Follow us on

วิศวกรรมแต่ละสาย ทำอาชีพอะไรได้บ้าง? – TCASter

วันที่โพสต์
engineer_job

น้องคนไหนที่ยังไม่แน่ใจว่าเรียนวิศวะแต่ละสายต่างกันยังไง แล้วแต่ละสายจะไปทำงานอะไรได้บ้าง เพราะมีหลายสายเยอะแยะไปหมด วันนี้พี่ TCASter จะมาสรุปให้คร่าว ๆ ว่าวิศวะแต่ละสาย สามารถไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง

1. สายวิศวกรรมไฟฟ้า (ELECTRICAL ENGINEERING)

เป็นสาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจักรกล การประมวลผลสัญญาณ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติ 

สำหรับอาชีพที่สายวิศวกรรมไฟฟ้าทำได้ เช่น

  • วิศวกรไฟฟ้ากำลัง
  • วิศวกรคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
  • วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
  • วิศวกรโทรคมนาคม

2. สายวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (COMPUTER ENGINEERING)

เป็นสายที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการออกแบบ สร้าง พัฒนา และบำรุงรักษาส่วนประกอบทางซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องควบคุมโดยคอมพิวเตอร์

สำหรับอาชีพที่สายวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทำได้ เช่น 

  • ผู้ออกแบบระบบ
  • ผู้ตรวจสอบระบบ
  • วิศวกรซอฟต์แวร์
  • นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์
  • นักพัฒนาเว็บไซต์
  • โปรแกรมเมอร์

3. สายวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน (AEROSPACE ENGINEERING)

วิศวกรรมการบินและอวกาศจะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังของอากาศยานต่าง ๆ 

อาชีพที่วิศวกรรมการบินและอวกาศยานสามารถทำได้ เช่น 

  • วิศวกรออกแบบ
  • วิศวกรควบคุมการโคจรและสถานีดาวเทียม
  • วิศวกรควบคุมการซ่อมบำรุงอากาศยาน
  • วิศวกรด้านการบริหารการจัดการในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจการบินและอวกาศ
  • วิศวกรด้านการจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ 

4. สายวิศวกรรมโยธา (CIVIL ENGINEERING) 

ศึกษาครอบคลุมทั้งทักษะการออกแบบ การก่อสร้าง รวมถึงการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้าง

อาชีพที่วิศวกรรมโยธาสามารถทำได้ เช่น

  • วิศวกรรมออกแบบ
  • วิศวกรก่อสร้าง
  • วิศวกรโครงการ

5. สายวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL ENGINEERING) 

เรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อวางแผน ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และเดินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ 

สำหรับอาชีพที่วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้ เช่น

  • วิศวกรสิ่งแวดล้อมบริหารจัดการระบบ
  • นักวิจัย
  • นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
  • บุคลากรในสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6. สายวิศวกรรมเคมี (CHEMICAL ENGINEERING) 

เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี รวมไปถึงการควบคุมการผลิตและออกแบบโรงงาน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่สายวิศวกรรมเคมีสามารถทำได้ เช่น 

  • นักวิจัยด้านเคมี
  • วิศวกรออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต
  • วิศวกรโครงการ
  • วิศวกรผลิต

7. สายวิศวกรรมอุตสาหการ (INDUSTRIAL ENGINEERING) 

เรียนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วางแผน ควบคุม การวิจัย ขั้นตอนการดำเนินงาน การจัดการระบบต่าง ๆ ที่จะครอบคลุมทุกด้าน ทั้งบุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ สถานที่ เวลา และการเงิน 

อาชีพที่สายวิศวกรรมอุตสาหการสามารถทำได้ เช่น

  • วิศวกรวางระบบ
  • วิศวกรโครงการ
  • วิศวกรโรงงาน
  • วิศวกรในหน่วยงานของรัฐ
  • วิศวกรในสถาบันการเงินและอุตสาหกรรม

8. สายวิศวกรรมเหมืองแร่ (MINING ENGINEERING)

เป็นสาขาวิศวกรรมที่ต้องศึกษาความรู้ทางวิศวกรรมหลาย ๆ ด้านเพื่อค้นหา ขุดแยก และจัดการกับแร่ธาตุจากแหล่งธรรมชาติ 

สำหรับหน่วยงานที่สายวิศวกรรมเหมืองแร่สามารถเข้าทำงานได้ เช่น 

  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • กรมพลังงานทหาร
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ทีนี้ก็รู้กันแล้วว่าวิศวกรรมแต่ละสาย สามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง น้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็อย่าลืมเช็กความชอบของตัวเองกันด้วยว่าเราชอบแนวไหน จะได้เลือกสาขาที่จะเรียนถูก พี่ TCASter เอาใจช่วยทุกคนนะ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรใหม่ TCAS68 ม.ทักษิณ

355 views

มาแล้ว!! ม.เกษตร รอบ1/2 โครงการช้างเผือก

1,474 views

มศว รอบ 1 Portfolio เปิดรับ 5 โครงการ!

1,911 views

ลงทะเบียน TCAS68 ระบบ MyTCAS วันไหน ต้องทำยังไง และใช้เอกสารอะไรบ้าง?

90,412 views

ปฏิทิน TCAS68 มศว มาแล้ว เตรียมยื่นพอร์ต เดือนพฤศจิกายนนี้ – TCASter

4,205 views

ม. ธรรมศาสตร์ เปิดเกณฑ์รับรอบ 1 แล้ว! มีคณะอะไรบ้าง ไปดูได้เลย – TCASter

3,541 views