Follow us on

เช็คลิสต์ 12 สิ่งที่ DEK63 ต้องทำก่อนเปิดเทอม ทำครบสอบติดชัวร์!

วันที่โพสต์

1. เลือกสถาบัน คณะ สาขาที่อยากเข้า

สำหรับน้องม.6 ที่เป้าหมายชัดเจนแล้ว ติ๊กถูกข้อนี้ได้เลย แต่สำหรับน้องที่ยังไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จะเข้าคณะหรือสาขาอะไร ลองนั่งทบทวนตัวเองก่อนเดินหน้าต่อ อย่าได้ทำแบบคะแนนถึงคณะไหนก็เข้าเชียวครับ กลับไปศึกษาข้อมูลอาชีพที่จะเป็นอนาคตของเราให้ดี หากสับสนไม่รู้ว่าจะไปทางไหนต่อ ลองอ่านบทความนี้แล้วหาเส้นทางของตัวเองให้เจอให้ได้ครับ

7 วิธีทดสอบรักแท้ คณะที่เลือก ใช่คณะที่ใช่ !! จริงเหรอ?
เข้าคณะอะไรดี? ใช้ 4 ขั้นตอนนี้ ค้นพบคณะที่ใช่ชัวร์!

2. วางแผนการสมัคร TCAS

เมื่อเป้าหมายเราชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้เส้นทางการสอบของเราชัดเจนไปด้วย โดยในระบบการคัดเลือกนักศึกษาผ่าน TCAS จะมีทั้งหมด 5 รอบ หากน้องยังไม่เข้าใจว่าแต่ละรอบคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร เราควรจะสมัครรอบไหน ลองอ่านบทความนี้เลย

เข้าใจความแตกต่างของ TCAS ทั้ง 5 รอบ

พี่ขอเสริมฝากน้องไว้ว่า รอบ Portfolio ใน TCAS63 รอบ 1 ถึงแม้น้องไม่มีผลงานอะไร ก็อย่าเพิ่งยอมแพ้ไม่สมัครไปก่อนครับ เพราะในรอบนี้จะเป็นรอบที่น้องได้เปิดประสบการณ์ของตัวเอง ได้เข้าไปพูดคุยกับคณะกรรมการของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย และบางโครงการจะมีกิจกรรมการคัดเลือกพิเศษที่ไม่ใช่แค่การสัมภาษณ์ น้องจะหาจากรอบอื่นไม่ได้แล้วครับ

ลองเตรียมผลงานไว้ก่อน หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร อ่านนี่เลยครับ คลิก

และ TCASter ได้จัดกิจกรรม ACADEMIC WAR ร่วมกับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้น้องได้เก็บผลคะแนนทางวิชาการใส่พอร์ตฟอลิโอ ซึ่งน้องๆ ที่เข้าร่วมสอบจะได้เกียรติบัตรทุกคนครับ

สมัครลงทะเบียนแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ คลิก

3. ศึกษาระเบียบการรับสมัคร

ระเบียบการรับสมัครสำคัญมากครับ อ่านให้ละเอียด อ่านให้ครบทุกข้อ เพราะหากเราไม่ผ่านเกณฑ์ในใบประกาศรับสมัคร ต่อให้เราได้คะแนนดีแค่ไหน น้องก็จะถูกตัดชื่อทิ้งในตอนท้าย

หรือหากเป็นรอบ Portfolio น้องต้องอ่านรายละเอียดการยื่นสมัครพอร์ตให้ดี ทำให้ถูกตามเกณฑ์รับสมัครที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ทุกประการ ไม่เช่นนั้นแล้ว ทุกสิ่งที่น้องทำไปก็จะสูญเปล่าทันที

ตอนนี้สิ่งที่ DEK63 ควรทำ คือหาระเบียบการรับสมัครของปีก่อนๆ มาอ่านไว้คร่าวๆ และติดตามข่าวประกาศจากมหาวิทยาลัย เพื่อติดตามประกาศล่าสุด

อีกช่องทางหนึ่งคือ ติดตามพี่ๆ TCASter ไว้ให้ครบทุกช่องทางครับ

ติดตามข่าว TCAS ล่าสุด คลิก

4. ติดตามข่าวสาร TCAS อย่างต่อเนื่อง

ระบบการรับสมัครนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น TCAS หรือระบบการสมัครสอบต่างๆ หรือการรับตรงโดยมหาวิทยาลัยเอง มักมีประกาศเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสำคัญๆ น้องๆ ติดตามเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่น้องตั้งใจจะเข้าไว้เสมอ รวมทั้งติดตาม TCASter ให้ครบทุกช่องทางครับ

5. วางแผนการอ่านหนังสือเตรียมสอบ

เมื่อน้องรู้ว่าตัวเองจะเข้ามหาวิทยาลัยใด คณะและสาขาอะไร และจะสอบเข้าใน TCAS63 รอบไหน แผนการของน้องก็จะชัดเจนมากๆ ว่าน้องต้องสอบวิชาอะไร ตอนไหน เมื่อไหร่บ้าง

เมื่อน้องรู้ว่าตัวเองต้องสอบอะไรบ้างแล้ว ให้ List รายการที่จะต้องทำทั้งหมดไว้ เช่น

  • สอบ GAT เชื่อมโยงภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • สอบ PAT1 คณิตศาสตร์
  • สอบวิชาสามัญ 7 วิชา

Print List บทที่ออกสอบของแต่ละข้อสอบออกมา นำมาเปรียบเทียบกัน เลือกทิ้งน้ำหนักไปวิชาที่สำคัญๆ และบทที่สำคัญจริงๆ บทไหนง่ายและออกเยอะเก็บบทนั้นให้แม่น บทไหนยากแต่ออกน้อยอาจเลือกทิ้งไป บางบทยากและออกเยอะ หากสู้ไม่ไหวให้เก็บพื้นฐานให้แม่นก่อนค่อยลุยต่อครับ

บทความน่าอ่านต่อ

แจกแผนการอ่านหนังสือ ฉบับคนขี้เกียจ !!

เทคนิคตะลุยโจทย์ข้อสอบ 5 เทคนิคทำข้อสอบเก่าให้ปัง

6. นับ Countdown เวลาที่เหลืออยู่

ข้อควรระวังของระบบ TCAS ที่น้องรุ่นก่อนๆ เจอมา คือ ปรับตัวไม่ทันกับการต้องสอบหลายๆ วิชาในเดือนเดียวครับ วางแผนให้ดี ต้องสอบวิชาไหนเมื่อไหร่ แบ่งเวลาการอ่านให้ดี และนับเวลาถอยหลังวันเวลาที่เหลือ ไม่ให้เพื่อให้เครียด แต่ให้น้องจัดสรรเวลาที่เหลืออยู่อย่างคุ้มค่าที่สุดครับ

เช็คตารางสอบแต่ละวิชาที่นี่

TCAS NEWS – ข่าวอัพเดต TCAS ล่าสุด

7. เตรียม Portfolio ให้พร้อมไว้ก่อน

ตอนนี้เกณฑ์รอบ Portfolio ของหลายๆ มหาวิทยาลัยเริ่มทยอยประกาศออกมา แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ประกาศ อย่าลืมเตรียม Portfolio ให้พร้อมไว้นะครับ เพราะถ้าหากมีรอบพอร์ตที่น้องสมัครได้ แต่ไม่มีพอร์ตเตรียมพร้อมไว้ ถึงเวลาจริงๆ จะจวนตัวไม่ทันการครับ

หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร อ่านบทความนี้เลยคลิก

8. อย่าผัดวันประกันพรุ่ง

วางแผนไว้อย่างไร พยายามทำให้ได้ตามแผน หากทำไม่ได้จริงๆ อย่าเพิ่งท้อถอยครับ กลับมาตั้งหลักเริ่มต้นใหม่ เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และเดินหน้าต่อ

กฎของการไม่ให้ตัวเองผัดวันประกันพรุ่ง คือ วางแผนให้อยู่บนความเป็นจริงครับ อย่าวางแผนไว้แน่นจนเกินไป จัดสรรเวลาให้ตัวเองมีเวลาว่างด้วย แต่ควรกำหนดจุดสิ้นสุดของเวลาว่างไว้ เช่น เราจะพักแค่ครึ่งชั่วโมงแล้วลุยต่อนะ ตั้งตัวจับเวลาไว้ และเมื่อถึงเวลาพักก็พักให้เต็มที่ไม่ต้องหยิบหนังสือ ไม่ต้องทำโจทย์ เมื่อหมดเวลาพักก็ค่อยลุยต่อ

นึกไว้เสมอว่า เมื่อเราทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ อย่าท้อถอย อย่าโทษตัวเองกลับมาลุกขึ้น

9. เก็บเนื้อหาให้จบ และเริ่มตะลุยโจทย์ได้แล้ว

เหลือเวลาอีกไม่มากแล้วครับสำหรับ DEK63 เดือนมีนานี้ก็จะสอบทุกอย่างแล้ว หากยังเก็บเนื้อหาได้ไม่หมดทุกบท น้องอาจจะต้องยอมทิ้งแล้วมาเริ่มตะลุยโจทย์ เพราะเมื่อน้องได้ลองทำโจทย์จะทำให้รู้ตัวเองว่า จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองคืออะไร จะทำให้ประหยัดเวลาและคุ้มค่ากับเวลาที่เหลืออยู่ที่สุด

อ่านเทคนิคการตะลุยโจทย์ที่นี่ 

10. ไปงาน Open house ไปเข้าค่าย เปิดโลกให้กับตัวเอง

ก่อนเปิดเทอมอย่างนี้ มีหลายค่าย หลายมหาวิทยาลัยกำลังจัดกิจกรรมเปิดบ้านอยู่ อย่าลืมไปเข้าร่วมกิจกรรมที่น้องสนใจ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเองนะครับ อีกทั้งน้องๆ ที่กำลังทำพอร์ตฟอลิโออยู่ ให้ไปร่วมกิจกรรมค่ายหรือเปิดบ้านของคณะหรือมหาวิทยาลัยที่เราตั้งใจจะเข้าครับ อย่าลืมถ่ายรูป เก็บผลงาน เก็บรูปถ่ายไว้ และเก็บเกียรติบัตรอัปโหลดเป็นไฟล์ดิจิตอล ไว้สำหรับทำ Portfolio ยื่นรอบ 1 ต่อครับ

ค้นหากิจกรรมค่ายและเปิดบ้าน คลิกเลย

11. รักษาเกรดเฉลี่ย

หากมีเกรดดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งสำหรับรอบ Admission นะครับ น้องๆ พยายามรักษาเกรดให้ดี เข้าเรียนให้ครบเพื่อให้คะแนนจิตพิสัยเต็มไว้ก่อน ใบงานและโครงงานเก็บให้เรียบ เดี๋ยวคะแนนจะหลุดไปง่ายๆ

หลายคนคงละเลยสอบเก็บคะแนนย่อยๆ อันนี้เป็นแหล่งคะแนนชั้นดีเลยครับ เดรียมตัวเก็บให้ครบทุกอัน จะได้สบายตอนหลัง

และสุดท้ายเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบทั้งกลางและปลายภาค และที่สำคัญ เมื่อน้องๆเก็บความรู้ในห้องเรียนครบสำหรับปูพื้นฐานแล้ว น้องๆสามารถที่จะตะลุยโจทย์ต่อ เพื่อเตรียมตัวสำหรับสอบแข่งขันเพื่อให้ได้คะแนนดีๆ ยื่น TCAS ครับ

12. บริหารเวลาที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่าที่สุด

เวลามีค่ายิ่งกว่าสิ่งใดครับ ดังนั้นน้องต้องเรียนรู้กับการ “บริหารเวลา” เพราะหากเราทำได้ดี เราจะจัดสรรทุกอย่างได้ลงตัว ไม่ต้องเครียดในช่วงใกล้สอบเลยครับ

หากเราลองตื่นเช้าขึ้นสักนิด จะทำให้เราไม่ต้องรีบ มีเวลาคิด วางแผนสิ่งที่เราต้องทำในแต่ละวัน เพียงแค่ 5 นาทีในทุกๆ วันตอนเช้า จะทำให้น้องไม่ต้องวิ่ง ไม่ต้องรีบร้อนกลัวทำนู่นทำนี่ไม่ทันเลยครับ

สำหรับการวางแผนระยะยาว อย่างเช่น การทำโครงงานระยะเวลา 1 เดือน พี่แนะนำให้น้องลองคุยกับเพื่อนๆ ช่วยกันไล่สิ่งที่ต้องทำออกมามีอะไรบ้าง จากนั้นลองเอามาลงตาราง เช่น หาข้อมูลในสัปดาห์แรก เริ่มทำรายงานในสัปดาห์ที่สอง จัดรูปเล่มในสัปดาห์ที่สาม จะได้ไม่ต้องไฟลนในช่วงสุดท้ายครับ แล้วเราจะได้ค่อยๆ ทำ และไม่ต้องมาเครียดในช่วงใกล้สอบครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมคะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในรอบพอร์ต – TCASter

406 views

เทียบคะแนน A-Level TCAS66 vs TCAS67 – TCASter

531 views

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

616 views

5 ขั้นตอนใช้งาน TCASter App ฟีเจอร์ “ประเมินโอกาสสอบติด” – TCASter

651 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร – TCASter

971 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – TCASter

951 views