ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2566
Xinytarnn & Zamploy TCASter
รีวิวคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เมื่อพูดถึงคณะไอทีน้อง ๆ ก็คงนึกถึงการเขียนโค้ดจ๋า ๆ ต้องเรียนรู้ภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่เยอะแยะมากมาย แต่สำหรับสาขานี้จะสอนให้น้อง ๆ ได้เป็นคนกลางที่เข้าใจทั้งฝ่าย Develop และฝั่ง User มากขึ้น มาทำความรู้จักสาขา DSI คณะไอทีบางมดไปพร้อมกันน้าาา
.
แนะนำตัว
– สวัสดีค่ะ พี่ชื่อ แซมพลอย ค่ะ อยู่ปี 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขา DSI หรือ นวัตกรรมบริการดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (เทคโนบางมด)
.
ทําไมถึงเลือกเรียนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ?
– เพราะว่าคณะนี้มีการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งด้านมนุษยศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี และด้านธุรกิจ ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยต่อยอดในการทำงานของโลกอนาคต
.
มีการหาข้อมูลในการเข้าคณะยังไงบ้าง ?
– หาข้อมูลจาก TCASter App ว่า มีมหาวิทยาลัยไหนบ้าง? ที่มีคณะแนวนี้บ้าง รวมทั้งการศึกษาจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเองที่มีการระบุระเบียบการการรับสมัครไว้ในแต่ละรอบ
.
มีการเตรียมตัวยังไงบ้าง ?
– ส่วนตัวพี่เข้ารอบพอร์ต ก่อนอื่นขอบอกไว้ก่อนว่า พี่เป็นคนชอบทำกิจกรรมอยู่แล้ว ทั้งหากิจกรรมแข่งขันการออกแบบโลโก้ การแข่งขันโครงงาน เป็นนักดนตรีของวงโยธวาทิต การไปค่ายของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมไปถึงการงาน Open House ของมหาวิทยาลัยที่เราอยากจะเข้า จากนั้นก็นำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะที่ต้องการจะยื่นมาจัดรูปเล่มใน Portfolio โดยต้องดูว่า โครงการที่ต้องการจะยื่นคืออะไร ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมเท่าไหร่ ด้วยนะ
.
คณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
– เป็นคณะที่มีการรวมศาสตร์การเรียนรู้ 3 ศาสตร์ คือ
- ด้านมนุษยศาสตร์ ที่จะเน้นวิชาจิตวิทยา เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของคนในโลกออนไลน์ พร้อมกับทักษะการตั้งคำถามเพื่อทำให้ได้คำตอบที่เราต้องการ
- ด้านเทคโนโลยี จะมีการเขียนโปรแกรม ซึ่งภาษาที่ใช้คือ JavaScript เพื่อให้เรามีพื้นฐานและสามารถสร้างเว็ปไซต์เองได้ รวมไปถึงการรู้จักการดึงข้อมูลจาก Database อีกด้วย ซึ่งจะได้เรียนวิชานี้ตอนปี 2 ที่เราจะได้จับกลุ่มทำเว็ปไซต์กับเพื่อนด้วยนั่นเอง
- ด้านธุรกิจ จะเป็นการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจ เช่น วิชาการตลาด ที่เราจะได้ลองวางแผนธุรกิจของเรา จากนั้นก็นำมาแข่งขันกันกับเพื่อนในทีม ไปพร้อมกับเนื้อหาที่เรียนอีกด้วย
.
สิ่งที่น่าสนใจของคณะนี้ ?
– สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเข้าคณะนี้คือ เน้นการฝึกงานมาก ซึ่งจะมีการฝึกงาน 2 ช่วงคือ
– ช่วงที่ 1 คือ ระหว่างปิดเทอมปี 2 ขึ้นปี 3 เป็นเวลา 2 เดือน
– ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ปี 3 เทอม 2 ถึงจบปี 4 เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน
– ซึ่งจะทำให้ต้องมีวินัยกับตัวเองมาก ๆ เนื่องจากจะต้องเรียนและฝึกงานไปพร้อม ๆ กัน แต่อาจารย์จะมีการปรับเวลาให้เหมาะกับการฝึกงานของนักศึกษาด้วยนะ
.
มีการฝึกงานไหม ? การฝึกงานแบ่งเป็นสายงานไหนได้บ้าง ?
– ตำแหน่งที่ฝึกงานได้ เช่น Content Creator, UX/UI Design, Project Manager ฯลฯ เนื่องจากวิชาที่เรียนมีความหลากหลาย ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับสายงานที่หลากหลายได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความสนใจของเรานั่นเอง
.
จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง ?
– Content Creator, UX/UI Design, Project Manager, Digital Marketer, Business Analyst หรือจะเป็น Programmer ก็ได้เช่นกัน
.
สิ่งที่อยากบอกน้องๆ ถ้าอยากเข้าคณะนี้ต้องเตรียมตัวเจออะไรบ้าง ?
– อยากให้ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ไว้เยอะ ๆ เนื่องจากคณะนี้น้อง ๆ จะต้องคิดนวัตกรรมต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา พร้อมกับทักษะการสื่อสารที่ดี ที่เป็นได้ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง จะเป็นประโยชน์มากในการเรียนสาขานี้
.
ความรู้สึกหลังจากที่ได้มาเรียนที่นี่ ?
– สภาพแวดล้อม : บรรยากาศดี มีน้องห่านอยู่หน้ามหาลัย การเดินทางสะดวก มีหออยู่รอบ ๆ มหาลัยเดินไม่ไกลมาก มีตึกคณะเป็นของตัวเอง มีกิจกรรมให้ทำเยอะมาก แล้วที่สำคัญเพื่อน ๆ พี่ ๆ และอาจารย์ในคณะให้คำแนะนำดี ทั้งการเรียนและการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี
-
- สำหรับคนที่ชอบกิจกรรมแนวพักผ่อน เช่น ทั้งทำขนม, กิจกรรมสันทนาการ, กิจกรรมทำกาแฟดริฟ ฯลฯ
- สำหรับคนที่กิจกรรมที่จริงจังขึ้นมาหน่อย เช่น สโมสรนักศึกษา, การแข่งขัน Startup, ค่ายวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ
.
.
ให้กำลังใจน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้ 🙂
– ถ้าเรารู้แล้วว่า สิ่งไหนที่เราอยากตื่นมาทำในทุก ๆ เช้าแล้วไม่รู้สึกเหนื่อยสิ่งนั้นคือ สิ่งที่ใช่สำหรับเราถ้าเจอแล้วก็ลุยเลย ! แต่ถ้ายังไม่รู้ก็ให้ลองทำกิจกรรมไปเรื่อย ๆ ค่อย ๆ หาตัวเอง อย่ากดดันตัวเองมาก ทุกคนมีความเก่งเป็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่เราแค่ยังหาไม่เจอในตอนนี้เท่านั้นเอง
.
สำหรับใครที่สนใจข้อมูลดี ๆ แบบนี้อีกก็อย่าลืมติดตามผ่านเว็บไซต์ TCASter รวมถึงใครที่ต้องการทราบข้อมูลหรือคอนเทนต์น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถติดตามผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ของ TCASter ได้เลย
Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Tiktok