จากระบบสอบที่เปลี่ยนใหม่ การสอบ TPAT เป็นอีกหนึ่งวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมเป็นวิชา PAT ก็เปลี่ยนมาเป็น TPAT อย่างที่น้อง ๆ ได้เห็นกันนั่นเอง สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังสับสนอยู่ว่า TPAT คืออะไร ต้องสอบอะไรบ้าง หรือต่างจากเดิมยังไง เดี๋ยววันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน มาเริ่มกันเลย!
TPAT คืออะไร?
TPAT หรือ Thai Professional Aptitude Test เป็นการทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ โดยเน้นไปที่การวัดความสามารถเชิงทักษะในสายอาชีพ โดย TPAT เป็นชุดข้อสอบที่พัฒนามาจากข้อสอบ PAT แต่สิ่งที่แตกต่างจาก PAT คือ TPAT จะลดเหลือ 5 วิชา ใช้เป็นคะแนนวัดผลยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS66 เป็นปีแรก และ TCAS67 เป็นปีที่ 2 นั่นเอง
TPAT ต้องสอบอะไรบ้าง? แบ่งเป็นกี่พาร์ท? มีทั้งหมดกี่ข้อ?
TPAT แบ่งเป็น 5 วิชา คือ
- TPAT1 : ความถนัดวิชาเฉพาะแพทย์
แบ่งเป็น 3 พาร์ท คะแนนเต็ม 300 คะแนน คือ
– TPAT1 : พาร์ทเชาว์ปัญญา 45 ข้อ 75 นาที
– TPAT1 : พาร์ทจริยธรรมทางการแพทย์ 75 ข้อ 60 นาที
– TPAT1 : พาร์ทความคิดการเชื่อมโยง 20 ข้อ 60 นาที - TPAT2 : ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์
แบ่งเป็น 3 พาร์ท เวลา 180 นาที
ทั้งหมด 150 ข้อ คะแนนเต็มเฉลี่ยทุกพาร์ท 100 คะแนน คือ
– TPAT21 ทัศนศิลป์ 50 ข้อ
– TPAT22 ดนตรี 50 ข้อ
– TPAT23 นาฏศิลป์ 50 ข้อ
ดูตัวอย่างข้อสอบ TPAT2 - TPAT3 : ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
แบ่งเป็น 2 พาร์ท เวลา 180 นาที
ทั้งหมด 70 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน คือ
– การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 45 ข้อ
– การทดสอบความคิด และความสนใจด้านวิทยาศาตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 25 ข้อ
ดูตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 - TPAT4 : ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
แบ่งเป็น 4 หมวด ทั้งหมด 80 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน คือ
– หมวดที่ 1 มีทั้งหมด 24 ข้อ
เนื้อหาจะเน้นไปที่การสัดความรู้ทั่วไปด้านศิลปะ และการออกแบบที่เกี่ยวกับงานด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน โดยระดับการประเมินจะแบ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจ การวิเคราะห์ และการสังเคราห์
– หมวดที่ 2 มีทั้งหมด 16 ข้อ
เนื้อหาจะเน้นไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม โดยระดับการประเมินจะแบ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจ และการวิเคราะห์และการนำไปใช้
– หมวดที่ 3 มีทั้งหมด 24 ข้อ
เนื้อหาจะเป็นการวัดความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม และงานระบบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม โดยระดับการประเมินจะแบ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจ การวิเคราะห์ และการนำไปใช้
– หมวดที่ 4 มีทั้งหมด 16 ข้อ
เนื้อหาเป็นการวัดความรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง โดยระดับการประเมินจะแบ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจ และการวิเคราะห์
ดูตัวอย่างข้อสอบ TPAT4 - TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์ – ศึกษาศาสตร์
แบ่งเป็น 10 พาร์ท เวลา 180 นาที
ทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน คือ
– ความสามารถทางการสื่อสาร 10 ข้อ
– ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ 10 ข้อ
– ความสามารถทางเทคโนโลนีสารสนเทศ 10 ข้อ
– ความสามารถทางการเข้าใจตนเองและผู้อื่น 10 ข้อ
– ความสามารถทางการคิดเพื่อการเรียนรู้ 10 ข้อ
– การมีมนุษยสัมพันธ์ 10 ข้อ
– ความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ซื่อสัตย์ ยุติธรรม 10 ข้อ
– การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น 10 ข้อ
– การเป็นผู้เรียนรู้ และรักที่จะแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น 10 ข้อ
– การส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นำ 10 ข้อ
ดูตัวอย่างข้อสอบ TPAT5
TPAT กับการยื่นคะแนนใน TCAS67
TPAT สามารถยื่นได้ทุกรอบ โดยรอบ 1 จะเน้นไปที่การพิจารณาคุณสมบัติและผลงานเป็นหลัก คะแนนส่วนอื่น ๆ อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกเท่านั้น โดยขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย ในรายวิชา TPAT2 จะมีการประกาศคะแนนแยกส่วน น้อง ๆ สามารถนำไปใช้แยกส่วนได้ และภาพรวมของการคัดเลือก TCAS จะใช้ TPAT เป็นเกณฑ์คะแนนในการคัดเลือกราว 70%+ ผลสอบคะแนน TPAT จะมีอายุ 1 ปีเท่านั้น
TPAT มีวันไหนสำคัญบ้าง? ตั้งแจ้งเตือนไว้ได้เลย
วันเปิดรับสมัครสอบ TPAT2 – 5 : วันที่ 29 ต.ค. – 5 พ.ย. 66
(ยกเว้น TPAT1 รับสมัครวันที่ 1 – 20 ก.ย. 66)
วันพิมพ์บัตรที่นั่งสอบ TPAT2 – 5 : วันที่ 24 พ.ย. – 11 ธ.ค. 66
วันสอบ TPAT :
– TPAT1 : วันที่ 16 ธ.ค. 66 เวลา 08:30 – 12:30 น. (สอบด้วยกระดาษ จัดโดย กสพท)
– TPAT2 : วันที่ 9 ธ.ค. 66 เวลา 13:00 – 16:00 น.
– TPAT3 : วันที่ 10 ธ.ค.66 เวลา 13:00 – 16:00 น.
– TPAT4 : วันที่ 11 ธ.ค.66 เวลา 9:00 – 12:00 น.
– TPAT5 : วันที่ 9 ธ.ค.66 เวลา 9:00 – 12:00 น.
วันประกาศผลสอบ TPAT2 – 5 (สำหรับสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) : 18 ธ.ค. 66
วันขอทบทวนผลสอบ TPAT2 – 5 (สำหรับสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) : 19 – 26 ธ.ค. 66
วันประกาศผลสอบ TPAT2 – 5 (สำหรับสอบด้วยกระดาษ) : 7 ม.ค. 67
วันขอทบทวนผลสอบ TPAT2 – 5 (สำหรับสอบด้วยกระดาษ) : 8 – 15 ม.ค. 67
และนี้คือข้อมูลที่น้อง ๆ #Dek67 และ #เด็กซิ่ว ควรรู้ก่อนสอบ TPAT ในเดือนธันวาคมนี้ ตอนนี้น้อง ๆ หลายคนน่าจะเครียดกับการอ่านหนังสือหรือฝึกทำโจทย์ TPAT อยู่แน่นอน เพื่อให้ทันสอบที่เลื่อนเข้ามาในเวลาที่เร็วมากยิ่งขึ้น แต่อยากให้ทุกคนรู้ไว้ว่า ไม่ว่าเราจะเครียดแค่ไหน ท่องไว้ว่าแค่ทำให้เต็มที่ก็พอ ทำให้เต็มที่ให้รู้สึกว่าจะไม่มาเสียใจทีหลังแล้ว และที่สำคัญ อย่าลืมเช็กสุขภาพตัวเองด้วยนะ ถ้าวันสอบจริงร่างกายไม่พร้อมจะส่งผลกระทบต่อการทำข้อสอบเอา นอกจากข้อมูลต่าง ๆ แล้ววันนี้พี่ ๆ TCASter จะมาช่วยน้อง ๆ หาโจทย์เพื่อไปฝึกทำข้อสอบเพิ่มเติมด้วย ลองมาฝึกไปพร้อมกันนะ ถ้าพร้อมแล้วลองทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย!!
- โหลดแอป TCASter ฟรี ทั้ง IOS และ Android ใครที่ยังไม่มีแอป สามารถเข้าลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลย
- เข้าแอป TCAS กดแถบเมนู “เตรียมสอบ” ด้านล่าง แล้วเข้าไปที่ “ฝึกทำข้อสอบ”
- เลือกวิชาที่อยากฝึกทำข้อสอบ
- เริ่มทำข้อสอบได้เลย!
แนะนำบทความที่เกี่ยวข้องกับ TPAT คืออะไร ต้องสอบอะไรบ้าง
- TCAS67 BLUEPRINT โครงสร้างและตัวอย่างข้อสอบทุกวิชา – TCASTER
- TCAS67 ต้องสอบอะไรบ้าง สรุปประเด็นล่าสุดจากทปอ. – TCASTER
- รวมค่าใช้จ่าย TCAS67 สมัครแต่ละรอบต้องจ่ายเท่าไหร่บ้าง? – TCASTER
สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่รู้จะเริ่มเตรียมตัวยังไง อย่าลืมติดตาม TCASter ในทุก ๆ ช่องทาง เพื่อการรับข่าวสารที่รวดเร็ว การแนะแนวคณะ / มหาวิทยาลัย รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคะแนนเตรียมติดมหา’ลัยได้เลย Facebook TCASter