#DEK67 ที่กำลังจะรู้ผลคะแนน TGAT, TPAT, A-Level ครบแล้ว แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? มาทางนี้ วันนี้พี่ ๆ จะมาบอกคะแนนเฟ้อ คะแนนฝืด มีประโยชน์มากกว่าที่คิด มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน!
ก่อนอื่นมารู้จักกับ คะแนนเฟ้อ คะแนนฝืด คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
คะแนนฝืด คือ คะแนนมีแนวโน้มที่จะลดลงจากปีที่แล้ว
คะแนนเฟ้อ คือ คะแนนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นสูงจากปีที่แล้ว
————————————-
นำไปคาดการณ์คะแนนเฟ้อ-ฝืด ของแต่ละคณะได้!
โดยการเช็กว่าคณะที่เราอยากเข้าใช้คะแนนอะไรบ้าง แต่ละวิชามีสัดส่วนเท่าไหร่ แล้วเช็กว่าวิชาเหล่านั้น มีคะแนนเฟ้อ-ฝืดเป็นยังไง ก็จะพอคาดการณ์ได้ว่า คะแนนในปีนั้น ๆ จะเฟ้อหรือผืด เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
————————————-
แต่อย่าลืมนำปัจจัยอื่น ๆ มาพิจารณาด้วย เช่น
- สัดส่วนของแต่ละวิชาที่ใช้ (วิชาไหนมีสัดส่วนคะแนนเยอะ ก็อาจจะทำให้คะแนนเฟ้อ-ฝืดของคณะ เป็นไปตามวิชานั้น)
- จำนวนผู้ที่ได้คะแนนสูง บางวิชา ถ้าเทียบจากคะแนนเฉลี่ยอาจจะคะแนนฝืด (คะแนนเฉลี่ยลดลงจากปีที่แล้ว) แต่จำนวนผู้ที่สอบได้คะแนนสูงมีจำนวนมากขึ้น ถ้าผู้ที่สอบได้คะแนนสูงยื่นในคณะนี้ด้วย ก็อาจทำให้คะแนนสูงขึ้นตามไปด้วยได้
————————————-
การใช้คะแนนเฟ้อ-ฝืด มาคาดการณ์คะแนนเฟ้อ-ฝืดของแต่ละคณะเป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น
อย่าลืมเช็กสถิติคะแนนสูง-ต่ำ และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลในการสอบติดประกอบกันไปด้วยน้า
ดูคลิปเพิ่มเติมได้ที่ Facebook TCASter : คะแนนเฟ้อ – ฝืด คืออะไร?
สำหรับน้อง ๆ ที่อยากสัมผัสบรรยากาศสนามจริงที่เหมือนจริงได้ที่นี่ TCASter Mock Exam
สนามสอบจำลองที่จะทำให้น้อง ๆ ได้รับประสบการณ์การสอบที่เสมือนจริงที่สุด
เพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จุดอ่อน และพัฒนาก่อนสอบ เพราะพลาดรอบซ้อม ดีกว่าพลาดรอบจริง
สมัครได้เลยที่นี่ : https://tcaster.info/3TJfElC
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง