Follow us on

คณะเภสัชศาสตร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

No data was found
ข้อมูลคณะ

เนื้อหาการเรียน

ปี 1 – ปี 2
จะเป็นการศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ปี 3 – ปี 4
จะมีการศึกษาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และจุลชีววิทยานอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และการฝึกงาน

ปี 5 – ปี 6
ได้ศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่เลือกลึกเฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้เกิดเป็นความชำนาญและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฎิบัติงาน

รายละเอียดของคณะ

เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับยา การบำบัด บรรเทาต่าง ๆ ตั้งแต่การศึกษา ค้นคว้ากระบวนการผลิต การเก็บรักษา การจ่ายยาให้เหมาะกับผู้ใช้ การแนะนำวิธีการใช้อย่างถูกต้องตามอาการ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ จะได้เรียนเนื้อหาทั้งหมดตลอดหลักสูตร 6 ปี

  1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)
    เน้นการศึกษาด้านการผลิต ค้นคว้า และการควบคุมคุณภาพของยา เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน
  2. สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) เน้นด้านบริบาลเภสัชกรรม ต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย รวมถึงการแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีรับประทานและใช้ยาอย่างถูกต้อง

การสอบเข้า

แผนการเรียน: วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX): ไม่ต่ำกว่า 3.00

คะแนนที่ใช้สอบ
ก่อนอื่นทำความรู้จักกับ กสพท คือ “กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย”
จะมีการสอบที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วิชาความถนัดแพทย์ และวิชา A-Level

คิดเป็นสัดส่วนคือ วิชาความถนัดแพทย์ (กสพท หรือ TPAT1) = 30%

จะประกอบด้วย 3 พาร์ท ได้แก่
– จริยธรรมแพทย์
– เชาวน์ปัญญา
– พาร์ทเชื่อมโยง

วิชา A-Level (วิชาสามัญ) = 70% (โดย A-Level แต่ละวิชา ควรได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30)

จะประกอบด้วย  7 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ประยุกต์1 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา

สถาบันที่เปิดสอน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยพะเยา

อาชีพในอนาคต

  • เภสัชกรการอุตสาหกรรม (ยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และฝ่ายขึ้นทะเบียน
  • เภสัชกรโรงพยาบาล (เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา, เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาด้านยา, เภสัชกรผู้เตรียมและผลิตยาในโรงพยาบาล, เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานจัดหายา คลังยา และเวชภัณฑ์, เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานข้อมูลยา)
  • เภสัชกรชุมชน (เภสัชกรร้านยา, เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ)
  • เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
  • เภสัชกรการศึกษา
  • เภสัชกรในฐานะผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
  • เภสัชกรการตลาด

รีวิวรุ่นพี่

No data was found