Follow us on

ขี้หลงขี้ลืมขนาดนี้ ต้องใช้ 8 วิธีนี้แก้ให้หายขาด

วันที่โพสต์

ไหน! สารภาพมาซะดีๆ ใครเป็นคนขี้ลืม อ่านแล้วไม่จำบ้างครับ ลองนำเทคนิคการจำ 8 วิธีนี้ไปใช้ ไม่จำก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว

1. จดให้เรียบ

เวลาที่จด เราจะเพิ่มแอคติ้งของการจำเพิ่มขึ้นมา จากที่แค่คิดอยู่ในหัว เปลี่ยนมาเป็นขีดเขียนในมืออีกทาง จากที่แค่ฟังทางหู ให้เขียนสิ่งที่ฟังลงกระดาษอีกครั้ง

การเขียนทำให้เราได้ทบทวนสิ่งนั้น และที่สำคัญเราจะกลับมาทบทวนทีหลังได้โดยที่ส่วนสำคัญทุกอย่างยังคงอยู่ครบ อย่าลืมพกกระดาษปากกาไปด้วยทุกที่ เขียนทุกครั้งที่มีโอกาส เพิ่มทักษะการจำไปอีกขั้นนะครับ

.

2. แปะโพสอิท

ความสามารถสำคัญของโพสอิทคือ !!!

  1. แบ่งเป็นสีๆ ได้
  2. เขียนแล้วแปะ
  3. เสร็จแล้วดึงทิ้ง

เพราะธรรมชาติของโพสอิทเราสามารถแปะไว้ในที่ที่เราเห็นบ่อยๆ ได้ เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หลังโทรศัพท์มือถือ บนโต๊ะหนังสือ บนตู้เย็น

หากเราจำคำศัพท์คำไหนไม่ได้ ลองเอาคำศัพท์ไปแปะไว้บนตู้เย็น นึกคำแปลไม่ได้ก็ห้ามกินขนม หากจำได้แล้วก็ดึงออกเปลี่ยนคำใหม่ ง่ายนิดเดียว

และโพสอิทยังช่วยจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่น สิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ต้องซื้อ ของที่ต้องจัด โดยเฉพาะ เดดไลน์ กำหนดการต่างๆ อย่าลืมเขียนแปะโพสอิทไว้เชียว เพราะถ้าลืมขึ้นมาจะเป็นเรื่อง

.

3. เก็บของให้เป็นที่

เพราะสถานที่รกๆ ของรกๆ สามารถรบกวนสมาธิได้เป็นอย่างดี การจัดของให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ของไหนไม่ใช้แล้วให้เก็บ ของทุกชิ้นต้องมีที่อยู่ของมัน จะช่วยให้เรามีสมาธิและไม่หลงลืมง่ายๆ

.

4. บริหารสมอง

สมองคือเพื่อนรักที่เราต้องรักษา หากต้องการจะเรียนหนังสือหรือจำได้ดี สิ่งที่จะทำให้สมองเพื่อนรักของเราสุขภาพแข็งแรงคือ

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์
  3. ออกกำลังกาย
  4. หมั่นใช้สมอง เช่น คิดเลขเร็ว ปัญหาเชาวน์ เป็นต้น

.

5. ออกเสียงทบทวน

การออกเสียงออกมา จะทำให้เราได้ยินแล้วเก็บไปจำอีกครั้ง จากที่เคยเห็นเป็นแค่ตัวหนังสือ หรือเสียงในหัว การออกเสียงจะช่วยให้ประสาทการรับฟังทำงาน ช่วยให้เราจำเนื้อหานั้นๆ เป็นเสียงอีกทางหนึ่ง

ลองอ่านหนังสือ เสร็จแล้วก็พูดทบทวนให้ตัวเองฟัง วิธีนี้ถ้าใช้ไม่ได้ผลก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว

.

6. ทำความเข้าใจ

ลองเอาใจไปใส่ในสิ่งที่เราต้องการจำมากขึ้น เช่น หากครูให้จำสมบัติของธาตุและสารประกอบ วิธีที่เราจะใช้คือ กลับมาบ้านแล้วนั่งเสิร์ชที่มาที่ไป เอาให้เห็นภาพของธาตุและสารประกอบนั้นๆ อย่างเป็นรูปเป็นร่าง ไม่ใช่แค่เห็นเพียงตัวอักษรในหนังสือ

.

7. ลงมือทำ

อะไรที่เราลงมือทำได้ให้ลงมือทำ การได้สัมผัส การได้ทดลองของจริง การที่เป็นประสบการณ์ติดตัวไม่ว่าผ่านไปกี่ปีก็ไม่มีทางลืมแน่ๆ

เช่น หากต้องจำปฏิกริยาเคมี หากเราหาอุปกรณ์มาทดลองเองได้ ได้ลองสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากของจริง ได้นั่งเตรียมของ ได้ค้นหาข้อมูล รับรองว่าจะเป็นปฏิกิริยาที่เราไม่มีทางลืม ชัวร์!

.

8. พักผ่อนให้เพียงพอ

เพราะการนอนหลับจะช่วยซ่อมแซมร่างกายของเรา อีกทั้งยังเป็นขั้นตอนของการโอนถ่ายข้อมูลจากความจำระยะสั้นไปสู่ความจำระยะยาว หากอดหลับอดนอนฝืนอ่านฝืนจำ แทนที่จะจำได้เยอะๆ จะกลับกลายเป็นจำอะไรไม่ได้เลย

นอกจากแบ่งเวลาอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องแบ่งเวลานอนไว้ด้วย สำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมคะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในรอบพอร์ต – TCASter

403 views

เทียบคะแนน A-Level TCAS66 vs TCAS67 – TCASter

527 views

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

607 views

5 ขั้นตอนใช้งาน TCASter App ฟีเจอร์ “ประเมินโอกาสสอบติด” – TCASter

648 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร – TCASter

969 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – TCASter

946 views