Follow us on

คณะประมง ไม่ได้มีแค่จับปลา ต้องเรียนอะไรบ้าง ทำความรู้จักไปพร้อมกัน – TCASter

วันที่โพสต์

ข้อมูล ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2566

Geaw TCASter


น้อง ๆ คนไหนมีความฝันที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำนานาชนิดบ้าง ถ้าน้อง ๆ เป็นหนึ่งในนั้น พี่เชื่อว่าเราจะต้องรู้จักคณะประมงกันแน่ ๆ ดังนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักคณะประมงไปพร้อม ๆ กันว่าที่คณะนี้มีเรียนอะไรบ้าง จบไปเป็นอะไรได้บ้าง เพื่อให้น้อง ๆ ได้ลองอ่าน และเช็กตัวเองอีกครั้งว่าเราอยากเข้าในคณะนี้จริง ๆ หรือเปล่า งั้นถ้าพร้อมแล้ว พี่จะพาน้อง ๆ เข้าสู่โลกของคณะประมงกันเลย เย้

.

 

 

คณะประมง เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

 

 

น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเลตั้งแต่ชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไป ไปจนถึงชนิดที่หายาก เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของสัตว์ทะเลทุกชนิด รวมถึงการใช้อุปกรณ์ การเก็บรักษาอุปกรณ์ การเก็บตัวอย่าง และนำมาวิเคราะห์ค่า แถมยังได้เรียนรู้และลองใช้เครื่องมือของชาวประมงพื้นบ้านอีกด้วย

 

 

 

คณะประมงจะเรียนทั้งหมด 4 ปี โดยในแต่ละปีจะแบ่งเนื้อหาออกได้ ดังนี้

 

 

ปี 1 จะเริ่มเรียนพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับคณะ และเรียนวิชาพื้นฐานอย่าง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ

 

ปี 2 จะมีวิชาที่เริ่มเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในสายามากขึ้น รวมทั้งจะมีวิชาที่เกี่ยวกับมีนวิทยามาเกี่ยวข้องมากขึ้น โดยจะศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา เป็นต้น

 

ปี 3 จะเรียนเนื้อหาที่ลงลึกในสาขาวิชามากขึ้น ทั้งในเรื่องของสัตว์ทะเลต่าง ๆ รวมถึงการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

 

ปี 4 จะเน้นเรียนเนื้อหาเชิงปฏิบัติ และการเรียนองค์ประกอบโดยรวมทั้งหมดของการประมง โดยจะประยุกต์จากวิชาที่ได้เรียนมาทั้งหมด ก็คือจะต้องนำความรู้ตั้งแต่ปี 1 มาประยุกต์ใช้ในปี 4 นั่นเอง

 

 

 

จบคณะประมงไป ทำงานอะไรได้บ้าง ?

 

ใครที่คิดว่าจบประมงไปแล้วทำได้แค่จับปลา พี่บอกเลยว่าคิดผิดอย่างแรง เพราะถ้าเราเรียนจบจากคณะประมงไป เราจะมีหลากหลายอาชีพที่สามารถทำได้มากมายเลย วันนี้พี่เลยจะยกตัวอย่างส่วนหนึ่งของอาชีพที่เด็กคณะประมงสามารถทำได้ในอนาคต จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

 

ข้าราชการ,เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ

กรมประมง, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรมควบคุมมลพิษ, กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

 

นักวิชาการ

นักอนุรักษ์, นักวิชาการประมง, นักวิจัย, นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์, นักวิชาการฟาร์ม, ครูอาจารย์ เป็นต้น

 

เจ้าของกิจการ และอื่นๆ

ธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด, ธุรกิจฟาร์มปลาสวยงาม, นักดำน้ำ, ธุรกิจท่องเที่ยว, แปรรูปผลิตภัณฑ์, พนักงานส่งเสริมการขายสัตว์น้ำ อาหาร และเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางการประมงและการเกษตร, นักวิชาการฟาร์ม, ผู้จัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, เจ้าหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิตสัตว์น้ำ, เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพฟาร์ม, เจ้าหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจการประมงและการเกษตร, นักธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลาสวยงาม และพรรณไม้น้ำ, ผู้ประกอบอาชีพอิสระและธุรกิจส่วนตัวด้านการประมง เป็นต้น

 

 

 

อยากเรียนประมง มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง ?

 

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถ้าพูดถึงคณะประมง พี่ขอลงรายละเอียดไปที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหลักก่อนเลย เพราะว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านประมงโดยตรง ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จะเป็นสาขาวิชาย่อยอยู่ในคณะอื่น ๆ อย่างคณะเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร หรือ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เป็นต้น

 

 

 

คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ มีกี่ภาควิชา ?

ตอนนี้คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ เปิดสอน 5 ภาควิชาด้วยกัน ได้แก่

 

 

  1. ภาควิชาการจัดการประมง

ภาควิชานี้จะเน้นเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรให้ใช้ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเรียนเศรษฐศาสตร์ สังคม และนิติศาสตร์ เช่น การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ, เศรษฐศาสตร์การประมง เป็นต้น

 

  1. ภาควิชาชีววิทยาประมง

ภาคนี้จะเน้นเรียนด้านวิทยาศาสตร์ โดยจะเรียนเกี่ยวกับพวกระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ รวมถึงเรียนความสัมพันธ์ และบทบาทของสิ่งมีชีวิต เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ, ชีวประวัติสัตว์น้ำและพลศาสตร์การประมง เป็นต้น

 

  1. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ภาคนี้จะเรียนเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุกรรม รวมถึงวิธีการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น การวิเคราะห์คุณภาพน้ำและอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น

 

  1. ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

ภาคนี้จะเรียนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อาหาร การใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมในการแปรรูป รวมถึงการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และวิธีการบริหารโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

 

  1. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ภาคนี้จะเน้นไปที่ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้เทคโนโลยีในการจับสัตว์น้ำในทะเล เช่น นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น

 

 

โดยถ้าน้อง ๆ เรียนคณะประมงที่ ม.เกษตรศาสตร์ น้องจะไม่ได้เรียนรู้แค่ในห้องเรียนอย่างเดียว แต่น้อง ๆ จะได้ไปเรียนรู้การทำงานจริงในฟาร์มปลา หรือได้ไปเรียนรู้ที่สถาบันวิจัยทางทะเล อีกด้วย

 

 

 

มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เปิดสอน สาขาวิชาประมง

 

 

  • คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.ku.ac.th/th/faculty-of-fisheries/

 

 

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://fna.csc.ku.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://ag.ksu.ac.th/

 

 

  •  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://admissions.kku.ac.th/faculty/ag/

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม :  https://www.nkc.kku.ac.th/nkc2021/site/view?id=1220

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.chula.ac.th/academic/faculty-of-science/

 

 

  • คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.agri.cmu.ac.th/2017

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://sci.tsu.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://curriculum.kmitl.ac.th/faculty/agri/

 

 

  • คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://agri.rmutto.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.agr.rmutt.ac.th/

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://sat.rmutl.ac.th/

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.rmutsv.ac.th/th/facultyfishtech

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://agri.rmutsb.ac.th/

 

 

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://natres.skc.rmuti.ac.th/?page_id=2880

 

 

  • คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://fat.surin.rmuti.ac.th/web/

 

 

  • คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://ww2.agi.nu.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://marine.chanthaburi.buu.ac.th/

 

 

  • คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.agri.up.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://techno.msu.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.fishtech.mju.ac.th/WEB/m2023/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://ait.nsru.ac.th/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.pbru.ac.th/pbru/agriculture

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://agritech.pkru.ac.th/

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://science.yru.ac.th/smc/

 

 

  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://agri.skru.ac.th/agri2020/

 

 

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://sci.sru.ac.th/

 

 

  • สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://engineer.wu.ac.th/?page_id=13448&lang=en

 

 

  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.asat2.su.ac.th/

 

 

  • คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://natres.psu.ac.th/main/

 

 

  • คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.agri.ubu.ac.th/

 

 

.

ก็จบไปแล้วนะคะกับพูดถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคณะประมง น่าสนใจไม่แพ้คณะอื่น ๆ เลยใช่ไหมล่ะ ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่สนใจอยากจะเข้าในคณะนี้ก็อย่าลืมเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ มีวินัยในการอ่านหนังสือ เพื่อที่จะได้เข้าไปเรียนในคณะที่เราอยากเรียนตามที่หวังกันเอาไว้น้า สุดท้ายนี้พี่ก็ขอเป็นกำลังใจในการอ่านหนังสือให้น้อง ๆ ทุกคนนะคะ สู้ ๆ ค่า

.

.

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลดี ๆ แบบนี้อีกก็อย่าลืมติดตามผ่านเว็บไซต์ TCASter รวมถึงใครที่ต้องการทราบข้อมูลหรือคอนเทนต์น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถติดตามผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ของ TCASter ได้เลย

Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Tiktok

สามารถติดตามข่าวสารการสมัครสอบทุกรอบในระบบ TCAS ได้ง่าย ๆ เพียงแค่กดโหลด App

iOS, Android

สู้ๆทุกคน ทำให้เต็มที่ เป็นกำลังใจให้นะค้าาาา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมคะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในรอบพอร์ต – TCASter

386 views

เทียบคะแนน A-Level TCAS66 vs TCAS67 – TCASter

472 views

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

566 views

5 ขั้นตอนใช้งาน TCASter App ฟีเจอร์ “ประเมินโอกาสสอบติด” – TCASter

625 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร – TCASter

956 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – TCASter

937 views