Follow us on

แจกพิกัด 9 วัดเสริมดวงทั่วกรุงเทพฯ เสริมความเป็นสิริมงคลรับปี 2567 มาดูกัน! – TCASter

วันที่โพสต์
ปกบทความ Vol.2 (11)

ข้อมูล ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567

Zamploy TCASter


ใกล้จะถึงรอบ 3 (Admission) แล้ว แต่ยังไม่มั่นใจในตัวเองเลย ลองมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันหน่อย วันนี้พี่ ๆ จะมาแจกพิกัด 9 วัดเสริมดวงทั่วกรุงเทพฯ เสริมความเป็นสิริมงคลรับปี 2567 จะมีที่ไหนบ้าง? มาดูกัน!

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

  วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดหลวงที่สำคัญในพระราชพิธีต่างๆ ที่สร้างขึ้นในพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.2325 สมัยรัชกาลที่ 1 ค่ะ โดยเป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

  • ที่อยู่ : ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 10200
  • เปิดเวลา 08.30 – 15.30 น.

——————————-

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อวัดโพธาราม ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดโพธิ์” เป็นวัดโบราณราษฎรสร้างระหว่าง ปี พ.ศ. 2231-2246 ในรัชกาลพระเพทราชา สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารมหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา

  • ที่อยู่ : แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น.

———————————

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

   วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหารราชวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และเป็นวัดประจำ 2 รัชกาลของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ระหว่าง ถนนตะนาว และ ถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ วัดใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดรังษีสุทธาวาส แต่แล้วก็ได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกันโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ใน รัชกาลที่ 3 และมีการทำนุบำรุง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมาจนถึงสมัย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงมาประทับ และก่อตั้ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้น รวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างเสริมถาวรวัตถุไว้มากมาย

  • ที่อยู่ : 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น.

———————————-

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2412 ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ เป็นแม่กองอำนวยการก่อสร้าง และเนื่องจากเป็นวัดที่มีมหาสีมาตั้งที่กำแพงวัดทั้ง 8 ทิศ อีกทั้งยังเป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างขึ้น และนั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ พระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ พระวิหารคต วิหารมุข ศาลาราย ตลอดไปจนถึงสุสานหลวง และเป็นอีกหนึ่งวัดที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงเป็นวัดที่เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์รวมถึงพระองค์ปัจจุบัน

  • ที่อยู่ : 2 ถนนเฟื่องนคร แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
  • เปิดเวลา 06.00 – 18.00 น.

———————————

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม สร้างขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ. 2350-2351 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของ พระศรีศากยมุนี หรือ พระโต พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์พระร่วงของยุคสุโขทัยที่อันเชิญมาจาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ทว่าพระวิหารยังไม่ทันสร้างเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ผู้คนจึงเรียกวัดแห่งนี้ด้วยนามที่เรียบง่ายว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือ วัดเสาชิงช้า

     หลังสิ้นรัชกาลที่ 1 วัดแห่งนี้ก็ได้มีการสร้างต่อเติมเรื่อยมาจนกระทั่งแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ สัตตมหาสถาน และกุฏิสำนักสงฆ์เพื่อประดิษฐานสังฆาราม หลังจากนั้นก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็น วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน

  • ที่อยู่ : 146 ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ
  • เปิดเวลา 08.30 – 18.00 น.

———————————-

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

 วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า ” วัดมะกอก ” แล้วเปลี่ยนมาเป็น “ วัดแจ้ง ” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และต่อมาสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ วัดอรุณราชธาราม ” และต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “ วัดอรุณราชวราราม ” มีชื่อเต็มว่า “ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ” มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร อยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ครั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

  • ที่อยู่ :  34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ; เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
  • เปิดเวลา 08.00 – 18.00 น.

————————–

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราราชวรวิหาร

 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งอยู่ที่ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ค่ะ แต่เดิมนั้นมีชื่อว่า วัดแหลม หรือ วัดไทร ทอง และไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ต่อมาในภายหลังได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้

  • ที่อยู่ : 69 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
  • เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น.

—————————

วัดปากน้ำภาษีเจริญ

     วัดปากน้ำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ระหว่าง พ.ศ. 2031-2172) ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

  • ที่อยู่ : 300 ซอยรัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
  • เปิดเวลา 08.00 – 18.00 น.

—————————

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง)

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสระเกศ หรือที่เรียกกันว่า วัดภูเขาทอง เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อก่อนนั้นมีชื่อว่า วัดสะแก ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 1 โปรดให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามให้ใหม่ว่า วัดสระเกศ ที่แปลว่า ชำระพระเกศา นั่นเองค่ะ เพราะวัดนี้เคยเป็นที่สำหรับทำพิธีพระกระยาสนาน (อาบน้ำ) เมื่อตอนเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2325

  • ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพมหานคร
  • เปิดเวลา 07.00 – 19.00 น.

ถ้าเลือกไม่ได้ว่าจะไปที่ไหนดี เซฟไว้ก่อนได้เลยนะ ลองหาสถานที่ที่ใกล้บ้านก่อนแล้ว อย่าลืม ไหว้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ด้วยนะ แต่อย่าลืมแบ่งให้เพื่อนในกลุ่มด้วยนะ และสุดท้ายสำหรับวัยรุ่นสายมูที่ไม่อยากพลาดบทความดูดวง สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่

Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Tiktok

สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับระบบ TCAS ได้ง่าย ๆ เพียงแค่กดโหลด App

iOS, Android

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 ม.สงขลานครินทร์ – TCASter

888 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มจพ. – TCASter

924 views

รวมคะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในรอบพอร์ต – TCASter

471 views

เทียบคะแนน A-Level TCAS66 vs TCAS67 – TCASter

684 views

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

772 views

5 ขั้นตอนใช้งาน TCASter App ฟีเจอร์ “ประเมินโอกาสสอบติด” – TCASter

785 views