Follow us on

รุ่นพี่รีวิว คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด มจธ 4 ปี – TCASter

วันที่โพสต์

ข้อมูล ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2566

Zamploy & Pond TCASter


รีวิวคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด 4 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ถึงเวลาของสาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอีกหนึ่งสาขาที่น้อง ๆ อยากรู้มาไว้ที่นี่แล้ว มาดูกันว่าสาขานี้จะได้เรียนเกี่ยวกับอะไร แล้วระหว่างเรียนมีกิจกรรมอะไรให้ทำบ้าง พร้อมทั้งเทคนิคให้น้อง ๆ ว่าอยากเข้าต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง มาทำความรู้จักกับสาขาวิชาสาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัดผ่านบทความนี้กันค่ะ

.

แนะนำตัว
สวัสดีค่า พี่ปอนด์นะคะ เพิ่งเรียนจบจากคณะวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (Control Systems and Instrumentation Engineering) หรือ INC หลักสูตรปกติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือบางมดนั่นเอง

.

.

ทําไมถึงเลือกเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด ? 
ต้องบอกก่อนเลยว่า ตั้งแต่เด็กจนโตพี่เรียนหลักสูตรวิทย์ – คณิตมาตลอด ทำให้เราต้องชอบสายอาชีพด้านวิทย์ – คณิตนั่นเอง ตอนแรกพี่อยากเรียนแพทย์ แต่พอได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ทำให้คิดว่า เรายังไม่เหมาะกับอาชีพแพทย์ จากนั้นทำให้พี่ก็มาคิดดูว่าตัวเองชอบอะไรอีกบ้าง?

– ทำให้รู้ว่า ตัวเองชอบวิชาฟิสิกส์กับคณิต (ในตอนม.ปลาย เพราะตอนนี้ไม่ชอบวิชาอะไรเลยค่ะ555555) จากนั้นจึงเริ่มหาข้อมูลสายวิศวกรรมศาสตร์ดูว่า ตัวเองชอบสาขาไหน ซึ่งพี่ได้มาเข้าค่ายของคณะ INC ในช่วง ม.5 กับ ม.6 ถึง 2 ปี ทำให้รู้ว่า สาขานี้มีความท้าทายและหลากหลายทางการเรียนมาก ไม่ว่าจะเป็นด้าน Control Systems, Programming, Electronics Circuit Design, Measurement and Instrument ฯลฯ โดยจุดเริ่มต้นในการเลือกสาขานี้

.

มีการหาข้อมูลในการเข้าคณะยังไงบ้าง ?
ตอนนั้นพี่เริ่มจากการเข้าค่ายของคณะเพื่อเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ควบคู่กับการสอบถามจากรุ่นพี่ในคณะว่าคณะนี้เรียนอะไรบ้าง? จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง? เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ จากนั้นได้เริ่มศึกษาคะแนนสอบที่ใช้ยื่นจาก Internet เนื่องจากต้องการจะเข้ารอบ 3 ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวอ่านหนังสือให้พร้อมก่อนไปสอบ

.

มีการเตรียมตัวสอบยังไงบ้าง?
เรียนพิเศษทุกวันเลยค่ะ เลิกเรียนก็ไปเรียนพิเศษทั้ง Online และเรียนตัวต่อตัว โดยมีการฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ ทำให้เราคุ้นเคยกับแนวข้อสอบ รู้เทคนิคการทำโจทย์ รวมไปถึงมีการจัดการเวลาในการทำข้อสอบได้ดี

.

คณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ? 
คณะนี้จะแบ่งออกเป็น งานสายโรงงานกับสาย R&D จากชื่อสาขา “Control Systems and Instrumentation” ก็จะเห็นว่ามีการควบคุมระบบ 

– ตัวอย่างเช่น Smart Home System ก็จะมาออกแบบตั้งแต่วงจรไฟฟ้า เขียนโค้ดการทำงานของแต่ละระบบ ไม่ว่าจะเป็น การเปิด – ปิดไฟอัตโนมัติ ปรับความสว่างของแสงไฟภายในบ้านให้เหมาะสม หรือจะเป็นการปรับระดับม่านอัตโนมัติ รวมไปถึง การทำโมเดลจำลองทำให้เห็นภาพมากขึ้นด้วย และยังมีการควบคุมระบบต่าง ๆ ที่น่าสนใจอีกเยอะเลยค่ะ 

– สำหรับคำว่า “Instrumentation” ก็คือเราจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดต่าง ๆ รวมไปถึง กระบวนการทำงาน ดังนั้น จะเห็นว่าคณะนี้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายมาก ทำให้เราได้ลองคิด และลองทำหลาย ๆ อย่าง เพื่อได่ค้นหาความชอบ ความถนัดของตัวเองไปด้วยพร้อมกัน

.

สิ่งที่น่าสนใจของคณะนี้ ?
สำหรับพี่พี่คิดว่า คณะนี้ทำให้พี่ได้เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นคณะนี้ มีความสำคัญสำหรับยุค 4.0 เนื่องจาก มีการเรียนที่สอดคล้องกันและการลองทำหลาย ๆ สิ่งจากการทำ Project 

– น้อง ๆ จะได้พัฒนาทักษะความรู้ที่ได้เรียนมาผ่านการทำ Project ทั้งยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจอย่าง AI, ML หรือ Data Science ที่มีความจำเป็นในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก

.

มีการฝึกงานไหม ? การฝึกงานแบ่งเป็นสายงานไหนได้บ้าง ?
ทั้งสายโรงงานหรือจะเป็นแนว Developed ก็ได้เลย ส่วนตัวพี่เลือกไปฝึกที่โรงงาน ในตำแหน่ง Automation Engineer ทำให้ได้เห็นหน้างาน หรือ Control Room ตามที่ได้เรียนมา มีการตรวจสอบอุปกรณ์ เช่น วาล์ว แรงดัน อุณหภูมิ แล้วก็ยังรวมไปถึงเก็บข้อมูล Database เพื่ออัปเดตให้เป็นปัจจุบัน ไปจนถึงทำ Application ให้พนักงานที่ตรวจสอบโรงงาน เนื่องจาก มีการปรับเปลี่ยนโรงงานให้เข้าสู่ยุค 4.0 นั่นเองค่ะ

– แต่สำหรับสาย Developer ก็จะสามารถไปฝึกงานแนว Coding เช่น เขียนโค้ด PLC หรือทำ Application รวมไปถึง ทำโมเดลพยากรณ์การขายหรือตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั่นเองค่ะ

.

จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง ? 
สามารถทำได้หลายอาชีพเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Instrument Engineer, Automation Engineer, Software Engineer, Programmer, Developer และอีกมากมายค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ซึ่งอาจจะไปเรียนรู้เพิ่มเติมก็ได้

.

สิ่งที่อยากบอกน้องๆ ถ้าอยากเข้าคณะนี้ต้องเตรียมตัวเจออะไรบ้าง ?
ก่อนอื่นน้อง ๆ ต้องเรียนพื้นฐานทุกตัวเลย ตั้งแต่ เคมี ฟิสิกส์ แคลคูลัส ซึ่งเรียนถึงสามปี ส่วนสำหรับวิชาคณะพี่คิดว่าสนุกมาก แต่ก็ยากเหมือนกัน เพราะให้ความรู้สึกท้าทายอยู่ตลอดเวลา เช่น Programming, Measurement, Control System รวมไปถึงการทำ Project แทบจะทุกเทอมเลย

.

ความรู้สึกหลังจากที่ได้มาเรียนที่นี่ ?
พี่คิดว่า ได้ทั้งความรู้และได้สังคมที่ดีมาก ๆ เลย สภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยก็ถือว่า สงบ มีห้องสมุด หรือ Co-Working Space ให้มานั่งติวหนังสือกับเพื่อนหลายจุด เพื่อนคอยซัพพอร์ตเป็นอย่างดีเลย ในช่วงสอบก็จะมาติวหนังสือกัน อาจารย์ในคณะก็ใจดี น่ารัก ปรึกษาได้ทุกเรื่องเลยค่ะ

.

.

ให้กำลังใจน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้ 🙂
สู้ ๆ นะคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ชอบหรือสนใจคณะนี้ พี่คิดว่า ถ้าชอบแล้วยังไงก็จะสามารถทำออกมาได้ดีค่ะ พี่เป็นกำลังใจให้น้า แล้วก็ฝึกฝนเยอะ ๆ รวมไปถึงอย่าลืม! ดูแลสุขภาพกันด้วยน้า

.

พาตัวเองไปทำกิจกรรม แล้วจะเจอสิ่งที่เหมาะกับเรา

( ปอนด์ – นางสาวชุติมณฑน์ เกษการ)

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลดี ๆ แบบนี้อีกก็อย่าลืมติดตามผ่านเว็บไซต์ TCASter รวมถึงใครที่ต้องการทราบข้อมูลหรือคอนเทนต์น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถติดตามผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ของ TCASter ได้เลย

Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Tiktok

สามารถติดตามข่าวสารการสมัครสอบทุกรอบในระบบ TCAS ได้ง่าย ๆ เพียงแค่กดโหลด App

iOS, Android

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยบูรพา – TCASter

918 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มจธ. – TCASter

930 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ – TCASter

954 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – TCASter

984 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ – TCASter

983 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น – TCASter

993 views