น้องคนไหนอยากยื่นรอบพอร์ต (Portfolio) วันนี้พี่ TCASter รวบรวมมาให้แล้วกับทุกข้อมูลที่ควรรู้ในการยื่นพอร์ต ให้น้อง ๆ ได้เตรียมพร้อมและติดรอบพอร์ตที่หวังไปด้วยกันเลย!
ทำความรู้จัก รอบ Portfolio ให้หมดเปลือก
1. กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
- ไม่มีการจัดสอบข้อเขียน แต่สามารถคัดเลือกผ่านการแสดงความสามารถพิเศา หรือ Audition ได้
2. กระบวนการคัดเลือก
- ยื่นสมัครกับสถาบันอุดมศึกษา
- Pre-Screening Port คณะกรรมการตรวจจะพอร์ตของเราว่ามีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขหรือไม่
- สอบสัมภาษณ์
- ประกาศผล
- ช่วงเวลาสมัคร : ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด ส่วนมากจะเริ่มเปิดตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีต่อไป
- แหล่งสมัคร : สมัครผ่าน Website ของมหาวิทยาลัย สนใจคณะไหน ให้ติดตามประกาศอย่างสม่ำเสมอได้เลย
- ลักษณะการสอบติด : สามารถยื่นได้หลายที่ ติดได้หลายที่ แต่ยืนยันสิทธิ์ได้ที่เดียว (อย่าลืมอ่านประกาศรับสมัครให้ละเอียด เพราะบางมหาวิทยาลัยอาจให้ยื่นได้แค่สาขาเดียวเท่านั้น)
3. ประเภทโครงการที่รอบ Portfolio เปิดรับ
- โครงการนักเรียนที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษ
- โครงการนักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬา
- โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนดี
- โครงการนักเรียนที่มีผลงาน (วิชาการ/ประกวด/ประดิษฐ์)
- โครงการนักเรียนที่ศึกษาในห้องเรียน หรือโรงเรียน หรือโครงการเครือข่าย
- โครงการนักเรียนที่มีผลงานด้านคุณธรรมจริยธรรม
4. สอนอ่านระเบียบการ หาโครงการพอร์ตที่ใช่กับเรา
- องค์ประกอบสำคัญในการจะยื่นพอร์ต
- คุณสมบัติ
- ระดับการศึกษา (อย่าลืมอ่านประกาศให้ละเอียด บางโครงการอาจรับเด็กซิ่วด้วย)
- เกรดเฉลี่ย (GPAX, GPA)
- จำนวนหน่วยกิตรายวิชาต่าง ๆ
- คะแนนขั้นต่ำการสอบเฉพาะทาง เช่น IELTS, BMAT
- อื่น ๆ
- เอกสาร
- รูปถ่าย
- ใบปพ.7
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน
- ผลการเรียน
- อื่น ๆ
- ผลงาน
- ผลงานวิชาการ
- ผลงานแสดงความสามารถ
- ผลงานการร่วมกิจกรรม (จิตอาสา, คุณธรรม, ฯลฯ)
*คุณสมบัติต้องผ่านทุกข้อถึงจะยื่นพอร์ตโครงการนั้น ๆ ได้ ถ้าไม่ถึงอย่าเสี่ยงยื่น เพราะกรรมการจะคัดออกชัวร์ ทำให้เสียค่าสมัครไปฟรี ๆ นะ
5. รวมจุดสำคัญเกี่ยวกับ Portfolio
- Portfolio คือเอกสารที่จะแสดงตัวตน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนรางวัลที่ได้รับที่มีความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่จะสมัครให้กรรมการรับรู้ เพราะฉะนั้นต้องคัดเลือกผลงานให้ดี
- เอกสารที่จัดส่งไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 ไม่รวมปก
- ถ้ามีการใช้ GPAX จะใช้ 4 หรือ 5 ภาคเรียน
ไม่ควรยื่นพอร์ตแบบเดียวกันกับทุก ๆ สาขา เพราะแต่ละที่มีความต้องการรวมไปถึงมีรูปแบบเฉพาะเจาะจง การปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับสาขานั้น ๆ จะช่วยให้ผลงานสอดคล้องและช่วยแสดงความตั้งใจของเราให้กรรมการเห็นด้วย
6. วิธีตกแต่ง Portfolio
- การเลือก Font ใน Portfolio ให้ถูกใจกรรมการ
- เลือก Font ตามที่ระเบียบการกำหนด (ถ้ามี)
- ถ้าไม่มีกำหนด ให้ใช้เป็นฟอนต์ที่อ่านง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ฟอนต์ทางการเสมอไป แต่จะต้องเป็นฟอนต์ที่มีความสบายตา สร้างสรรค์ และดูเป็นระเบียบ
- ฟอนต์ภาษาไทย ควรเลือกใช้ฟอนต์ตัวอักษรที่มีหัว จะช่วยทำให้ตัวหนังสืออ่านง่ายขึ้น
- การเลือกใช้สีใน Portfolio
- เน้นสีที่สบายตา ทำให้ตัวหนังสืออ่านง่าย
- ถ้าไม่รู้จะใช้สีอะไร ให้เลือกใช้สีของมหาวิทยาลัย / คณะ / สาขา ที่เรายื่นพอร์ตมาปรับใช้ได้เลย
- การตกแต่ง Portfolio
- ไม่ต้องกังวลเรื่องการตกแต่งมากนัก เพราะกรรมการจะเน้นที่คุณสมบัติและผลงานเป็นหลัก ยกเว้น ถ้าจะยื่นเข้าสาขาที่เกี่ยวกับศิลปะ ควรทำพอร์ตที่แสดงให้เห็นความสามารถทางศิลปะของเราด้วย
- เน้นการตกแต่งที่ไม่รกจนเกินไป เห็นตัวอักษรชัดเจน รูปภาพ หรือ ไอคอนที่นำมาตกแต่งต้องมีความเหมาะสม
ไม่อยากพลาดข่าวสารการรับสมัคร หรือประกาศสำคัญเกี่ยวกับ TCAS
ติดตามได้ที่ TCASter App แอปฟรี รวมฟีเจอร์เพื่อวัยรุ่นเตรียมสอบ
iOS https://tcaster.info/3P6Lu8h
Android https://tcaster.info/3PdmxYK
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง