Follow us on

รุ่นพี่วิศวะรีวิวการเตรียมพอร์ต – TCASter

วันที่โพสต์

ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566

Geaw TCASter


ภาควิชาอุตสาหการและเมคคาทรอนิกส์ สาขาเมคคาทรอนิกส์ บางมด

ฮัลโหล ๆ มีน้อง ๆ คนไหนอยากเข้าคณะวิศวะอยู่หรือเปล่า วันนี้พี่พารุ่นพี่วิศวะมาเล่าประสบการณ์การเข้ารอบพอร์ตคณะวิศวะมาให้น้อง ๆ ฟัง แต่รุ่นพี่คนนี้ไม่ได้มาบอกแค่ประสบการณ์เข้ารอบพอร์ต เพราะพี่คนนี้จะมาบอกเทคนิคการเลือกคณะให้กับน้อง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเข้าคณะอะไรด้วย งั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปรู้จักกับรุ่นพี่คนนี้กันเลยดีกว่า

.

แนะนำตัว

สวัสดีค่า พี่ชื่อมิ้นน้า ตอนนี้อยู่ปี 2 เรียนอยู่ที่ภาควิชาอุตสาหการและเมคคาทรอนิกส์ สาขาเมคคาทรอนิกส์ บางมดค้า วันนี้พี่ก็จะมาแชร์ประสบการณ์การเข้ารอบพอร์ตในคณะวิศวะให้น้อง ๆ ฟังกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่เอาประสบการณ์หรือเทคนิคอะไรมาแชร์น้อง ๆ กันบ้าง

 

.

How to การเตรียมพอร์ตของพี่มิ้น

พี่จะเน้นไปหากิจกรรมนอกโรงเรียนเป็นหลัก เช่น พวกค่ายแนะแนว หรือพวก Open house เพราะการไปค่ายพวกนี้เราจะได้ทั้งผลงาน และเกียรติบัตรติดมือกลับมาด้วย แล้วที่สำคัญการที่เราหาค่ายไปบ่อย ๆ มันก็จะแสดงให้อาจารย์เห็นอีกว่าเรารู้จักที่จะไปขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม แต่อีกจุดสำคัญคือ พี่อยากเข้าบางมด ค่ายที่พี่ไปพี่จะเลือกไปค่ายในเครือสามพระจอมเป็นหลัก เพราะพี่อยากให้อาจารย์เห็นว่าพี่อยากสนใจที่จะเข้ามหาวิทยาลัยในเครือสามพระจอมจริง ๆ รวมถึงพี่ยังมีการไปเข้าค่ายพวกจิตอาสาเพิ่มเติมด้วย เพราะพี่คิดว่าเราจะเก่งแต่วิชาการไม่ได้ เราจะต้องเข้าสังคมได้ด้วย ดังนั้นนอกจากการใส่ผลงานที่เกี่ยวกับคณะ พี่ก็จะใส่กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมในโรงเรียนเข้าไปด้วย เพื่อแสดงว่าเราสามารถอยู่ร่วมกับทุก ๆ สังคมได้ 

 

.

พี่มิ้นอยากเตือนอะไรน้อง ๆ ที่กำลังยื่นพอร์ต

จริง ๆ เรื่องที่พี่อยากเตือนเป็นพิเศษจะเป็นเรื่องการรีบหาคณะที่ตัวเองอยากเข้าให้ได้เร็ว ๆ เพราะพี่เป็นหนึ่งในคนที่ในตอนนั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนคณะอะไร แล้วสิ่งที่พี่ทำในตอนนั้นคือ เข้าค่ายไปเรื่อย ค่ายไหนเปิดพี่ไปหมด เพราะอยากไปเก็บเกียรติบัตรเยอะ ๆ มีผลงานเยอะ ๆ แต่สุดท้ายก็ใช้ไม่ได้อยู่ดี5555555 เพราะว่าในช่วงใกล้ ๆ ยื่นพอร์ตพี่ก็พึ่งมารู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเองชอบอะไร แต่พวกเกียรติบัตรที่พี่ไปตามเก็บมามันดันไม่เกี่ยวกับคณะที่พี่จะยื่นเลย ถึงยื่นไปอาจารย์ก็ไม่ดูอยู่ดี นั้นแหละ มันเลยทำให้พี่รู้สึกว่ายิ่งหาตัวตนเราได้ไวมากแค่ไหน เป้าหมายเราจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น แล้วมันจะทำให้น้อง ๆ จะใช้เวลาในการเตรียมตัวได้คุ้มค่ามากแน่นอน เพราะสิ่งที่น้อง ๆ ลงมือทำไปมันจะตรงกับเป้าหมายของน้องแน่นอน กับอีกอย่างที่พี่อยากเตือนคือเรื่องเกรด พยายามรักษาให้มันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่ตลอด เพราะจากประสบการณ์จริงของพี่ เกรดบางวิชาของพี่ผ่านเกณฑ์มา แต่ผ่านมาแบบเฉียดฉิว น้อง ๆ อย่าคิดนะว่าเกรดผ่านเกณฑ์แล้วอาจารย์เขาจะไม่สนใจ ถ้ามันเลยเกณฑ์มานิดเดียวอย่างพี่ อาจารย์เขาจะถามแน่นอนว่าทำไมเกรดเราได้เท่านี้ มันยากเหรอ แล้วเข้ามาจะเรียนไหวมั้ย เพราะพี่เจอมากับตัวเลย ดังนั้นรีบหาตัวตนของน้อง ๆ ให้เจอแล้วพยายามรักษาทั้งเกรดและเก็บพอร์ตดี ๆ 

 

 

.

อยากให้พี่มิ้นแนะนำน้อง ๆ ที่ไม่รู้ว่าตัวเองอยากเข้าคณะอะไรหน่อย

 จริง ๆ อันนี้เป็นปัญหายอดฮิตมากเลยนะ เพราะขนาดรุ่นพี่บางคนที่เข้ามหาวิทยาลัยไปแล้ว เขายังไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบอะไรเลย ดังนั้นน้อง ๆ ที่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรสักทีก็ไม่ต้องเศร้าไปเพราะมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติเลย แต่สำหรับพี่ในตอนนี้ พี่ก็คงจะแนะนำได้แค่ว่า หาให้ได้ก่อนว่าเราชอบเรียนวิชาอะไร ไม่ชอบวิชาอะไร แล้วลองมาหามหาวิยาลัยสักทีที่เราสนใจที่สุด หลังจากนั้นก็ลองหาดูว่ามีคณะไหนที่ใช้วิชาที่เราชอบในการสอนและสอบเข้า เพราะพี่คิดว่าการที่เราชอบในสิ่งไหน ถ้าเราเลือกไปอยู่ในที่ ๆ มีสิ่งนั้นอยู่ด้วยอย่างน้อยมันก็น่าจะทำให้เรามีความสุขกับการเรียนของเราได้ในระดับนึง รวมถึงถ้าน้อง ๆ พอจะรู้แล้วว่าเราชอบวิชาไหน มันก็จะเริ่มเป็นแนวทางให้เราแล้วว่าจริง ๆ เราชอบอะไร อยากเข้าคณะอะไร

 

 

.

อยากฝากอะไรถึงน้อง ๆ ที่อยากเข้าวิศวะ

จริง ๆ ขึ้นชื่อว่าวิศวะ ไม่ว่าจะภาคอะไร สาขาอะไร น้อง ๆ หลายคนคงคิดว่ามันคงจะเข้ายากมากแน่ ๆ ซึ่งมันก็ยากจริง ๆ นั้นแหละเพราะถ้าบอก่าไม่ยากก็คงเหมือนโกหก แต่วิศวะก็ไม่ได้เข้ายากกว่าคณะอื่น ๆ มากขนาดนั้นหรอก ทุกคณะมันมีความยากในตัวของมันอยู่ ใครที่กลัวว่าวิศวะดูใช้คะแนนเยอะ ต้องเข้ายากมากแน่ ๆ แล้วถอดใจไปแล้ว พี่อยากบอกว่าอย่าด้อยค่าว่าตัวเองจะเข้าไม่ได้ อย่ากลัวที่จะลองพยายาม ถ้าอยากคิดอยากเข้าวิศวะหรือคณะอะไรก็ตามถ้าตั้งใจจริง ๆ มันไม่ยากเกินความสามารถน้อง ๆ แน่นอน ท่องไว้ว่าถ้าเราได้เข้ามาในคณะที่เราอยากเรียนจนได้ เราจะภูมิใจและมี Passion ในการเรียนมากอย่างแน่นอน ดังนั้นพี่ก็ขอให้น้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะอะไรก็ตาม สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จและสำหรับน้องที่อยากเข้าวิศวะพี่ ๆ ทุกคนรอน้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในคณะวิศวะอยู่นะค้า สู้ ๆ ค่า

.

ก็จบไปแล้วนะคะกับการฟังประสบการณ์และเทคนิคการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยจากพี่มิ้น พี่ ๆ ก็หวังให้น้องทุกคนที่อ่านบทความนี้ได้รับข้อคิดดี ๆ กลับไปนะคะ สุดท้ายพี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนที่กำลังเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยให้ทำตามความฝันของน้องสำเร็จให้ได้นะคะ และจำไว้ว่า ถ้าเราอยากทำอะไร อยากเข้าอะไร ทำให้เต็มที่อย่าไปกลัว สู้ ๆ นะคะ

.

 
อายุไม่สำคัญ ใจเท่านั้นที่การันตี

(มิ้น – ปภาวรินท์ อริยะเมธาสวัสดิ์)

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลดี ๆ แบบนี้อีกก็อย่าลืมติดตามผ่านเว็บไซต์ TCASter รวมถึงใครที่ต้องการทราบข้อมูลหรือคอนเทนต์น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถติดตามผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ของ TCASter ได้เลย

Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Tiktok

สามารถติดตามข่าวสารการสมัครสอบทุกรอบในระบบ TCAS ได้ง่าย ๆ เพียงแค่กดโหลด App

iOS, Android

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมคะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในรอบพอร์ต – TCASter

403 views

เทียบคะแนน A-Level TCAS66 vs TCAS67 – TCASter

527 views

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

608 views

5 ขั้นตอนใช้งาน TCASter App ฟีเจอร์ “ประเมินโอกาสสอบติด” – TCASter

650 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร – TCASter

969 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – TCASter

947 views