Follow us on

TCAS คืออะไร? ทำความรู้จักทุกแง่มุมของทั้ง 4 รอบ มีกี่รอบ/สอบอะไรบ้าง/ปฏิทิน ที่เปิดรับสมัครใน TCAS66

วันที่โพสต์

อัปเดตข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฏาคม 65

CHAPTER : TCASter101

เรียบเรียง : Joe TCASter


TCAS คืออะไร?

  • TCAS (thai university central admission system) คือ ระบบการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยการศึกษาไทยเริ่มใช้ระบบ TCAS ตั้งแต่ปี 2561 ระบบ TCAS ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.
  • จุดประสงค์ของ ทปอ. ที่สร้างระบบนี้มาเพื่อช่วยลดที่นั่งว่างเนื่องจากการสละสิทธิ์ของคนที่ติดแล้ว ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสมัคร รวมถึงการจัดระเบียบการรับสมัครของแต่ละสถาบัน
  • ล่าสุด TCAS66 เปิดคัดเลือกทั้งหมด 4 รอบ ได้แก่
    • TCAS รอบ1 พอร์ตฟอลิโอ
    • TCAS รอบ2 โควตา
    • TCAS รอบ3 แอดมิชชั่น
    • TCAS รอบ4 รับตรงอิสระ

รู้จัก TCAS66 ทั้ง 4 รอบ .. เหมือนหรือต่างกันยังไง?


FAQ แนะแนวทำความรู้จัก TCAS รอบ1 พอร์ตฟอลิโอ

  • คำถาม 1 : เปิดรับสมัครตอนไหน? เราจะรู้ได้ยังไง?
    • เปิดรับสมัครช่วงเดือน ตุลาคม – มกราคม
    • แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน
    • ติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 2 : ใครบ้าง? ที่มีสิทธิ์สมัครได้
    • ส่วนใหญ่จะเปิดรับน้องๆ วุฒิ ม.6 หรือ วุฒิเทียบเท่า
    • ส่วนน้อย (บางคณะ) จะเปิดรับ “เด็กซิ่ว”
  • คำถาม 3 : สมัครได้ที่ไหน?
    • สมัครทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงเท่านั้น
  • คำถาม 4 : ใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือก?
    • พิจารณาคุณสมบัติ
    • ผลงาน/เกียรติบัตร (เน้นพิจารณาส่วนนี้เป็นหลัก)
    • สอบสัมภาษณ์ (ส่วนใหญ่)
    • ผลคะแนน TGAT/TPAT (บางคณะ/ใช้ประกอบการพิจารณา)
  • คำถาม 5 : รอบพอร์ตใช้เกรดไหม? ถ้าใช้ GPAX ใช้กี่ภาคเรียน (*ถ้าใช้)
    • ถ้าใช้จะใช้เกรด 5 หรือ 6 ภาคเรียน ม.ปลาย
    • เกรดที่ใช้อาจพิจารณาเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสมัคร หรือใช้เป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในการคัดเลือก
  • คำถาม 6 : ยื่นพอร์ตฟอลิโอได้ยังไง?
    • ขั้นตอนคัดเลือกแบบที่ 1 (ม.ส่วนใหญ่นิยมใช้)
      1. ลงทะเบียนสมัครทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรง
      2. ยื่นพอร์ต (แนบไฟล์ / ส่งทางไปรษณีย์)
      3. มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
      4. สอบสัมภาษณ์
      5. มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์
    • ขั้นตอนคัดเลือกแบบที่ 2 (ใช้ในบาง ม.)
      1. ลงทะเบียนสมัครทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรง
      2. มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์คัดเลือก
      3. นำพอร์ตฟอลิโอไปในวันสอบสัมภาษณ์ (พิจาณาพร้อมกัน)
      4. มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
  • คำถาม 7 : มีสถิติข้อมูลคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ให้เปรียบเทียบก่อนสมัครหรือไม่?
    • ไม่มี
  • คำถาม 8 : รูปแบบคัดเลือก เป็นอย่างไร?
    • สามารถสมัครได้มากกว่า 1 แห่ง
    • มีสิทธิ์ยื่นติดได้มากกว่า 1 แห่ง
    • เลือกยืนยันสิทธิ์ในระบบ mytcas ได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น
  • คำถาม 9 : มีระบบประมวลผลครั้งที่ 2 หรือไม่?
    • ไม่มี
  • คำถาม 10 : ติดแล้วยืนยันสิทธิ์ที่ไหน?
    • เว็บไซต์ mytcas และ/หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย
    • แนะนำดูได้จากประกาศรับสมัครมหาวิทยาลัยที่สนใจ
  • คำถาม 11 : TCAS รอบ1 เหมาะกับใคร?
    • น้องๆ ม.ปลาย ที่มีผลงานการแข่งขัน/สายผลงาน/ประกวด
    • คนที่ไม่อยากสอบแข่งขันด้วยคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย

FAQ แนะแนวทำความรู้จัก TCAS รอบ2 โควตา

  • คำถาม 1 : เปิดรับสมัครตอนไหน? เราจะรู้ได้ยังไง?
    • เปิดรับสมัครช่วงเดือน พฤศจิกายน – เมษายน
    • แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน
    • ติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 2 : ใครบ้าง? ที่มีสิทธิ์สมัครได้
    • ส่วนใหญ่จะเปิดรับน้องๆ วุฒิ ม.6 หรือ วุฒิเทียบเท่า
    • ส่วนน้อย (บางคณะ) จะเปิดรับ “เด็กซิ่ว”
  • คำถาม 3 : สมัครได้ที่ไหน?
    • สมัครทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงเท่านั้น
  • คำถาม 4 : ใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือก?
    • พิจารณาคุณสมบัติเฉพาะพื้นที่
    • ใช้คะแนน TGAT/TPAT , A-Level หรือวิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
    • ติดตามคะแนนที่ใช้ยื่นได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 5 : รอบโควตาใช้เกรดไหม? ถ้าใช้ GPAX ใช้กี่ภาคเรียน (*ถ้าใช้)
    • ถ้าใช้จะใช้เกรด 5 หรือ 6 ภาคเรียน ม.ปลาย
    • เกรดที่ใช้อาจพิจารณาเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสมัคร หรือใช้เป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในการคัดเลือก
  • คำถาม 6 : ขั้นตอนการคัดเลือกเป็นยังไง?
    • สามารถเลือกสมัครคณะ/สาขา ที่สนใจ ได้ภายหลังจากทราบผลคะแนนสอบ TGAT/TPAT , A-Level
    • ในแต่ละโครงการ/มหาวิทยาลัย จะกำหนดให้เลือกจำนวนคณะได้แตกต่างกัน เช่น บาง ม.ให้เลือกได้ 1 คณะ/สาขาเท่านั้น แต่บาง ม. อาจให้เลือกคณะได้สูงสุด 4 คณะ เป็นต้น
  • คำถาม 7 : มีสถิติข้อมูลคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ให้เปรียบเทียบก่อนสมัครหรือไม่?
    • มีสถิติข้อมูลคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ให้เปรียบเทียบในบางสถาบัน
    • เช่น มช. , มข. , ม.อ. , มน. เป็นต้น
    • แต่สถิติเหล่านี้อาจใช้พิจารณาไม่ได้ เนื่องจากเปลี่ยนชุดข้อสอบเป็น TGAT/TPAT , A-Level
  • คำถาม 8 : รูปแบบคัดเลือก เป็นอย่างไร?
    • สามารถสมัครได้มากกว่า 1 แห่ง
    • มีสิทธิ์ยื่นติดได้มากกว่า 1 แห่ง
    • เลือกยืนยันสิทธิ์ในระบบ mytcas ได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น
  • คำถาม 9 : มีระบบประมวลผลครั้งที่ 2 หรือไม่?
    • ไม่มี
  • คำถาม 10 : ติดแล้วยืนยันสิทธิ์ที่ไหน?
    • เว็บไซต์ mytcas และ/หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย
    • แนะนำดูได้จากประกาศรับสมัครมหาวิทยาลัยที่สนใจ
  • คำถาม 11 : TCAS รอบ2 เหมาะกับใคร?
    • คนที่อยากเรียนใกล้บ้าน มีสิทธิ์คุณสมบัติเฉพาะพื้นที่
    • มีผลคะแนน TGAT/TPAT , A-Level สูงมากพอตามที่คณะ/มหาวิทยาลัยนั้นๆกำหนด

FAQ แนะแนวทำความรู้จัก TCAS รอบ3 แอดมิชชั่น

  • คำถาม 1 : เปิดรับสมัครตอนไหน? เราจะรู้ได้ยังไง?
    • เปิดรับสมัครช่วงวันที่ 7 – 13 พฤษภาคม 65
    • ต้องสมัครและชำระเงินในช่วงวันและเวลาที่กำหนดเท่านั้
    • ติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 2 : ใครบ้าง? ที่มีสิทธิ์สมัครได้
    • เปิดรับน้องๆ วุฒิ ม.6 หรือ วุฒิเทียบเท่า
    • และ “เด็กซิ่ว” มีสิทธิ์สมัครในรอบนี้มากว่า 90%
  • คำถาม 3 : สมัครได้ที่ไหน?
    • สมัครและชำระเงินทางเว็บไซต์ mytcas เท่านั้น
  • คำถาม 4 : ใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือก?
    • ใช้คะแนน TGAT/TPAT , A-Level หรือวิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
    • ติดตามคะแนนที่ใช้ยื่นได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 5 : รอบแอดมิชชั่นใช้เกรดไหม? ถ้าใช้ GPAX ใช้กี่ภาคเรียน (*ถ้าใช้)
    • ถ้าใช้จะใช้เกรด 6 ภาคเรียน ม.ปลาย
    • เกรดที่ใช้อาจพิจารณาเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสมัคร หรือใช้เป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในการคัดเลือก
  • คำถาม 6 : ขั้นตอนการคัดเลือกเป็นยังไง?
    • สามารถเลือกสมัครคณะ/สาขา ที่สนใจได้ภายหลังจากทราบผลคะแนนสอบ TGAT/TPAT , A-Level
    • เลือกคณะ/สาขา ได้สูงสุด 10 อันดับ เลือกยังไงก็ได้
  • คำถาม 7 : มีสถิติข้อมูลคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ให้เปรียบเทียบก่อนสมัครหรือไม่?
    • มีสถิติข้อมูลคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ให้เปรียบเทียบในหลายสถาบัน
    • แต่สถิติเหล่านี้อาจใช้พิจารณาไม่ได้ เนื่องจากเปลี่ยนชุดข้อสอบเป็น TGAT/TPAT , A-Level
  • คำถาม 8 : รูปแบบคัดเลือก เป็นอย่างไร?
    • สามารถสมัครได้สูงสุด 10 คณะ/สาขา
    • มีสิทธิ์สอบติดได้ 1 อันดับเท่านั้น
    • เลือกยืนยันสิทธิ์ในระบบ mytcas ได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น
  • คำถาม 9 : มีระบบประมวลผลครั้งที่ 2 หรือไม่?
    • มีระบบประมวลผลครั้งที่ 2
    • ภายหลังการประกาศผลการคัดเลือกครั้งที่ 1 สามารถกดขอประมวลผลครั้งที่ 2 ได้ก็ต่อเมื่อผ่านการคัดเลือกในอันดับ 2 ถึง 10 เท่านั้น
  • คำถาม 10 : ติดแล้วยืนยันสิทธิ์ที่ไหน?
    • เว็บไซต์ mytcas และ/หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย
    • แนะนำดูได้จากประกาศรับสมัครมหาวิทยาลัยที่สนใจ
  • คำถาม 11 : TCAS รอบ3 เหมาะกับใคร?
    • คนที่ต้องการสอบแข่งขัน แข่งกันด้วยคะแนนล้วนๆ
    • ใครมีคะแนนมากกว่า คนนั้นมีโอกาสสอบติด

FAQ แนะแนวทำความรู้จัก TCAS รอบ4 รับตรงอิสระ

  • คำถาม 1 : เปิดรับสมัครตอนไหน? เราจะรู้ได้ยังไง?
    • เปิดรับสมัครช่วงเดือน มิถุนายน
    • แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน
    • ติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 2 : ใครบ้าง? ที่มีสิทธิ์สมัครได้
    • ส่วนใหญ่จะเปิดรับน้องๆ วุฒิ ม.6 หรือ วุฒิเทียบเท่า
    • ส่วนน้อย (บางคณะ) จะเปิดรับ “เด็กซิ่ว”
  • คำถาม 3 : สมัครได้ที่ไหน?
    • สมัครทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงเท่านั้น
  • คำถาม 4 : ใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือก?
    • ใช้คะแนน TGAT/TPAT , A-Level หรือวิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
    • ติดตามคะแนนที่ใช้ยื่นได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงหรือติดตามจากแอป TCASter
  • คำถาม 5 : รอบรับตรงอิสระใช้เกรดไหม? ถ้าใช้ GPAX ใช้กี่ภาคเรียน (*ถ้าใช้)
    • ถ้าใช้จะใช้เกรด 6 ภาคเรียน ม.ปลาย
    • เกรดที่ใช้อาจพิจารณาเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสมัคร หรือใช้เป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในการคัดเลือก
  • คำถาม 6 : ขั้นตอนการคัดเลือกเป็นยังไง?
    • สามารถเลือกสมัครคณะ/สาขา ที่สนใจ ได้ภายหลังจากทราบผลคะแนนสอบ TGAT/TPAT , A-Level
    • ในแต่ละโครงการ/มหาวิทยาลัย จะกำหนดให้เลือกจำนวนคณะได้แตกต่างกัน เช่น บาง ม.ให้เลือกได้ 1 คณะ/สาขาเท่านั้น แต่บาง ม. อาจให้เลือกคณะได้สูงสุด 4 คณะ เป็นต้น
  • คำถาม 7 : มีสถิติข้อมูลคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ให้เปรียบเทียบก่อนสมัครหรือไม่?
    • ไม่มี
  • คำถาม 8 : รูปแบบคัดเลือก เป็นอย่างไร?
    • สามารถสมัครได้มากกว่า 1 แห่ง
    • มีสิทธิ์ยื่นติดได้มากกว่า 1 แห่ง
    • เลือกยืนยันสิทธิ์ได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น
  • คำถาม 9 : มีระบบประมวลผลครั้งที่ 2 หรือไม่?
    • ไม่มี
  • คำถาม 10 : ติดแล้วยืนยันสิทธิ์ที่ไหน?
    • เว็บไซต์ mytcas และ/หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย
    • แนะนำดูได้จากประกาศรับสมัครมหาวิทยาลัยที่สนใจ
  • คำถาม 11 : TCAS รอบ4 เหมาะกับใคร?
    • คนที่รอเก็บตก จากรอบ 1-3
    • คณะที่เปิดรับอาจเป็นคณะที่มีการแข่งขันไม่สูงมากนัก

ปฏิทินคัดเลือก TCAS66


TCAS66 จัดสอบอะไรบ้าง?

  1. วัดความถนัด (ไม่เน้นเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการ)
    • ความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test: TGAT)
    • ความถนัดวิชาชีพ (Professional Aptitude Test: TPAT)
      • เน้นการวัดความสามารถเชิงทักษะในสายอาชีพ
      • เจาะลึกข้อสอบ TGAT/TPAT อ่านเพิ่มเติม : คลิก
  2. วัดความรู้เชิงวิชาการ (ไม่สอบเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการที่เกินหลักสูตร)
    • ความรู้เชิงประยุกต์ (Applied Knowledge Level: A-Level) = วิชาสามัญ
      • เน้นการนําความรู้เชิงวิชาการที่เรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้งานได้
      • เจาะลึกข้อสอบ A-Level อ่านเพิ่มเติม : คลิก

TCAS66 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง?

  1. ปรับรายวิชาสอบไม่ให้ซ้ำซ้อนและเนื้อหาการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ (A-Level) ไม่เกินหลักสูตร
    • วัดความถนัด เป็น TGAT/TPAT จํานวน 6 วิชา เลือกสอบได้สูงสุด 6 วิชา
    • วัดความรู้เชิงวิชาการ เป็น A-Level จํานวน 16 วิชา เลือกสอบได้สูงสุด 10 วิชา
  2. แยกการสอบ 2 ช่วง เพื่อลดการกระจุกตัวของการสอบในช่วงเดียวกัน โดยแยกการสอบ
    • เดือนธันวาคม 2565 สอบวัดความถนัด (TGAT/TPAT)
    • เดือนมีนาคม 2566 การสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ (A-Level)
  3. การสอบวัดความถนัด (TGAT/TPAT) สามารถเลือกสอบตามความสมัครใจ
    • สามารถเลือกสอบด้วยกระดาษ – PBT (โรงเรียนเป็นสนามสอบ) หรือ
    • สามารถเลือกสอบเครื่องคอมพิวเตอร์– CBT (มหาวิทยาลัยเป็นสนามสอบ)
      • ระบบการสอบเหมือนการสอบ PISA
      • สอบด้วยข้อสอบและวัน-เวลาเดียวกับการสอบด้วยกระดาษ – PBT
      • การประชาสัมพันธ์ระบบสอบรูปแบบใหม่ CBT
      • Video Clip การใช้งานระบบ
      • Mock-up Website แสดงการทํางานของระบบ
      • การฝึกความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าสอบ
      • ระบบเสมือนจริงสําหรับการทดลองระบบสอบที่สนามสอบ
      • ยกเว้นการสอบ TPAT1 ของ กสพท ที่ใช้แบบ PBT เท่านั้น
    • ค่าสมัครสอบเท่ากัน วิชาละ 140 บาท เท่ากัน
    • แต่ CBT ประกาศคะแนนสอบ 3 วันหลังการสอบวิชาสุดท้ายเสร็จ
    • คะแนนสอบวัดความถนัด (TGAT/TPAT) สามารถใช้ในการคัดเลือกรอบ Portfolio ได้
    • วิชา TGAT และ TPAT2 มี 3 ส่วน ประกาศคะแนนแยกส่วน นําไปใช้แยกส่วนได้
  4. การสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ (A-Level)
    • เป็นการสอบด้วยกระดาษ – PBT เท่านั้น
    • ค่าสมัครสอบ วิชาละ 100 บาท
    • วิชา Math1 และ Math2 สามารถสมัครสอบได้ทั้ง 2 วิชา สอบคนละเวลา

ปฏิทินการสอบ TGAT/TPAT ปีการศึกษา 2566


ปฏิทินการสอบ A-Level ปีการศึกษา 2566


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรใหม่ TCAS68 ม.ทักษิณ

172 views

มาแล้ว!! ม.เกษตร รอบ1/2 โครงการช้างเผือก

987 views

มศว รอบ 1 Portfolio เปิดรับ 5 โครงการ!

1,430 views

ลงทะเบียน TCAS68 ระบบ MyTCAS วันไหน ต้องทำยังไง และใช้เอกสารอะไรบ้าง?

89,198 views

ปฏิทิน TCAS68 มศว มาแล้ว เตรียมยื่นพอร์ต เดือนพฤศจิกายนนี้ – TCASter

3,375 views

ม. ธรรมศาสตร์ เปิดเกณฑ์รับรอบ 1 แล้ว! มีคณะอะไรบ้าง ไปดูได้เลย – TCASter

3,002 views