 ทำความรู้จัก mytcas คืออะไร? ทำไม DEK68 ทุกคนต้องลงทะเบียน

2,211 views

ทำความรู้จัก กยศ. กองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา คืออะไร กู้ยังไง มาดู! – TCASter

863 views

อัปเดต TCAS68 เกณฑ์ใหม่ นิติ มธ. หลังยกเลิกสอบวิชาเฉพาะ – TCASter

744 views

ม.กรุงเทพ ร่วมกับ Berkeley SkyDeck Fund  จัดกิจกรรม Hackathon 2024

4,008 views