Follow us on

วิศวะเคมี vs วิศวะปิโตรเลียม ต่างกันยังไง ที่นี่มีคำตอบ! – TCASter

วันที่โพสต์
engineer_chemical_vs_petroleum

เป็นยังไงกันบ้าง ช่วงนี้ใกล้สอบแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะวุ่น ๆ อยู่กับการอ่านหนังสือเตรียมสอบใช่มั้ยน้า และในวันนี้พี่ TCASter ก็มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาให้น้อง ๆ  ที่อยากเข้าคณะนี้กัน ซึ่งหัวข้อในวันนี้ก็คือ วิศวะเคมี vs วิศวะปิโตรเลียม นั่นเอง

1. วิศวะเคมี

เรียนเกี่ยวกับกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ศึกษาหลักการของกระบวนการผลิตต่าง ๆ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่จะเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามต้องการอย่างปลอดภัยและประหยัด รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยง ความปลอดภัย และอุปกรณ์ที่ใช้งานด้วย

อาชีพที่สามารถทำได้ เช่น

  • วิศวกรควบคุมและวางแผนการผลิต
  • วิศวกรออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้

  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. วิศวะปิโตรเลียม

เรียนเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการพัฒนาประเทศ โดยจะศึกษาทั้งในด้านธรณีวิทยา ฟิสิกส์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับความรู้วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเหมืองแร่  ในการสำรวจและขุดเจาะแหล่งพลังงานที่อยู่ใต้พื้นดิน  การคำนวณความคุ้มค่าในการขุดเจาะ การควบคุมดูแลงานตามแท่นขุดเจาะน้ำมัน ก่อนที่จะส่งไปโรงงานแปรรูป

อาชีพที่สามารถทำได้ เช่น

  • วิศวกรปิโตรเลียม

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้

  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและเทคโนโลยีธรณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วิทยาเขตหลัก
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและพลังงานหมุนเวียน (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไม่อยากพลาดข่าวสารการรับสมัคร หรือประกาศสำคัญเกี่ยวกับ TCAS
ติดตามได้ที่ TCASter App แอปฟรี รวมฟีเจอร์เพื่อวัยรุ่นเตรียมสอบ
iOS https://tcaster.info/3P6Lu8h 
Android https://tcaster.info/3PdmxYK

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิธีการจัดอันดับ รอบ 3 TCAS เลือกยังไง? มาดูกัน!- TCASter

432 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 ม.สงขลานครินทร์ – TCASter

903 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มจพ. – TCASter

940 views

รวมคะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในรอบพอร์ต – TCASter

486 views

เทียบคะแนน A-Level TCAS66 vs TCAS67 – TCASter

705 views

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

806 views