Follow us on

คณะรัฐศาสตร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

No data was found
ข้อมูลคณะ

เนื้อหาการเรียน

เรียน 4 ปี

ปี 1
เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ สถิติ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ในด้านภาษาและการสื่อสาร เน้นการ ฟัง พูด อ่าน เน้นการเขียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการเมืองและสังคม

ปี 2
เริ่มเรียนในหมวดวิชาเฉพาะ เช่น ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์การบริหารท้องถิ่น นโยบายสาธารณะเริ่มเรียนวิชาเลือกเสรีและวิชาเอกเลือกตามที่สนใจ

ปี 3
เรียนลึกลงไปในด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารภาครัฐดิจิทัล เลือกเรียนวิชาเอกเลือก/วิชาโทตามที่สนใจ เช่น การบริหารรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน การพัฒนาท้องถิ่นเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาภาวะผู้นำ ฯลฯ ซึ่งแต่มหาวิทยาลัยก็จะเรียนแตกต่างกันไป

ปี 4
จะมีการเรียนวิชาเอกเลือก/วิชาโท เรียนวิธีการวิจัยเบื้องต้น บางมหาวิทยาลัยมีการศึกษาค้นคว้าอิสระ ควบคู่กับการฝึกงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

รายละเอียดของคณะ

เรียนเกี่ยวกับแนวความคิด อย่างเศรษฐกิจ การเมือง เรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หนึ่งในคณะที่ตรงกับความชอบทางด้านนี้ก็คงจะต้องเป็นการเรียนเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ซึ่งก็จะมีแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆ

มีสาขาอะไรบ้าง

  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
  • สาขาระหว่างประเทศ
  • สาขาบริหารธุรกิจ
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
  • สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย

การสอบเข้า

  • GPAX
  • TGAT
  • A-Level ได้แก่ คณิตศาสตร์, สังคม, ภาษาไทย, อังกฤษ  และภาษาอื่นๆ (เลือกจากสาขาวิชาที่ต้องการจะสมัคร)

* เกณฑ์คะแนนและวิชาจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย

สถาบันที่เปิดสอน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (สิงห์ไพร)
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยพะเยา

อาชีพในอนาคต

  • ประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ หรือ “รัฐกิจ” คือการบริหารงานให้กับกิจการของรัฐ  เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการ นายอำเภอ เป็นต้น
  • งานรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่บริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานไม่ต่างจากงานราชการ ก็จะเป็นงานทางด้านบริหาร จัดการข้อมูล และวิจัย
  • งานบริษัทเอกชน  ความรู้เรียนมาสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งอะไร ส่วนมากก็จะเกี่ยวกับงานการวิเคราะห์ การวางแผนนโยบายต่างๆ เช่น  เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง เป็นต้น

รีวิวรุ่นพี่

No data was found