fbpx

5 จุดเสี่ยงของ DEK65 .. อ่านให้ตายก็ทำข้อสอบไม่ได้!

 5 จุดเสี่ยงของ DEK65 .. อ่านให้ตายก็ทำข้อสอบไม่ได้!

1. อ่านอย่างไร้จุดหมาย

 แจกฟรี! แพลนตารางเวลาอ่านหนังสือสอบเพื่อ Dek64

ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร + ไม่รู้ว่าอยากเรียนมหา’ลัยไหน +ไม่รู้ว่าเหมาะกับ TCAS รอบไหน ถ้ายังตอบตัวเองไม่ได้ อย่าเพิ่งรีบอ่านหนังสือ กลับมาตอบตัวเองให้ได้ก่อน อย่างน้อยควรเลือกคณะ + ม. + รอบ TCAS ที่อยากเรียนให้ได้ 2 – 3 ตัวเลือก (ตัวเลือกนั้นอาจจะไม่ได้ชอบ แต่เลือกที่ใกล้เคียงก็ยังดี) ถ้าเลือกได้แล้ว เราจะรู้ทันทีว่าจะต้องสอบวิชาอะไรบ้าง กี่วิชา สร้างแพลนการทบทวนในแต่ละวันในแต่ละวัน / เดือน ไปจนถึงวันสอบ .. การอ่านแบบไร้จุดหมายหรือหลอกตัวเองไปวันๆที่พอใจแค่ได้อ่าน อย่าหาทำเลยนะครับ ไม่เกิดประโยชน์แน่อน


2. อุปกรณ์ไม่พร้อม ไม่มีสมาธิ ไม่ชินสภาพแวดล้อม

ปีนี้มีโอกาสสูงที่ทาง สทศ. อาจบังคับให้ทุกคนใส่แมสก์ในขณะทำข้อสอบเพราะด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ใครยังปรับตัวไม่ได้กับการใส่แมสก์อ่านหนังสือหรือทำข้อสอบ ต้องรีบปรับตัวให้เป็นเรื่องเคยชิน รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆต้องมีพร้อม ดินสอ 2B , ยางลบ , กระดาษทด หรือแม้แต่นาฬิกาที่ใส่แล้วถนัดข้อมือเป็นเรื่องเล็กๆ ที่สร้างความมั่นใจให้กับเราได้ สถานที่สอบถึงแม้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ต้องเตรียมพร้อมรับมือสภาวะที่ไม่เคยชินเหล่านั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นความแข็งของเก้าอี้ ขนาดความสูงของโต๊ะ บรรยากาศภายในห้องสอบ เสียงรบกวนจากเครื่องยนต์บนท้องถนน สิ่งใดสิ่งหนึ่งเราอาจต้องพบเจอแน่ๆ .. เรื่องที่เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้ อาจเป็นเรื่องใหญ่หรับบางคน อย่ามองข้ามเด็ดขาด


3. ทำโจทย์พร้อมดูเฉลยไปด้วย

ฮั่นแน่! หลายคนอาจเคยลองทำโจทย์ ทำแล้วเหมือนจะคิดออกแต่ติดอยู่นิดเดียว เลยขอแวปไปเปิดดูเฉลยสักหนึ่งบรรทัด สุดท้ายก็ทำโจทย์ข้อนั้นได้ อาจทำให้เราหลงดีใจว่าทำได้แล้วจริงๆ แต่อย่าลืมว่าในการสอบจริงไม่มีเฉลยให้ดู! การทำแบบนี้เหมือนเป็นการโกหกตัวเอง .. เปิดเฉลยดูไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรเปิดดูหลังจากเราลองพยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว ดูเฉลยเพื่อเป็น idea อย่ามองแต่ผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบนะครับ


4. ไม่เคยลองจับเวลาทำข้อสอบ

อาจเป็นรูปภาพของ เสื้อคลุม

ถึงแม้ว่าจะทำข้อสอบได้แต่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป ถ้าเราไม่เคยจับเวลาทำข้อสอบตามกำหนดเวลาสอบนั้นจริงๆ .. รู้หรือไม่ว่า? สนามสอบ GAT PAT มีเวลาทำข้อสอบวิชาละ 3 ชั่วโมง , วิชาสามัญ มีเวลาทำข้อสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ควรรู้ว่าในวิชานั้น เรามีเวลาในการทำข้อสอบ 1 ข้อภายในกี่นาที ยกตัวอย่างเช่นข้อสอบวิชาสามัญชีววิทยาปีล่าสุด มีจำนวน 50 ข้อ มีเวลาทำข้อสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที แสดงว่าเรามีเวลาทำข้อละ 1 นาที 48 วินาที ถ้าเราใช้เวลาเกินจากนี้ก็จะไปกินเวลาข้ออื่น การลองจับเวลาทำข้อสอบเป็นอีกจุดสำคัญที่เด็กเตรียมสอบทุกคนควรหมั่นซ้อมไว้ก่อนสอบจริง


5. ไม่เคยลองทำข้อสอบจริง

 ฝึกทำข้อสอบพร้อมเฉยได้ใน  “TCASter App”

การสอบวัดผลกลางภาค-ปลายภาคที่โรงเรียน ครูประจำวิชาจะเป็นผู้ออกข้อสอบ แน่นอนว่าจะแตกต่างจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ข้อสอบอย่าง GAT PAT , วิชาสามัญ จะมีหน่วยงานอย่าง สทศ สสวท. เป็นผู้ดูแลเนื้อหาที่ออกสอบ การทำข้อสอบที่โรงเรียนได้เป็นเรื่องดี แต่ควรให้ความสำคัญกับปลายทางอย่างการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย โดยปีล่าสุดมีการปรับเนื้อหาที่ออกสอบใหม่จาก สสวท. ในรายวิชา PAT1 PAT2 วิชาสามัญ วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา ส่วนในรายวิชาอื่นๆ ก็ควรทราบเนื้อหาที่ออกสอบ (ดูเพิ่มเติม : คลิก) และควรลองจับเวลาทำข้อสอบจริง 3 ปีล่าสุดเป็นอย่างน้อย ทดสอบตัวเองดูว่าเราอยู่จุดไหนของการเรียน ประเมินดูว่าเราทำคะแนนได้มากน้อยเท่าไหร่ และปรับปรุงในบทที่เรายังทำไม่ได้ในลำดับถัดไป


เรียบเรียง ณ วันที่ 1 กันยายน 64

ผู้เรียบเรียง : P’Joe TCASter

PANOT

PANOT

Related post