Follow us on

คณะแพทยศาสตร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

No data was found
ข้อมูลคณะ

เนื้อหาการเรียน

หลักสูตร 6 ปี

ปี 1

(เรียนวิชาพื้นฐาน) เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ เนื้อหาคล้าย ๆ เนื้อหาจะเจาะลึกมากขึ้นเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การเรียนเนื้อหาของวิชาแพทย์ที่แท้จริง ในบางมหาวิทยาลัยจะมีการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาวะร่วมสมัย เทคนิคการเรียนรู้ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ เป็นต้น เพื่อความเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์ก่อน

ปี 2 – ปี 3

(พรีคลีนิก) เรียนเนื้อหาของวิชาแพทย์โดยตรงในด้านทฤษฎีต่างๆ เช่น กายภาคศาสตร์ ประสาทวิทยา จุลชีววิทยา สรีรวิทยา เป็นต้น ควบคู่กับการเกิดโรคต่าง ๆ ว่ามีสาเหตุของโรคมาจากอะไรได้บ้าง เช่น หลักภูมิคุ้มกันวิทยา, ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานได้จริงต่อไป

ปี 4 – ปี 5

(คลีนิก)  เรียนรู้การปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาคนไข้จริงในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาล วิชาที่ต้องเรียน เช่น อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ เป็นต้น โดยจะเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม มีโอกาสได้ออกตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยประจำของนักศึกษาแพทย์ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกตามความถนัดและความสนใจได้ แต่ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์อย่างใกล้ชิด

ปี 6

(เวชปฏิบัติ) เน้นการปฏิบัติงานที่เหมือนแพทย์จริง ๆ มีการไปดูงานและทำงานตามโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งการเรียนในชั้นนี้มักจะเรียกว่า Extern และที่สำคัญของปีนี้คือ จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ขั้นที่ 3 ด้วยนะ

รายละเอียดของคณะ

แพทยศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค รวมไปถึงอาการเจ็บป่วย ซึ่งการแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง

โดยจะมีการเรียนตลอดหลักสูตรทั้งหมด 6 ปี ดังนี้

การเรียนด้านการแพทย์สามารถแบ่งออกเป็นสาขาวิชา หรือด้านเฉพาะทางได้มากมาย เช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์, รังสีวิทยา, จิตวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ ฯลฯ และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก, อายุรศาสตร์โรคไต และอีกมากมาย

การสอบเข้า

คุณสมบัติ

แผนการเรียน: วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และสายศิลป์
มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX): ไม่ต่ำกว่า 3.00

คะแนนที่ใช้สอบ

ก่อนอื่นทำความรู้จักกับ กสพท คือ “กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย” จะมีการสอบที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วิชาความถนัดแพทย์ และวิชา A-Level คิดเป็นสัดส่วนคือ วิชาความถนัดแพทย์ (กสพท หรือ TPAT1) = 30%

จะประกอบด้วย 3 พาร์ท ได้แก่
– จริยธรรมแพทย์
– เชาวน์ปัญญา
– พาร์ทเชื่อมโยง

วิชา A-Level (วิชาสามัญ) = 70% (โดย A-Level แต่ละวิชา ควรได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30)

จะประกอบด้วย  7 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ประยุกต์1 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา

สถาบันที่เปิดสอน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะแพทยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

อาชีพในอนาคต

  1. แพทย์เฉพาะทางในสายต่าง ๆ
  2. นักวิจัย นักวิชาการ ทั้งในระบบราชการ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และสถาบันการแพทย์ต่าง ๆ
  3. โรงพยาบาล
  4. คลินิกเอกชน
  5. สถานประกอบการส่วนตัว
  6. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

รีวิวรุ่นพี่

No data was found