Follow us on

เทคนิคตะลุยโจทย์ข้อสอบ 5 เทคนิคทำข้อสอบเก่า เตรียมสอบยังไงให้ปัง #TCAS65

วันที่โพสต์
สำหรับน้อง #TCAS65 คนไหนที่เริ่มกังวลกับการสอบที่นับวันยิ่งใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ แถมเรียบออนไลน์ก็ยังไม่รู้เรื่อง วันนี้พี่ ๆ TCASter ได้ขุดเทคนิคการเตรียมสอบในส่วนของการทำข้อสอบเก่ายังไงให้ปัง รวมถึง ท้ายบทความยังมีอีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ ฝึกซ้อมได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลย!

เทคนิคที่ 1 จับเวลา และจำลองสถานการณ์

เทคนิคนี้ พี่แนะนำให้เราใช้ประเมินความสามารถของตัวเองในเบื้องต้นก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าวิชานี้ เราได้แค่ไหน บทไหนยังไม่แม่น ข้อสอบแบบไหนที่ต้องไปติวเพิ่ม 

เมื่อเราได้ลองทำเป็น Pre-test ไปแล้ว เราก็มาเริ่มวางแผนตะลุยแต่ละบท บทไหนแม่นแล้วก็ทำพอคร่าวๆ บทไหนยังไม่แม่น และเป็นบทสำคัญให้ตะลุยโจทย์บทนั้นอย่างจริงจัง

จากนั้นจึงทำเป็น Post-test อีกรอบหนึ่ง อาจจะหลังจากผ่านระยะการฝึกฝนไปสัก 1 เดือน เป็นการวัดผลความก้าวหน้าของตัวเองทุกเดือน จะได้รู้ว่าควรจะเก็บบทไหน ควรจะเน้นอะไร

วิธีการจำลองสถานการณ์

  • ตรวจสอบเวลา จำนวนชั่วโมงในการสอบจริงของแต่ละวิชาว่าใช้เวลาเท่าไหร่
  • กำหนดตารางเวลาไว้ในปฏิทิน แล้วห้ามเบี้ยวนะ! คิดเหมือนนับถอยหลังวันสอบจริง
  • หากเป็นไปได้ จัดเวลาให้ตรงกับที่ต้องสอบจริงๆ
  • เตรียมข้อสอบเก่า กระดาษคำตอบเหมือนจริง บัตรประจำตัว เตรียมทุกอย่างให้เหมือนวันสอบ
  • อย่าลืมบอกผู้ปกครองให้เข้าใจ ท่านจะได้ไม่รบกวนเวลาจำลองสถานการณ์
  • จากนั้นทำข้อสอบเก่าให้เต็มที่สุดความสามารถที่มี
  • วัดผลตัวเอง ข้อไหนทำได้ ข้อไหนทำไม่ได้ บทไหนถนัด บทไหนอ่อน
  • ถ้าบทไหนถนัด และออกเยอะ ให้เอาเนื้อหาส่วนนี้ให้แม่น
  • ถ้าบทไหนไม่ถนัด และออกน้อย หากเวลากระชั้นชิดมาก อาจต้องปล่อยไป
  • บทไหนไม่ถนัด ออกเยอะ อาจต้องทุ่มเวลาสักหน่อย เพื่อให้เก็บส่วนนี้ให้ได้

ข้อดีของวิธีนี้

น้องจะไม่ตื่นตระหนกกับการสอบของจริง และรู้จักตัวเองว่าบทไหนทำได้ บทไหนทำไม่ได้จริงๆ เพราะ ในวันจริงจะมีเรื่องของความตื่นเต้น รวมถึงความกดดันที่เพิ่มมากขึ้น การฝึกนี้จะช่วยทำให้เราชินกับสถานการณ์เหล่านี้มากขึ้นนั่นเอง

ข้อเสียของวิธีนี้

หากมีบางสิ่งบางอย่างไม่เป็นใจ อาจทำให้เราล้มเลิกได้ง่าย ควรคิดเสมอว่าทุกครั้งที่จำลองคือการสอบของจริง อย่าให้สนามจริงเป็นแค่การลองสอบครั้งแรก

และการจำลองสถานการณ์ หรือจับเวลา อาจกดดันตัวเองมากเกินไป หากเป็นวิธีที่ใช้แล้วได้ผลก็ใช้ แต่หากทำให้เครียดสะสม ลองหาวิธีอื่นที่เหมาะสมกับตัวเอง

เทคนิคที่ 2 ห้ามใช้ตัวช่วย

ระหว่างการฝึกทำข้อสอบ หรือการลองทำข้อสอบเก่าใด ๆ ก็แล้วแต่ ลองพยายามฝึกคิดด้วยตัวเองก่อน เช่น ลองคิดเลขในใจ หรือคิดเลขเร็วในใจแบบไม่ใช้เครื่องคิดเลขดู เพราะวันสอบจริงน้องไม่มีตัวช่วยให้ใช้อยู่แล้ว ฝึกตัวเองให้คิดให้ได้ ช่วงแรก ๆ อาจจะช้าหน่อย แต่ถ้าหมั่นขยันฝึกฝน น้อง ๆ จะสนุกไปกับการทำข้อสอบเลขแน่นอน

และการใช้ Dictionary ระหว่างทำข้อสอบภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องต้องห้าม ให้น้องใช้วิธีการเดาคำศัพท์ดูครับ ดูจากบริบทรอบข้าง ว่าประโยคนี้เขาหมายถึงอะไร คำศัพท์นี้เราไม่รู้จัก แต่มันน่าจะแปลว่าอะไรได้บ้างนะ

และนอกจากวิธีเดาคำศัพท์ เราอาจจะใช้การอ่านผ่าน ๆ คร่าว ๆ โดยที่ไม่ต้องรู้คำศัพท์ทุกคำเราก็ได้คำตอบที่ถูกต้องอย่างง่ายดาย อย่าไปจมอยู่กับคำศัพท์ที่เราไม่รู้นานล่ะ

ข้อดีของวิธีนี้

น้องจะมีพัฒนาการในการทำข้อสอบ ทำได้ดีขึ้น แกร่งขึ้นเรื่อยๆ ได้พัฒนาความคิดของเรามากขึ้น

ข้อเสียของวิธีนี้

ช่วงแรกน้องอาจหงุดหงิด คันไม้คันมืออยากหยิบ และหงุดหงิดตัวเองที่ทำข้อสอบช้า อาจยังเห็นจำนวนข้อสอบที่ทำได้ไปไม่ถึงไหน แต่ลองดูสักตั้ง น้องจะเห็นพัฒนาการของตัวเอง

เทคนิคที่ 3 ไล่ทำข้อสอบตามปี พ.ศ.

เราทำบันทึกการทำข้อสอบของตัวเองไว้เลยครับ

ข้อสอบอะไร ปีอะไร ทำบันทึกการทำข้อสอบไว้โดยเริ่มไล่ไปตามปี พ.ศ. ล่าสุดครับ โดยลองทำย้อนหลังไปสักไม่เกิน 15 ปี น้องน่าจะพอจับแนวข้อสอบได้ และเห็นความเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

สำหรับพี่ ที่สำคัญคือทำบันทึกไว้ให้เป็นระบบ จะได้ไม่งงเมื่อต้องทำข้อสอบเก่าหลายๆ วิชาเข้า และสำหรับน้อง ๆ ที่ยังหาแหล่งข้อสอบไม่ได้ สามารถเข้าได้จากลิงค์นี้เลย คลิก

ข้อดีของวิธีนี้

เป็นการทำข้อสอบอย่างเป็นระบบ น้องจะเห็นความก้าวหน้าของตัวเอง เช่น เฮ้ย ทำไปได้ 4 ปี 4 ฉบับแล้วนะ อีกทั้งยังเห็นความแตกต่างของข้อสอบแต่ละปี จะฝึกให้ตัวเองเดาทางข้อสอบได้

ข้อเสียของวิธีนี้

อาจรู้สึกเหนื่อยหากเห็นปริมาณข้อสอบที่มี หากน้องท้อง่าย ก็ใช้วิธี หยิบข้อสอบไหนได้ ก็ลุยทำไปโลด พยายามบันทึกไว้บ้าง พยายามทำให้มีแบบแผน ช่วงแรกอาจช้าหน่อย แต่เมื่อเข้ารูปเข้าร่าง น้องจะไปได้เร็วขึ้น

เทคนิคที่ 4 ตรวจข้อสอบ และทบทวนข้อที่ผิด

หลังจากทำข้อสอบเก่าไปได้สักฉบับนึง เมื่อน้องเอามาตรวจ ให้ตรวจอย่างละเอียดว่าเราผิดอะไร ไม่ใช่แค่ตรวจ ก ข ค ง แล้วนับคะแนน

เริ่มแรกพี่อยากให้พยายามเฉลยข้อที่ทำผิดด้วยตัวเองก่อน เพราะจะทำให้เราจำแม่นได้ดีกว่าอ่านเฉลยจากที่มีคนอื่นเฉลยไว้ หลังจากลองเฉลยด้วยตัวเอง จากการเปิดหนังสือบ้าง ทบทวนความรู้บ้าง เราจะจับจุดได้ เผลอๆ อาจพบจุดที่คนอื่นเฉลยไว้ผิดด้วย

ข้อดีของวิธีนี้

รู้จักความสามารถของตัวเองมากขึ้น จำความผิดพลาดของตัวเองได้ดี เพื่อลดการทำข้อเดิมผิดซ้ำซ้อน

ข้อเสียของวิธีนี้

อาจเสียเวลาไปกับการค้นหาข้อมูลเฉลยด้วยตนเองมากเกินไป อาจลองกำหนดเวลาไว้ หากเกินกี่นาที เราก็จะไปดูเฉลยจากที่ติวเตอร์เฉลยไว้ เพื่อให้ประหยัดเวลา

เทคนิคที่ 5 ประเมินความเสี่ยง

เมื่อลองทำข้อสอบไปได้สักระยะ ลองดูครับว่าบทไหนทำยังไงก็ไม่เข้าใจรึเปล่า เวลาที่เหลืออยู่เราจะแก้ไขจุดอ่อนเราตรงนี้ได้หรือไม่ หากแก้ไขไม่ไหวจริงๆ อาจต้องยอมสละบทนี้ทิ้งไป แล้วไปเลือกทำบทที่เรามีการพัฒนามาเรื่อยๆ ครับ เก็บบทที่ไหวให้แม่นจริงๆ

และบางที การที่เราแก้ไขจุดอ่อนของเราไม่ได้ มองไม่เห็นการพัฒนา อาจเป็นมาจากการที่เราพื้นฐานเปราะบางมากเกินไป ลองทุ่มเวลาให้กับบทพื้นฐานให้แน่น จะส่งผลให้บทยากๆ ของเราง่ายขึ้นและมองเห็นการพัฒนา

เช่น ลองทำข้อสอบแคลคูลัสเท่าไหร่ก็ทำคะแนนได้ไม่ดี ลองกลับไปปรับพื้นฐานบทเรขาคณิตวิเคราะห์ หรือหาจุดอ่อนในบทพื้นฐานของแคลคูลัสดูก่อนครับ ปรับพื้นให้แน่น แล้วค่อยก้าวต่อไปในจุดยากๆ

ข้อดีของวิธีนี้

ไม่เสียเวลาไปกับการงมข้อสอบที่เราทำเท่าไหร่ก็ทำได้ไม่ดี วิ่งให้ช้าลง แต่วิ่งได้มั่นคงขึ้น วิ่งได้ยาวกว่า

ข้อเสียของวิธีนี้

หากมองไม่เห็นจุดอ่อนของตัวเอง หรือไม่เคยทำข้อสอบเก่ามาก่อนเลย ก็จะใช้วิธีนี้ไม่ได้ครับ

.

.

ทั้งหมดนี้คือ เทคนิคในการฝึกทำข้อสอบเก่าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่รู้สึกว่าฝึกเองทั้งหมดแล้ว แต่ยังไม่สะใจ วันนี้เรามีอีกหนึ่งงานมาเสนอ นั่นคือ การสอบจำลอง TCASter Mock Exam เป็นการสอบจำลองครั้งใหญ่ของ TCASter ช่วยให้น้อง ๆ ได้เตรียมพร้อมก่อนวันสอบจริง สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ฝึกทำข้อสอบด้วยตัวเองแล้ว อย่าลืมมาฝึกกับ TCASter เพราะการสอบนี้บอกเลยว่าเหมือนจริงมาก ๆ ทั้งบรรยากาศ รวมถึงการออกข้อสอบที่ออกโดยติวเตอร์ชั้นนำ รุ่นพี่ปีก่อน ๆ ที่สอบ TCASter Mock Exam ต้องบอกเลยว่าข้อสอบมีความใกล้เคียงกันมาก ๆ ถ้าสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่นี่เลย (TCASter Mock Exam) 

และสุดท้ายถ้าน้อง ๆ คนไหนกลัวที่จะพลาดข่าวสารการอัปเดตของมหาวิทยาลัย ไม่ต้องห่วง! เพราะว่าแค่โหลดแอป TCASter ติดไว้ในเครื่อง ก็สามารถเช็กข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัยได้แล้ว และในช่วงนี้ที่หลาย ๆ คนกำลังเตรียมตัวเรื่องพอร์ต สามารถเขาไปดูเทคนิคการเตรียมตัวเรื่องพอร์ตได้จากที่นี่เลย ข้อควรรู้ก่อนทำพอร์ต (Portfolio)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรใหม่ TCAS68 ม.ทักษิณ

213 views

มาแล้ว!! ม.เกษตร รอบ1/2 โครงการช้างเผือก

1,074 views

มศว รอบ 1 Portfolio เปิดรับ 5 โครงการ!

1,528 views

ลงทะเบียน TCAS68 ระบบ MyTCAS วันไหน ต้องทำยังไง และใช้เอกสารอะไรบ้าง?

89,575 views

ปฏิทิน TCAS68 มศว มาแล้ว เตรียมยื่นพอร์ต เดือนพฤศจิกายนนี้ – TCASter

3,538 views

ม. ธรรมศาสตร์ เปิดเกณฑ์รับรอบ 1 แล้ว! มีคณะอะไรบ้าง ไปดูได้เลย – TCASter

3,085 views