Follow us on

อยู่บ้าน หยุดกิน(เยอะ) เพื่อสุขภาพ

วันที่โพสต์

อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ…แต่ทำไมหยุดกินไม่ได้เลย!! อันนั้นก็น่ากิน อันนี้ก็น่ากิน อยากกินอะไรก็กดสั่งได้ง่ายนิดเดียว ความรู้สึกพวกนี้น้อง ๆ คุ้นกันบ้างไหม ยิ่งอยู่บ้านความเบื่อของคนเรายิ่งเพิ่มมากขึ้น บวกกับความเครียดที่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมเดิม ๆ หรือการทำกิจกรรมเดิม ๆ ทำให้เราอาจหาทางออกโดยการใช้ของกินเพื่อสนองความอยากของตนเอง ยิ่งกินยิ่งมีความสุข…แน่นอนว่าการกินไม่ใช่เรื่องผิด แต่ว่าจะกินอย่างไรให้ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตของเรานี่สิ คือสิ่งที่น้อง ๆ ควรทำ วันนี้พี่ได้รวมทริคที่จะช่วยให้น้อง ๆ ลองนำไปปรับแล้วทำตาม เผื่อ COVID-19 หมดจะได้ออกไปอวดหุ่นสวยสุขภาพดีกัน!

  1. การแบ่งกินมื้อเล็ก ๆ การกินมื้อเล็ก ๆ แต่เพิ่มจาก 3 มื้อ/วัน เป็น 6 มื้อ/วัน วิธีนี้เหมาะกับน้อง ๆ ที่ห้ามใจตัวเองในการกินจุกจิกไม่ค่อยได้ หรือน้องๆที่หิวบ่อย สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้ โดยเราจะแบ่งปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง และเพิ่มมื้ออาหารในการกินมากขึ้น หรือ สามารถจัดข้าวให้อยู่ในอาหารมื้อหลัก และเลือกผลไม้ให้อยู่ในอาหารมื้อลอง
  2. อย่าซื้อเผื่อ นิสัยที่ไปร้านค้าแล้วเหมาขนมมาเผื่อ 1 อาทิตย์ต้องพักก่อน น้อง ๆ หลายคนอาจมีความคิดที่ว่านาน ๆ มาทีซื้อเผื่อเยอะ ๆ ไปเลยดีกว่า สำหรับน้อง ๆ ที่ควบคุมการกินขนมของตัวเองได้วิธีนี้ก็สามารถข้ามไปได้เลย แต่พี่เชื่อว่ายังคงมีน้อง ๆ ที่จะซื้อเผื่อ 1 อาทิตย์แต่หมดภายในวันเดียว ดังนั้น การที่เราซื้อเฉพาะตอนอยากกินอาจช่วยให้ความอยากเราลดลงเพราะว่าต้องใช้เวลาก็ได้นะ
  3. น้ำเปล่า การจิบน้ำเปล่าจะช่วยให้เราอยู่ท้องมากขึ้น น้ำเปล่า คือ อาวุธสำคัญที่จะช่วยลดความอยากอาหารให้น้อง ๆ และ ยังช่วยให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึงไม่มีแคลอรี่มากวนใจด้วย ในทางตรงข้าม น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มโซดาต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร รวมถึงแคลอรี่และน้ำตาลที่มีมาก หากดื่มก็ทำให้อ้วนได้
  4. อย่ากินไปดูไป การกินไปดูไปยิ่งทำให้น้อง ๆ เพลิดเพลินกับการกินอาหารมากขึ้น ยิ่งเพ่งสมาธิไปกับการดูสื่อมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มีสมาธิในการกินลดลง ส่งผลให้เรากิินให้เยอะขึ้นนั่นเอง
  5. หยุดดูรีวิวอาหารตอนกลางคืน การดูไม่ใช่เรื่องผิดแต่หากน้อง ๆ เป็นคนที่ห้ามตัวเองไม่ได้ ก็ควรเลือกดูตามเวลาที่เหมาะสม ช่วยกลางคืนเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการการพักผ่อน และเป็นช่วงที่ใช้พลังงานน้อย การดูรีวิวอาหารอาจทำให้น้อง ๆ เกิดการอยากอาหารกลางดึก และวู่วามไปเปิดตู้เย็นได้
  6. หางานอดิเรกใหม่ ๆ ยิ่งเครียดยิ่งกิน! ความเบื่อที่ต้องอยู่บ้านอาจทำให้น้อง ๆ ไปลงความอยากกับของกิน การหางานอดิเรกที่ยังไม่เคยทำจะช่วยให้น้อง ๆ ใช้เวลาว่างกับงานนั้นมากขึ้น ขอเตือนว่าไม่ควรเป็นงานที่ทำให้เกิดความเครียด ควรช่วยผ่อนคลาย
  7. ลองเปลี่ยนขนมเป็นผลไม้ ขนมขบเคี้ยวนอกจากมี ไขมัน น้ำตาล ก็ยังมีโซเดียมที่จะส่งผลต่อร่างกายน้อง ๆ หากได้รับการบริโภคที่มากเกินไป ลองปรับนิสัยจากที่ต้องมีขนมติดบ้านเปลี่ยนเป็นผลไม้ตามฤดูกาลจะช่วยให้น้อง ๆ มีสุขภาพที่ดี ได้รับวิตามินและน้ำตาลจากธรรมชาติ แต่ผลไม้บางชนิดก็ไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป เพราะปริมาณน้ำตาลและแป้งที่อยู่ในเนื้อของผลไม้นั่นเอง

Dried Beans, Nuts, Cheese, Snack, White

พฤติกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันระยะยาวส่งผลต่อความเคยชิน ทำให้การกินในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น และไม่ออกกำลังกายเป็นเรื่องปกติ ทำให้ร่างกายของน้อง ๆ อ่อนแอลงได้ บวกกับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นแบบไม่รู้ตัว อย่าลืมว่าการกินไม่ใช่เรื่องผิด แต่ว่าน้อง ๆ ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม มากไปหรือน้อยไปไม่ใช่เรื่องดี และอย่าลืมการออกกำลังกายใช้พลังงานเพื่อสุขภาพด้วยนะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรใหม่ TCAS68 ม.ทักษิณ

678 views

มาแล้ว!! ม.เกษตร รอบ1/2 โครงการช้างเผือก

2,276 views

มศว รอบ 1 Portfolio เปิดรับ 5 โครงการ!

2,537 views

ลงทะเบียน TCAS68 ระบบ MyTCAS วันไหน ต้องทำยังไง และใช้เอกสารอะไรบ้าง?

91,717 views

ปฏิทิน TCAS68 มศว มาแล้ว เตรียมยื่นพอร์ต เดือนพฤศจิกายนนี้ – TCASter

5,407 views

ม. ธรรมศาสตร์ เปิดเกณฑ์รับรอบ 1 แล้ว! มีคณะอะไรบ้าง ไปดูได้เลย – TCASter

3,990 views