Follow us on

เริ่มหมดไฟทำยังไงดี?

วันที่โพสต์
 ภาวะหมดไฟ หรือ burnout syndrome คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดในการเรียนหรือทำงาน โดยอาการหลัก ๆ ของอาการมี ดังนี้
  • เหนื่อยง่ายทั้งร่ายกาย และจิตใจ เป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกัน
  • หดหู่ คิดเชิงลบเกี่ยวกับตนเอง มองความสามารถตนเองในเชิงลบ ประสบความสำเร็จยาก
  • รู้สึกเหินห่างกับคนอื่น ไม่เป็นที่ต้องการ ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปในเชิงลบ

อาการหมดไฟมีหลายระยะ น้อง ๆ สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมอาการเหล่านี้ได้ แต่ในขั้นแรก น้อง ๆ ควรรู้จักสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายอาการเหล่านี้หรือไม่ หากยิ่งสังเกตได้เร็ว เราก็จะยิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงและจัดการอารมณ์ของเราได้เร็วเช่นกัน วันนี้พี่จึงได้รวบรวมวิธีการแก้ภาวะหมดไฟ หากคนไหนรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในอาการเหล่านี้..ลองใช้เทคนิคนี้ดู เชื่อว่าจะช่วยให้ภาวะหมดไฟหายไปอย่างแน่นอน!

  1. ปรับทัศนคติตัวเอง หากเรากำลังมีอารมณ์เชิงลบเข้ามาในหัวมากมาย อยากให้เราลองปรับทัศนคติ ลองคิดในเชิงบวก และลองหามุมมองใหม่ ๆ ว่าสิ่งที่เราเผชิญอยู่มีข้อดีอะไรบ้าง อะไรที่เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราทำสิ่งนั้น พยายามปล่อยวางเรื่องต่าง ๆ และมองอุปสรรคเป็นแรงผลักดันให้เราก้าวไปต่อ 
  2. หางานอดิเรกที่ชอบ หางานอดิเรกมาเป็นตัวช่วย เป็นอีกวิธีที่จะทำให้น้อง ๆ ไม่เก็บหลาย  ๆ เรื่องไปคิด ใช้เวลากับงานอดิเรกให้มากขึ้น ดีกว่าอยู่แบบคิดฟุ้งซ่าน
  3. ทำงานให้พอดี พยายามอย่าเอางานกลับไปทำที่บ้านถ้าไม่จำเป็น ควรแบ่งเวลางานและเวลาพักให้เป็นสัดส่วนเพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักตลอดเวลา
  4. หนีออกจากบรรยากาศเดิม ๆ หาเวลาผ่อนคลาย การให้เวลาพักผ่อนกับตัวเองเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี ลองเปลี่ยนบรรยากาศ ออกไปรับลมธรรมชาติ หรือไปในที่ที่เราอยู่แล้วรู้สึกดี หนีออกจากบรรยากาศเดิม ๆ ก็จะช่วยให้เรามีไฟกลับมาเรียนหรือทำงานได้อีกครั้ง
  5. นอนให้เป็นเวลา ในบางกรณีอาจเป็นเรื่องยากที่เราจะข่มตานอน ลองปรับเวลานอนใหม่ โดยเมื่อถึงเวลาหัวค่ำให้ลองปิดโทรศัพท์ หรืองดการเล่นโซเซียล / สื่อต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว และพยายามปิดไฟนอน หากในกรณีที่นอนไม่หลับจริง ๆ พี่แนะนำให้อ่านหนังสือ หรือ เปิดเพลงบรรเลงก็อาจจะช่วยให้เรานอนหลับสนิทได้มากขึ้น
  6. ปรับการกิน การกินอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ จะส่งผลให้ร่างกายของน้อง ๆ แข็งแรง สารอาหารและวิตามินจะช่วยบำรุงร่างกายให้ดีขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ด้วยล่ะ
  7. ปรึกษาแพทย์ ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้น ทางออกที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รับคำแนะนำให้ถูกต้อง แพทย์อาจช่วยแนะนำ และจ่ายยาที่เหมาะสมกับอาการดีกว่าเราไปหายาหรือวิตามินทานเอง <เพิ่มเบอร์กรมสุขภาพจิต หรือ hotline>
    ช่องทางที่ให้บริการการปรึกษา
    สายด่วนสุขภาพจิต 
    เบอร์ : 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
    Inbox : 17.00 – 22.00 น.
    ค่าบริการ : ฟรี
    Samaritans Tahiland
     กรุงเทพมหานคร : 02 – 713 – 6793 ทุกวัน เวลา 12.00 – 22.00 น.
    เชียงใหม่ : 053 – 225 – 977 ถึง 78 ทุกวัน เวลา 19.00 – 22.00 น.
    ค่าบริการ : ฟรี

อาการหมดไฟไม่ใช่เรื่องแปลก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถรับมือกับมันได้ดีหรือเปล่า? บางคนอาจเคยตกอยู่ในภาวะหมดไฟแต่สามารถจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ดี ก็สามารถรับมือได้ แต่ในบางกรณีที่อยู่ในภาวะหมดไฟเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ดังนั้นน้อง ๆ ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีและรีบหาทางแก้ หากทำแล้วไม่ดีขึ้นจริง ๆ แนะนำให้น้อง ๆ ลองปรึกษาคนรอบตัว คุณพ่อ คุณแม่ หรือ ปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางรักษา

อย่างไรก็ตาม..ทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลาในการเยียวยา! การปรับตัวก็ต้องค่อย ๆ ปรับกันไป หากใครมีอาการหมดไฟ..ก็อย่าเพิ่งท้อกันนะ!! ค่อย ๆ ปรับค่อย ๆ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรใหม่ TCAS68 ม.ทักษิณ

159 views

มาแล้ว!! ม.เกษตร รอบ1/2 โครงการช้างเผือก

953 views

มศว รอบ 1 Portfolio เปิดรับ 5 โครงการ!

1,396 views

ลงทะเบียน TCAS68 ระบบ MyTCAS วันไหน ต้องทำยังไง และใช้เอกสารอะไรบ้าง?

89,146 views

ปฏิทิน TCAS68 มศว มาแล้ว เตรียมยื่นพอร์ต เดือนพฤศจิกายนนี้ – TCASter

3,337 views

ม. ธรรมศาสตร์ เปิดเกณฑ์รับรอบ 1 แล้ว! มีคณะอะไรบ้าง ไปดูได้เลย – TCASter

2,989 views