Follow us on

ค้นหาตัวตนผ่านนพลักษณ์ (EnneagramTest) ทั้ง 9 แบบ – TCASter

วันที่โพสต์
enneagram-test

น้องคนไหนยังงง ๆ กับตัวเองมาทางนี้เลย วันนี้พี่ TCASter มีแบบค้นหาตัวตนผ่านนพลักษณ์ หรือ Enneagram ทั้ง 9 แบบมาฝากกัน ซึ่งแบบทดสอบนี้จะช่วยให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้นล่ะ

แบบทดสอบนพลักษณ์ (Enneagram Test)

นพลักษณ์ หรือ เอ็นเนียแกรม (Enneagram Test) เป็นศาสตร์การเข้าใจผู้คนและบุคลิกภาพ แบ่งเป็น 9 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีพฤติกรรม การใช้ชีวิตและมุมมองที่มีต่อโลกในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป 

นพลักษณ์เป็นศาสตร์ที่เชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากศาสนาซูฟี ซึ่งเป็นลัทธิความเชื่อลัทธิหนึ่งในศาสนาอิสลาม ซึ่งแปลงคำสอนมาจากนิกายสุหนี่ เน้นความเชื่อทางจิตวิญญาณ ซึ่งถูกถ่ายทอดกันแบบปากต่อปากและเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมากขึ้น โดย G.I. Gurdjieff ที่นำองค์ความรู้เรื่องนพลักษณ์มาใช้ในการสอนในประเทศรัสเซียและแถบยุโรปในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 และในช่วงหลัง Oscar Ichazo ก็ได้เอาความรู้เกี่ยวกับนพลักษณ์มาศึกษาเพื่อใช้ในด้านจิตวิทยา ทำให้นพลักษณ์แพร่หลายมากขึ้นในด้านจิตวิทยาด้วย หลังจากนั้น Claudio Naranjo ได้เรียนรู้ทางด้านจิตวิทยาและจิตวิญญาณ จนนำมาสู่หนังสือที่เกี่ยวข้องกับนพลักษณ์เล่มแรก และทำให้นพลักษณ์แพร่หลายถึงทุกวันนี้

นพลักษณ์ช่วยทำให้เรารู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองเป็นคนยังไง มีการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยังไง รู้ถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้คนแต่ละแบบ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างเหมาะสม และยังเหมาะกับองค์กรต่างๆ ในการนำไปพัฒนาบุคลากรได้ด้วย และที่สำคัญคือ เมื่อเราได้ศึกษานพลักษณ์อย่างเข้าใจแล้ว เราจะได้รู้ว่าเราไม่จำเป็นต้องยึดติดกับผลลัพธ์ที่ออกมา เพราะผลลัพธ์ที่เราได้จากการทดสอบนพลักษณ์ เป็นเพียงการตอบสนองต่อสถานการฯต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และในความเป็นจริงความเป็นไปได้ในแบบอื่นๆ ที่เราสามารถทำได้

เพราะฉะนั้น พี่ TCASter อยากบอกน้อง ๆ ว่า ไม่ว่าเราจะทดสอบได้ลักษณ์แบบไหน ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องยึดติดและทำตัวให้เหมือนบุคลิกของลักษณ์นั้นตลอดเวลา เพราะยังมีความเป็นไปได้อื่น ๆ ที่เราสามารถเป็นได้อีกเยอะเลยล่ะ 

รายละเอียดเบื้องต้นของลักษณ์ทั้ง 9 ลักษณ์

  • ลักษณ์ 1 ผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบ มีกฎระเบียบอยู่เสมอ จะวิจารณ์สิ่งต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา
  • ลักษณ์ 2 ผู้ให้ ชอบช่วยเหลือคนอื่น ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ เห็นแแก่ผู้อื่นมากกว่าตัวเอง
  • ลักษณ์ 3 นักแสดง ต้องการประสบความสำเร็จ มีเป้าหมายและต้องไปให้ถึง ชอบการแข่งขัน ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์
  • ลักษณ์ 4 ผู้โศกซึ้ง คนที่มีอารมณ์หลากหลายโดยเฉพาะอารมณ์เศร้า ไม่ค่อยพอใจในสิ่งที่ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย  
  • ลักษณ์ 5 นักสังเกตการณ์ ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง มักมีระยะห่างระหว่างตัวเองกับคนอื่น รู้สึกหมดพลังได้ง่ายเมื่ออยู่กับคนอื่น
  • ลักษณ์ 6 นักปุจฉา คนที่มีคำถามกับสิ่งรอบตัว และอาจเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย เตรียมตัวเองให้พร้อมที่จะรับมือหรือปะทะกับสิ่งที่อาจมาคุกคามได้ตลอดเวลา
  • ลักษณ์ 7 ผู้เสพสุข มองโลกในแง่ดี ร่าเริง สนุกสนาน ชอบอะไรใหม่ๆ ชอบสิ่งที่ไม่เหมือนใคร
  • ลักษณ์ 8 เจ้านาย ให้ความสำคัญกับการควบคุมและอำนาจ โกรธง่ายหายเร็ว ปกป้องผู้อ่อนแอ มีความยุติธรรม แต่บางครั้งก็เกินตัว
  • ลักษณ์ 9 ผู้ประสานไมตรี ชอบความสงบ สามัคคี ชอบช่วยเหลือคนอื่น ไม่ชอบความขัดแย้ง เข้าใจผู้คนในมุมมองต่างๆ ชอบทำตามคนอื่นและหลงลืมความต้องการของตัวเอง

โครงสร้างของนพลักษณ์ (Enneagram)

  • ปัญญา 3 ฐาน (The 3 Centers)
    นพลักษณ์แบ่งคนในลักษณ์ต่างๆ ผ่านปัญญา 3 ฐาน ซึ่งจะบอกว่าคนแต่ละลักษณ์ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร แสดงออกยังไง โดย
    • ฐานกายหรือศูนย์กาย (body) คือ ลักษณ์ที่มีความถนัดในการแสดงออกผ่านสัญชาตญาณ การลงมือทำ ได้แก่ ลักษณ์ 1 ลักษณ์ 8 และ ลักษณ์ 9
    • ฐานใจหรือศูนย์ใจ (heart) คือ ลักษณ์ที่มีความถนัดในการใช้อารมณ์ความรู้สึกและเชื่อมโยงกับผู้คน ได้แก่ ลักษณ์ 2 ลักษณ์ 3 และลักษณ์ 4
    • ฐานหัวหรือศูนย์หัว (head) คือ ลักษณ์ที่มีความถนัดในการใช้ความคิด มักจะแสดงออกผ่านการวิเคราะห์ ใช้เหตุผล ได้แก่ ลักษณ์ 5 ลักษณ์ 6 และลักษณ์ 7
  • สภาวะปีก (Wing)
    • สภาวะปีก (wing) คือ ลักษณ์ 2 ลักษณ์ ที่อยู่ข้างลักษณ์หลัก เช่น ลักษณ์ 3 จะปีกเป็นลักษณ์ 2 และลักษณ์ 4 เคียงข้าง ซึ่งจะทำให้แต่ละคนมีการแสดงออกที่แตกต่างกันตามอิทธิพลของลักษณ์ข้าง ๆ แต่บางคนก็จำเป็นที่จะต้องมีสภาวะปีกก็ได้ และสภาวะปีกก็สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วย
  • สภาวะลูกศร (Arrow)
    • สภาวะลูกศร (arrow) คือ สภาวะที่แต่ละคนมีพฤติกรรมและการแสดงออกเปลี่ยนไปตามสภาวะต่าง ๆ ดังนี้
      • สภาวะปกติ คือ ตอนที่ไม่ไเครียด
      • สภาวะที่ไม่มั่นคง คือ สภาวะที่เรารู้สึกเครียด กดดัน
      • สภาวะที่มั่นคง คือ สภาวะที่เรารู้สึกว่าสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ รู้สึกว่าสิ่งต่างๆ เป็นไปตามที่ต้องการ

โดยเมื่อเราอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง ลักษณ์ของเราจะมีการแสดงออกและได้รับอิทธิพลตามลักษณ์ที่อยู่ในทิศทางตามลูกศรเช่น ลักษณ์ 1 จะมีการแสดงออกและได้รับอิทธิพลของลักษณ์ 7

เมื่อเราอยู่ในสภาวะที่มั่นคง ลักษณ์ของเราจะมีการแสดงออกและได้รับอิทธิพลตามลักษณ์ที่อยู่ในทิศทางทวนลูกศรเช่น ลักษณ์ 1 จะมีการแสดงออกและได้รับอิทธิพลของลักษณ์ 4

BigSelf_Enneagram
ขอบคุณภาพจาก thechattery

 

 

ประโยชน์ของนพลักษณ์ (Enneagram)

  • การพัฒนาผู้นำ
    เพราะคนที่จะมีภาวะผู้นำจะต้องรู้จักตัวเอง เห็นตัวเองรอบด้าน เพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนที่แตกต่างกัน เข้าใจคนอื่นมากขึ้น รู้เท่าทันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากลักษณ์ต่าง ๆ
  • การสร้างทีมเวิร์ค
    เพราะทีมที่ดีต้องเป็นทีมที่เข้าใจกัน งการเรียนรู้เรื่องนพลักษณ์จะช่วยทำให้เราเข้าใจคนในทีมมากขึ้น และสร้างทีมเวิร์คได้ดีขึ้น
  • การพัฒนาตัวเอง
    ตัวช่วยในการพัฒนาตัวเองในระยะยาว เพราะจะทำให้ เราได้รู้จักตัวเรามากขึ้น มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ซึ่งบางครั้งก็นำมาปัญหาต่าง ๆ แต่ก็ช่วยให้เรารู้และแก้ปัญหารวมถึงการปรับตัว พัฒนาตัวเองได้เช่นกัน

อยากลองค้นหาตัวตนผ่าน Enneagram คลิกที่นี่เลย

ได้รู้จักการต้นหาตัวตนผ่านนพลักษณ์ หรือ Enneagram Test กันไปแล้ว น้อง ๆ ก็อย่าลืมไปลองเล่นกันดูน้า แล้วเราจะเข้าใจตัวเองมากขึ้น และรู้วิธีการพัฒนาจุดอ่อนจุดแข็งตัวเองได้มากขึ้นแน่นอน

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กดวงรายเดือน! ดวงเดือนตุลาคม 2567 #ฉบับวัยเรียน

194 views

ทำความรู้จักข้อสอบ FORWARD จาก มธ. ใช้ยื่นพอร์ตคณะพาณิชย์ฯ มธ. ได้! – TCASter

863 views

เปิดแล้ว! รอบ PORTFOLIO ม.ขอนแก่น TCAS68

426 views

ปฏิทิน TCAS68 ม.สงขลานครินทร์ เปิดรับสมัครวันไหนไปดูกัน! – TCASter

7,833 views

มาแล้ว! Open house ม.บูรพา – TCASter

656 views

เปิดแล้ว! รอบ PORTFOLIO ม.วลัยลักษณ์ TCAS68 – TCASter

548 views