Follow us on

เปิดสถาบัน FIBO คณะหุ่นยนต์แนวใหม่ ที่ไม่ธรรมดา – TCASter

วันที่โพสต์

ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566

Geaw TCASter


สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ มารู้จักกับ FIBO ให้มากขึ้นผ่านรุ่นพี่ที่เรียนในสถาบัน FIBO จริง ๆ กันเลย แต่ก่อนเราจะไปพูดคุยกับรุ่นพี่ของเราในวันนี้เราจะมาดูกันก่อนว่า Fibo คือสถาบันเกี่ยวกับอะไร

.

FIBO เป็นสถาบันวิจัยที่เทียบเท่าคณะแห่งแรกและแห่งเดียวในไทยที่เปิดสอนและให้ปริญญาครบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยต้องการให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ และประสบการณ์จากการทำงานไปพัฒนาเทคโนโลยี และหุ่นยนต์ที่นักศึกษาต้องการได้

 

 

งั้นถ้าน้อง ๆ ได้ทำความรู้จัก FIBO นี้ในระดับนึงแล้ว ต่อมาพี่จะพามาเปิดมุมมองของ Fibo ที่แตกต่างออกไปผ่านรุ่นพี่ที่เราพามาวันนี้กันเลยดีกว่า ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

 

: เริ่มแนะนำตัวได้เลยค่า

สวัสดีค่ะพี่ชื่อพี่ยุ้ย ตอนนี้พี่อยู่ปี 3 แล้วก็เรียนอยู่ที่ Fibo หรือ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามค่า

 

 

 

 

 

: อยากพูดถึงอะไรใน FIBO ก่อนให้น้อง ๆ ฟังก่อนคะ       

สถาบันของเราเป็นสถาบันที่สอนเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ซึ่งหลาย ๆ คนน่าจะรู้กันอยู่แล้วแหละเนอะว่าหุ่นยนต์คืออะไร หุ่นยนต์ก็คือ  ระบบหรือเครื่องจักรที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานตามวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หรือว่าพวกตู้ที่คั้นน้ำผลไม้ไรงี้ ในส่วนของระบบอัตโนมัติก็คือ ระบบที่อุปกรณ์หรือหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อการผลิตหรือการทำงานอะไรบางอย่าง โดย FIBO ของเราจะมีการสอนทั้ง 3 ส่วนคือในส่วนของ Mechanical Engineering, Electrical and Electronic Engineering และในส่วนของ Computer Engineering ก็คือถ้าน้อง ๆ สนใจในเรื่องของหุ่นยนต์เนี่ยน้อง ๆ ก็จะต้องเตรียมตัวมาเจอกับเนื้อหาพวกนี้เลย

 

 

 

 

: อยากพูดถึงอะไรใน FIBO ก่อนให้น้อง ๆ ฟังก่อนคะ       

สถาบันของเราเป็นสถาบันที่สอนเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ซึ่งหลาย ๆ คนน่าจะรู้กันอยู่แล้วแหละเนอะว่าหุ่นยนต์คืออะไร หุ่นยนต์ก็คือ  ระบบหรือเครื่องจักรที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานตามวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หรือว่าพวกตู้ที่คั้นน้ำผลไม้ไรงี้ ในส่วนของระบบอัตโนมัติก็คือ ระบบที่อุปกรณ์หรือหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อการผลิตหรือการทำงานอะไรบางอย่าง โดย FIBO ของเราจะมีการสอนทั้ง 3 ส่วนคือในส่วนของ Mechanical Engineering, Electrical and Electronic Engineering และในส่วนของ Computer Engineering ก็คือถ้าน้อง ๆ สนใจในเรื่องของหุ่นยนต์เนี่ยน้อง ๆ ก็จะต้องเตรียมตัวมาเจอกับเนื้อหาพวกนี้เลย

 

 

 

 

 

 

: แล้วพี่ยุ้ยชอบอะไรใน FIBO มากที่สุด

ถ้าให้พูดถึงสิ่งที่ชอบมากที่สุด ก็คงจะเรื่องเป็นสังคม ในคณะพวกเราจะอยู่กันเหมือนครอบครัว เนื่องจากคณะของเราจะอยู่กันแต่ภายในตึกของ Fibo กันซะส่วนใหญ่ ทำให้ทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง และอาจารย์จะค่อนข้างสนิทกัน ที่สำคัญคืออาจารย์ใส่ใจนักศึกษามาก ๆ เวลามีปัญหา จะสามารถขอคำปรึกษาจากอาจารย์ได้ง่าย และเนื่องจากสังคมที่ไม่ได้ใหญ่มากอาจารย์เลยจะจำปัญหาของนักศึกษาได้ค่อนข้างแม่น รวมถึงเวลามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นอาจารย์จะสามารถเข้ามาช่วยนักศึกษาได้อย่างรวดเร็ว 

 

 

 

 

 

 

: ทำไมเนื้อหาใน FIBO ถึงแตกต่างจากที่อื่น

เพราะว่าเนื้อหาของทางคณะจะมีการอัพเดตทุกปีโดยส่วนนึงจะถามจากความต้องการของนักศึกษาในแต่ละรุ่น และอีกส่วนก็จะอ้างอิงจากเทรนด์ของเทคโนโลยีในปีนั้น ๆ เพราะก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาที่ค่อนข้างไว ดังนั้นคณะของเราจึงต้องการให้นักศึกษาได้รับความรู้และเนื้อหาใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทรนด์ของเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาได้ รวมถึงอาจารย์ในคณะก็จะมีการปรับเนื้อหาและวิธีการสอนให้เข้าถึงนักศึกษาได้หลายหลายกลุ่มได้ไม่ว่าจะคนที่มีความรู้แค่พื้นฐานก็จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้มากเท่ากับคนอื่น ๆ 

 

 

 

: การเรียนการสอนใน FIBO เป็นรูปแบบไหน

การเรียนการสอนส่วนใหญ่ก็จะเป็น On-site แต่วิชานอกภาคก็จะเป็น Online อยู่ แล้ว FIBO ก็จะมีวิชา Studio ซึ่งจะเป็นวิชาที่เราจะได้ทำโปรเจคตามหัวข้อในแต่ละปี ซึ่งหัวข้อก็จะมีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งมันทำให้เราได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีแล้วก็ปฏิบัติเลย โดยในทุกขั้นของการทำงานจะต้องมีการนำเสนออยู่ตลอดเวลาทำให้อาจารย์เห็นถึงพัฒนาการของโปรเจคเรา 

 

 

 

: แล้ว FIBO งานเยอะไหม

ถ้าบอกว่าน้อยก็คงจะเหมือนโกหก เพราะปกติทุก ๆ สัปดาห์พวกเราก็จะมีงานให้ทำอยู่ตลอด แต่ถึงแม้งานหรือว่าการบ้านจะเยอะแต่อาจารย์ในคณะจะมีการให้ระยะเวลาในการทำงานที่เหมาะสม หรือในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ต้องยืดเวลาในการส่งงานออกไปก็สามารถนำปัญหาไปคุยกับอาจารย์เพื่อขอยืดเวลาได้อีก ทำให้อย่างน้อยความกดดันในการทำงานก็ลดลงไปได้บ้าง

 

 

: มีอะไรที่อยากเตือนน้อง ๆ ที่จะเข้าเป็นพิเศษไหม


ในเรื่องที่อยากเตือนก็คงจะเป็น เรื่องของการเตรียมรับมือกับความกดดันและความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นระหว่างการเรียน มาจากการที่เด็กฟีโบ้ทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถสร้างชิ้นงาน หรือผลงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้บางครั้งหลายคนก็กลัวว่าเราจะตามเพื่อนไม่ทันหรือเปล่า หรือว่าเราอาจจะไม่เก่งเท่าเพื่อน นั่นแหละ มันเลยทำให้ความกดดันน่ะมันเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวเพราะว่ามันมาจากปัจจัยรอบ ๆ ข้างของเรา ส่วนในเรื่องของความคาดหวังมันเป็นเรื่องปกติที่อาจารย์จะต้องคาดหวังที่จะเห็นผลงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปีอยู่แล้วเพราะว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมันพัฒนาขึ้นทุกปี ดังนั้นผลงานที่ออกมาก็ต้องพัฒนาให้ตามทันเทรนด์เทคโนโลยีในช่วงนั้น ๆ ด้วย แต่จริง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่มากขนาดนั้นเพราะว่าอาจารย์และเพื่อน ๆ รวมถึงรุ่นพี่ก็จะคอยช่วยเหลือเราอยู่ตลอดทำให้เราไม่ได้รู้สึกว่าเราเหนื่อยหรือว่าทำงานอยู่คนเดียว และอีกอย่างที่สำคัญคือน้อง ๆ ที่จะเข้ามาเรียนในคณะนี้ต้องห้ามกลัวภาษาอังกฤษเพราะว่าไม่ใช่แค่หนังสือหรือว่าเอกสารประกอบการเรียนในคณะที่จะเจอในรูปแบบภาษาอังกฤษ แต่ข้อมูลที่เราต้องไปหาเพิ่มเติมในช่วงการทำโปรเจคก็จะเป็นภาษาอังกฤษเกือบจะทั้งหมดด้วย ดังนั้นน้อง ๆ ห้ามกลัวภาษาอังกฤษกันเด็ดขาดเพราะว่ายังไงถ้าน้อง ๆ เข้ามาเรียนในคณะนี้เราจะต้องเจอกับภาษาอังกฤษอย่างแน่นอน (ถึงแม้จะเป็นหลักสูตรภาษาไทยก็ตาม55555)

 

พรุ่งนี้ไม่สายที่จะมาเรียนฟีโบ้

( ยุ้ย – ลลิดา เตชะวิโรจน์อุดม )

 

.

ก็จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะกับการเปิดคณะ Fibo จากมุมมองของพี่ยุ้ย แค่ฟังก็รู้สึกได้แล้วว่าคณะนี้ไม่ธรรมดาและน่าสนใจจริง ๆ ยิ่งสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจในเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์หลังอ่านบทสัมภาษณ์นี้จบคงสนใจที่จะเข้าในคณะนี้ไม่น้อยแน่ ๆ เพราะในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขนาดนี้ คณะนี้ถือว่าตอบโจทย์น้อง ๆ ที่อยากตามทันเทรนด์เทคโนโลยีตลอดเวลาแบบสุด ๆ และที่สำคัญขอกระซิบนิดนึงว่าตอนนี้บัณฑิตของฟีโบ้เป็นที่ต้องการของภาคเอกชนและภาครัฐอย่างมากด้วยน้า สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอยากเข้าคณะ Fibo พี่ก็ขอให้น้อง ๆ สมหวังและได้เรียนในคณะนี้ตามต้องการทุกคนเลยนะคะ 

.

และนี่ก็เป็นส่วนนึงของการเปิดคณะจากมุมมองของรุ่นพี่เท่านั้น เพราะเรายังมีรุ่นพี่จากหลากหลายมหาวิทยาลัย หลากหลายคณะที่เตรียมตัวมารีวิวให้น้อง ๆ อ่านอีกเพียบเลย 

.

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลดี ๆ แบบนี้อีกก็อย่าลืมติดตามผ่านเว็บไซต์ TCASter รวมถึงใครที่ต้องการทราบข้อมูลหรือคอนเทนต์น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถติดตามผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ของ TCASter ได้เลย

Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Tiktok

สามารถติดตามข่าวสารการสมัครสอบทุกรอบในระบบ TCAS ได้ง่าย ๆ เพียงแค่กดโหลด App

iOS, Android

สู้ๆทุกคน ทำให้เต็มที่ เป็นกำลังใจให้นะค้าาาา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิธีคำนวณคะแนนรอบ 3 ที่ #DEK68 ห้ามพลาด! – TCASter

449 views

5 ขั้นตอนใช้งาน TCASter App ฟีเจอร์ “ประเมินโอกาสสอบติด” – TCASter

523 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร – TCASter

933 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – TCASter

908 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มหาวิทยาลัยบูรพา – TCASter

1,005 views

GPAX ขั้นต่ำ TCAS67 รอบ 3 มจธ. – TCASter

999 views