Follow us on

การสอบ TCAS ต้องสอบอะไรบ้าง?! การสอบแต่ละแบบต่างกันยังไง (GAT/PAT, ONET, วิชาสามัญ, วิชาเฉพาะ)

วันที่โพสต์

การสอบ TCAS จะมีเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละคณะที่แตกต่างกัน
รอบที่ 1 รอบแฟ้มสะสมผลงานไม่ต้องใช้คะแนนสอบในการยื่น เน้นไปที่ผลงาน และการสอบสัมภาษณ์

วันนี้สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังสับสนอยู่ว่าในระบบ การสอบ TCAS ต้องสอบอะไรบ้าง แล้วแต่ละการสอบจริง ๆ แล้วเป็นยังไง ลองมาดูบทความนี้ได้เลย บอกเลยว่าครบถ้วนแน่นอน มาเริ่มที่การสอบแรก!

  1. การสอบ GAT/PAT
    1.1 การสอบ GAT (Genetal Aptitude Test) เป็นการสอบวัดความถนัดทั่วไป โดยจะแบ่งเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
    รูปแบบข้อสอบ
    – GAT ไทย หรือชื่อที่เราคุ้นหู คือ GAT เชื่อมโยง คะแนนเต็ม 150 คะแนน
    เน้น การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยงแก้โจทย์ปัญหา
    – GAT อังกฤษ หรือชื่อที่เราคุ้นหู คือ GAT Eng คะแนนเต็ม 150 คะแนน
    เน้นการเข้าใจด้านการอ่าน หรือการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทั้งด้าน Expressions , Volcabulary , Reading Comprehension, Structure and Writing
    ข้อมูลการสอบ
    – เวลาที่ใช้ในการสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง
    – คะแนนเต็ม 300 คะแนน (ไทย 150 / อังกฤษ 150)
    1.2 การสอบ PAT (Professional Aptitude Test) เป็นการสอบวัดความถนัดด้านวิชาการ หรือเฉพาะด้าน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
    รูปแบบข้อสอบ
    PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ เป็นการสอบวัดความถนัดที่มีความยากมากที่สุดในการสอบทั้งหมด เนื้อหาข้อสอบจะเริ่มตั้งแต่พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงคณิตศาสตร์เพิ่มเติม มีความซับซ้อน และดัดแปลงตามความยากของแต่ละข้อ มีทั้งหมด 17 บท แต่ละบทก็จะมีจำนวนข้อที่แตกต่างกัน
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    รวมทั้งหมด 45 ข้อ แบ่งเป็น
    : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (35 ข้อ : 210 คะแนน)
    : ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข (10 ข้อ : 90 คะแนน)
    PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เป็นการสอบวัดความถนัด 4 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และดาราศาสตร์ โดยวิชาที่มีจำนวนข้อน้อยที่สุดใน Pat 2 คือ ดาราศาสตร์ ในส่วนของวิชาอื่น ๆ จะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน รูปแบบของข้อสอบจะมีทั้งทฤษฏี และคำนวณรวม ๆ กัน
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    รวมปรนัย 5 ตัวเลือก
    : 1 คำตอบ (60 ข้อ : 300 คะแนน)
    PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เป็นการสอบวัดความถนัด 3 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ เพื่อวัดความถนัดด้านวิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์เหล่านี้จึงมีความจำเป็น โดยแต่ละวิชาจะเน้นบทเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปในเรื่องของการคำนวณมากกว่า
    ฟิสิกส์ : ของไหล แสง เสียง กลศาสตร์ และไฟฟ้า
    เคมี : ปริมาณสารสัมพันธ์ กรด-เบส แก๊ส ปิโตเลียม
    คณิตศาสตร์ : แคลคูลัส สถิติ การมองภาพ 3 มิติ
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    รวมทั้งหมด 70 ข้อ แบ่งเป็น
    : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (60 ข้อ : 240 คะแนน)
    : ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข (10 ข้อ : 60 คะแนน)
    PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการสอบที่เน้นข้อสอบแนวตรรกะ ความรู้ทั่วไป และการวาดรูป (perspective) โดยรวมเนื้อหาข้อสอบจะเกี่ยวกับ isometric(PLAN PRONT SIDE) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความรู้ที่สถาปัตยกรรมศาสตร์ต้องมีนั่นเอง
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    รวมทั้งหมด 34 ข้อ แบ่งเป็น
    : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (20 ข้อ : 60 คะแนน)
    : เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน (10 ข้อ : 30 คะแนน)
    : อัตนัย ใช้คนตรวจ (4 ข้อ : 210 คะแนน)
    PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู เป็นการสอบที่นำไปใช้ในคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ โดยจะมีการสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ รวมถึงความถนัดเฉพาะด้าน เช่น ทักษะความเข้าใจ ตะะกะ การสื่อสาร หรือหลักจิตวิทยาครู
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    รวมทั้งหมด 120 ข้อ แบ่งเป็น
    : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (120 ข้อ : 300 คะแนน)
    PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ เป็นการสอบที่มีเนื้อหาด้านทฤษฎีศิลปะ ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏยศิลป์ ทั้งของไทย และต่างประเทศ 
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    รวมทั้งหมด 100 ข้อ แบ่งเป็น
    : ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (90 ข้อ : 225 คะแนน)
    : เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน (10 ข้อ : 75 คะแนน)
    PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ น้อง ๆ สามารถเลือกสอบความถนัดด้านภาษาเพิ่มได้ 1 ภาษา (นอกจากภาษาอังกฤษ) เพราะการสอบนี้จะสอบวัน และเวลาเดียวกัน โดยเนื้อหาการสอบจะเน้นไปทางพื้นฐานของภาษานั้น ๆ คำศัพท์ ไวยากรณ์ รูปประโยค สำนวนต่าง ๆ หรือบางภาษาอาจมีเรื่องการออกเสียงมาเกี่ยวข้องด้วย แบ่งออกเป็น 6 ภาษา คือ
    7.1 ภาษาฝรั่งเศส
    7.2 ภาษาเยอรมัน
    7.3 ภาษาญี่ปุ่น
    7.4 ภาษาจีน
    7.5 ภาษาอาหรับ
    7.6 ภาษาบาลี
    รูปแบบ และจำนวนข้อสอบ
    : รวมปรนัย 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ (100 ข้อ : 300 คะแนน)
    ข้อมูลการสอบ
    – เวลาที่ใช้ในการสอบวิชาละ 3 ชั่วโมง
    – คะแนนเต็มวิชาละ 300 คะแนน
    บทความที่เกี่ยวข้อง : เนื้อหาที่ออกสอบ รูปแบบและจำนวนข้อสอบ GAT/PAT ปีการศึกษา 2564
  2. การสอบ ONET
    ชื่อเต็มคือ Ordinary National Education Test เป็นการสอบที่นักเรียน ม.6 ทุกคนต้องสอบ เน้นวัดผลนักเรียนของแต่ละโรงเรียนตามหลักสูตรกระทรวงขนาดใหญ่ โดยข้อสอบจะเป็นการวัดความรู้พื้นฐานทั่วไป
    รูปแบบข้อสอบ
    การสอบ ONET จะแบ่งออกเป็น 5 วิชา โดยจะเน้นไปทีการวัดความรู้พื้นฐานของวิชานั้น ๆ
    ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์) วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาสังคมศาสตร์ และวิชาภาษาไทย
    ข้อมูลการสอบ
    เวลาที่ใช้ในการสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง
    คะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน
  3. การสอบวิชาสามัญ
    เป็นข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. หรือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เพื่อใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย
    รูปแบบข้อสอบ
    วิชาสามัญ จะเรียนอีกชื่อหนึ่งว่า 9 วิชาสามัญ โดยมีรายวิชา ดังนี้
    1.ฟิสิกส์
    2. เคมี
    3. ชีววิทยา
    4. วิทยาศาสตร์ทั่วไป (สายศิลป์)
    5. คณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์)
    6. คณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์)
    7. ภาษาไทย
    8. ภาษาอังกฤษ
    9. สังคมศาสตร์
    ข้อมูลการสอบ
    – เวลาที่ใช้ในการสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที
    – คะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน
  4. การสอบวิชาเฉพาะ
    เช่น การสอบวิชาความถนัดเฉพาะแพทย์ (กสพท.), ความถนัดด้านดนตรี ความถนัดทางศิลปะ   โดยวิชาเหล่านี้จะจัดนอกเหนือจากช่วงสอบ GAT/PAT, ONET, วิชาสามัญ และเกณฑ์ต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับผู้จัดสอบ เพื่อวัดความสามารถของผู้สมัครกับสายการเรียน
  5. การสอบวัดระดับด้านภาษา
    ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย และคณะนั้น ๆ คะแนนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น TOEIC, TOEFL , IELTS, CU-TEP, SAT คะแนนเหล่านี้สามารถใช้ยื่นเข้าหลักสูตรนานาชาติได้

ทั้งหมดนี้คือการสอบในระบบ TCAS ที่น้อง ๆ อาจต้องเจอ หากน้อง ๆ เลือกที่จะยื่นเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในระบบ TCAS แต่ต้องอย่าลืมไปศึกษาเกณฑ์ที่ใช้ของคณะที่เราสนใจว่า ในคณะนั้น ๆ ใช้เกณฑ์อะไรบ้าง เพราะการสมัครสอบแน่นอนว่ามาพร้อมกับค่าใช้จ่าย ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิชาสอบได้เลย และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากรู้ว่าแต่ละคณะสอบอะไรกันบ้าง สามารถ คลิก ที่นี่ได้เลย และสุดท้าย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ไม่อยากพลาดข่าวสารการรับสมัคร รวมถึงการแข่งขันเพื่อสำสมผลงานต้องอย่าลืมโหลดแอป TCASter ติดเครื่องไว้ล่ะ!! โหลดเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ม.กรุงเทพ ร่วมกับ Berkeley SkyDeck Fund  จัดกิจกรรม Hackathon 2024

67 views

รวมเว็บไซต์สมัครรอบ 1 (Portfolio) #DEK68 เซฟด่วน! ครบจบในที่เดียว – TCASter

2,278 views

คะแนนเฟ้อ คะแนนฝืด มีประโยชน์มากกว่าที่คิด มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน!- TCASter

522 views

10 สาขา/มหาวิทยาลัย แข่งขันสูง หมวดคณะครุ-ศึกษาศาสตร์ TCAS66 มาดูกัน! – TCASter

2,213 views

อยากเรียนสายมนุษย์ – สังคม เรียนที่ไหนดี? – TCASter

859 views

10 สาขา/มหาวิทยาลัย แข่งขันสูง หมวดคณะวิศวกรรมศาสตร์ TCAS66 มาดูกัน! – TCASter

2,295 views