1. แพทย์เน้นรับ 3 รอบแรกเป็นหลัก
อย่างที่ทุกคนรู้ว่า TCAS ปีล่าสุดปรับมาเปิดรับทั้งหมด 4 รอบ 4 รูปแบบ แต่การรับของคณะแพทยศาสตร์ในหลายสถาบันยังคงเน้นเปิดรับใน 3 รอบแรกเป็นหลัก รอบพอร์ตฟอลิโอ รอบโควตาและรอบ Admission ที่ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ (กสพท) จะเข้าร่วมคัดเลือกในทีแคสรอบนี้ ส่วนรอบสุดท้าย รับตรงอิสระ เลิกพูดถึงไปได้เลย เพราะจากสถิติการรับในหลายปีที่ผ่านมา แถบจะไม่เปิดรับเลย ถ้าเปิดรับก็แค่เพียง 1-2 ที่นั่งเท่านั้น สรุปว่าอยากติดแพทย์มีโอกาสแค่ 3 รอบเท่านั้น ตัวอย่างภาพรวมการรับสมัคร 5 สถาบัน (อ้างอิง TCAS64)
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รอบ 1 รับจำนวน 24 ที่นั่ง
- รอบ 2 รับจำนวน 83 ที่นั่ง
- รอบ 3 รับจำนวน 196 ที่นั่ง
- รอบ 4 รับจำนวน 0 ที่นั่ง
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- รอบ 1 รับจำนวน 120 ที่นั่ง
- รอบ 2 รับจำนวน 149 ที่นั่ง
- รอบ 3 รับจำนวน 20 ที่นั่ง
- รอบ 4 รับจำนวน 0 ที่นั่ง
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รอบ 1 รับจำนวน 61 ที่นั่ง
- รอบ 2 รับจำนวน 161 ที่นั่ง
- รอบ 3 รับจำนวน 55 ที่นั่ง
- รอบ 4 รับจำนวน 0 ที่นั่ง
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รอบ 1 รับจำนวน 92 ที่นั่ง
- รอบ 2 รับจำนวน 56 ที่นั่ง
- รอบ 3 รับจำนวน 40 ที่นั่ง
- รอบ 4 รับจำนวน 0 ที่นั่ง
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- รอบ 1 รับจำนวน 30 ที่นั่ง
- รอบ 2 รับจำนวน 0 ที่นั่ง
- รอบ 3 รับจำนวน 70 ที่นั่ง
- รอบ 4 รับจำนวน 0 ที่นั่ง
2. เกรดต้องทำให้สูงเข้าไว้
GPAX (เกรดเฉลี่ยสะสม) แนะนำว่าควรจะต้องทำได้มากกว่า 3.50 เพราะดูจากภาพรวมหลายสถาบันกำหนดไว้ค่อนข้างสูง (ถ้าใช้) ในรอบพอร์ตฟอลิโอและรอบโควตา อาจใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสมัครหรืออาจใช้เป็นคะแนน % สัดส่วนหนึ่งในการคัดเลือก รวมไปถึง GPA (เกรดเฉลี่ยสะสมรายวิชา) โดยเฉพาะกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ แต่จะไม่ใช้ GPAX คัดเลือกอย่างแน่นอน ถ้าสมัคร กสพท (รอบ3 แอดมิชชั่น)
- ตัวอย่างภาพรวมการใช้ GPAX (เกรดเฉลี่ยสะสม)
- รอบ 1 กำหนดขั้นต่ำในการสมัครในหลาย ม.
- รอบ 2 เช่น แพทย์ มน. มพ. ใช้ 10% , แพทย์ จุฬาฯ กำหนด ไม่ต่ำกว่า 3.50 (กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ)
- รอบ 3 กสพท ไม่ใช้ GPAX ในการคัดเลือก
3. ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ฮิตใช้ในรอบพอร์ต
ประมาณ 7 ใน 10 สถาบันที่เปิดรับในรอบพอร์ตมักต้องการผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกด้วย โดยเฉพาะเพื่อนๆที่ต้องการสมัครในโครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรนานาชาติ ผลคะแนนที่ใช้ยื่นได้แก่ IELTS , BMAT , TOEFL , SAT ตามที่คณะหรือโครงการนั้นๆกำหนด (ตัวอย่างเกณฑ์ที่ใช้ : คลิก ขอบคุณข้อมูล ignitebyondemand)
- ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับในรอบพอร์ต
- โครงการสอบคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษ (แพทย์ จุฬาฯ) ระเบียบการรับสมัคร : คลิก
- โครงการผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษ (MDX) โครงการผลิตแพทย์เพิ่มร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (MD02) (แพทย์ มข.) ระเบียบการรับสมัคร : คลิก
- โครงการร่วมระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มศว และ คณะแพทยศาสตร์ ม.นอตติงแฮม สหราชอาณาจักร (แพทย์ มศว) ระเบียบการรับสมัคร : คลิก
4. แพทย์ชนบทมักเปิดรับในรอบ 2
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (CPIRD : Community track) และ กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (CPIRD : Inclusive track) มักจะเปิดรับในทีแคสรอบโควตา โดยจะระบุคุณสมบัติในการสมัครไว้อย่างชัดเจน เช่น ภูมิลำเนาของผู้สมัคร บิดามารดาของผู้สมัคร กำหนดเขตพื้นที่จังหวัดในการสมัคร ส่วนใหญ่ใช้คะแนนวิชาสามัญในรอบนี้ ยกเว้น ม.นเรศวร ม.บูรพา ม.พะเยา ที่ใช้คะแนน GAT PAT1 PAT2 ในการคัดเลือก
- ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับในรอบโควตา
- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (แพทย์ มธ.) : คลิก
- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (แพทย์ มน.) : คลิก
- โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม (แพทย์ มบ.) : คลิก
- โครงการผลิตแพทยเพิ่มแห่งประเทศไทยระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับกระทรวงสาธารณสุข (แพทย์ มทส.) : คลิก
- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (แพทย์ จุฬาฯ) : คลิก
5. คะแนนสอบวิชาสามัญสำคัญสุดๆ
ถ้าจะสมัครคณะแพทย์ หลักสูตรไทยในรอบ 2 หรือ 3 ส่วนมากจะกำหนดให้ยื่นคะแนน 7 วิชาสามัญเป็นหลัก คะแนนที่ควรทำได้ในแต่ละรายวิชาคือ 60 คะแนนขึ้นไป ยิ่งทำได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี อ้างอิงสถิติผลคะแนนสูง-ต่ำของ กสพท (รอบ3) หรือโควตา มช. ม.อ. (รอบ2) ถ้าเฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 60 คะแนน อาจต้องเตรียมใจไว้บ้าง ลุ้นเหนื่อยแน่นอน ส่วนวิชาเฉพาะแพทย์ใช้ในรอบ3 กสพท 30% รอบ2 อาจมีใช้ในบาง ม. เช่น มฟล. จุฬาฯ มน. เป็นต้น
- ตัวอย่างเกณฑ์ รอบ2 โควตา
- แพทย์ มช. : ใช้ 7 วิชาสามัญ
- แพทย์ ม.อ. : ใช้ 7 วิชาสามัญ
- แพทย์ มทส. : ใช้ 5 วิชาสามัญ
- แพทย์ มมส : ใช้ 7 วิชาสามัญ
- แพทย์ มฟล. : ใช้ 7 วิชาสามัญ + วิชาเฉพาะแพทย์
- แพทย์ จุฬาฯ : ใช้ 7 วิชาสามัญ + วิชาเฉพาะแพทย์
- เกณฑ์ รอบ3 แอมิชชั่น
- กสพท : ใช้ 7 วิชาสามัญ + วิชาเฉพาะแพทย์
6. หลักเกณฑ์การสมัคร คุณสมบัติ สุขภาพร่างกาย เป็นเรื่องมองที่มองข้ามไม่ได้
ยกตัวอย่างข้อกำหนดหนึ่งของ กสพท ที่ระบุไว้ให้ศึกษาก่อนทำการสมัคร ”การให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือจงใจปกปิดข้อมูล เอกสารไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วนหรือตรวจทราบว่าไม่ตรงกับที่อัปโหลดไว้ตอนสมัคร ถ้าสถาบันทราบในภายหลังจะถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือก” ไม่มีสิทธิ์ในการคัดเลือกถึงแม้ว่าจะทำคะแนนได้สูงหรือมีรายชื่อผ่านการคัดเลือกไปแล้วก็ตาม เรื่องหลักเกณฑ์การสมัคร คุณสมบัติ สุขภาพร่างกายหรือข้อกำหนดยิบย่อย เป็นเรื่องที่เพื่อนๆควรทำความเข้าใจก่อนสมัครทุกครั้ง ไม่ว่าจะทำการสมัครในเรื่องก็ตามนะครับ
เรียบเรียง ณ วันที่ 1 สิงหาคม 64
ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 64
เรียบเรียงโดย : P’Joe TCASter