“เด็กศิลป์หัวใจวิทย์!” คณะวิทย์ที่รับเด็กสายศิลป์มีคณะอะไรบ้าง
น้องสายศิลป์ที่อยากเปลี่ยนเป็นสายวิทย์ต้องห้ามพลาด!! รวม 14 คณะสายวิทย์ ที่เด็กศิลป์ สมัครได้
มีคณะไหนบ้าง มาดูกันเลย!!
“รู้ตัวช้าผิดด้วยหรอ?”
“เปลี่ยนสายการเรียนตอนนี้ผิดไหมนะ?”
ตอนมัธยมเลือกเรียนสายศิลป์ไปแล้ว แต่พอจะเข้ามหา’ลัยใจดันอยากต่อคณะวิทย์ซะงั้น จริง ๆ แล้วการรู้ตัวช้าไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย แต่ด้วยช่วงวัยที่เราต้องเลือกสายการเรียนเป็นช่วงเวลาที่เร็วเกินไปต่างหาก ถ้าย้อนกลับไปตอนเลือกสายก็คือช่วง ม.3 น้อง ๆ บางคนยังไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าโตมาเราอยากเป็นอะไร ดังนั้น การรู้ตัวช้า หรือสับสนในตัวเองไม่ใช่เรื่องผิด วัยนี้เป็นช่วงที่กำลังลองถูกลองผิด ไม่ได้หมายถึงลองสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือสิ่งที่ไม่ดีนะ แต่เป็นการลองในเรื่องของการค้นหาตัวเอง ดังนั้น วันนี้เราจะมาดูกันดีกว่าว่ามีคณะสายวิทย์คณะไหนบ้างที่เด็กสายศิลป์อย่างเราสามารถสมัครได้ มาดูกันเลย!!
.
-
- คณะแพทยศาสตร์
ต้องบอกก่อนว่าเด็กสายศิลป์จะเข้าได้เฉพาะคณะแพทย์ที่ผ่านระบบ กสพท. เท่านั้น ในสายนี้นอกจากน้อง ๆ จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และเยียวยารักษาโรคให้กับคนอื่นแล้ว น้อง ๆ ต้องรู้จักการดูแลตัวเองด้วย เพราะการเป็นคุณหมอแน่นอนว่าน้อง ๆ ต้องอดหลับอดนอนแบบเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ดังนั้น สายคณะนี้เป็นอีกหนึ่งสายที่ต้องมีความอดทนสูง ขยันพัฒนาความรู้ และทักษะอยู่เสมออีกด้วย
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ คณะแพทย์ระบบ กสพท.
. - คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะนี้เรียนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของสัตว์ ทั้งการรักษาโรค รวมถึงพัฒนาอุตสาหกรรมของการเลี้ยงสัตว์ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ด้านปศุสัตว์ การขยายพันธุ์ การเลี้ยง และการควบคุมโรคของสัตว์ทีอาจติดต่อมาถึงมนุษย์ได้
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
. - โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (CPIRD)
เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กระทรวงสาธารณสุขจัดเพื่อให้มีแพทย์เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละพื้นที่ เป็นการให้โควตาแต่ละจังหวัด โดยมีเงื่อน คือ จะต้องมาทำงานใช้ทุนในจังหวัดที่ได้โควตานั่นเอง
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
. - คณะวิศวกรรมศาสตร์
ทั้งหลักสูตรปกติ และหลักสูตรนานาชาติ/ภาคภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับว่าน้อง ๆ เลือกเรียนวิศวะ สายไหน ไม่ว่าจะเป็น วิศวะไฟฟ้า เครื่องกล โยธา คอมพิวเตอร์ วิศวการแพทย์ ฯลฯ เป็นการเรียนวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ที่ค่อนข้างลึก เพื่อเอาความรู้มาประยุกต์ใช้กับการทำงาน
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
. - คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพร่างกาย และจิตใจของนักกีฬา โดยมีการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยศาสตร์ โภชนาการ สรีรวิทยา กายวิภาค ฯลฯ ที่ส่งผลต่อร่างกายมนุษย์มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล
. - คณะจิตวิทยา
เป็นการเรียนเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของมนุษย์ เรียนทั้งด้านปัจจัย กระบวนการพัฒนา ไปจนถึงสิ่งผิดปกติด้านความคิด และการหาวิธีในการรักษาทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
. - สาขาวิชาอัญมณี และเครื่องประดับ
ในสาขานี้น้อง ๆ จะต้องเรียนตั้งแต่ประวัติความเป็นมา สิ่งที่ทำให้เกิดเป็นอัญมณี สามารถแยกประเภทและสีของอัญมณีได้ ต้องมีทักษะด้านการออกแบบ การทำธุรกิจ และในเรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการรักษา
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา (จันทบุรี)
. - สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
เป็นศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีของระบบคอมพิวเตอร์ และการประมวลผลต่าง ๆ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเครือข่ายต่าง ๆ การเรียนที่ต้องเจอแน่นอนว่าทั้งด้านภาษาซี การเขียนโปรแกรม ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานของสายนี้เลยก็ว่าได้
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา (สระแก้ว), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ระยอง, ปราจีนบุรี)
. - คณะสหเวชศาสตร์
เป็นอีกหนึ่งคณะที่เลือกรับเฉพาะบางสาขา ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ สามารถแยกได้อีกหลายสาขา แต่หลัก ๆ จะเป็นเกี่ยวกับการประยุกต์เนื้อหาใช้กับการแพทย์ ทั้งด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมสุขภาพ การวิเคราะห์ วินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังด้านการแพทย์เลยก็ว่าได้
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยนเรศวร
. - คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าขึ้นอยู่กับการรับของแต่ละสถาบัน บางสาขาก็จะรับเฉพาะสายวิทย์-คณิต แต่การเรียนของสถาปัตย์ จะมีการผสมผสานเทคนิค และวิทยาการต่าง ๆ ด้านวิทย์ คณิต ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์นั่นเอง อาจเป็นการออกแบบที่พัก อาคาร ผลิตภัณฑ์ ฯ รวบทั้งการปรับสภาพแวดล้อมให้ตรงกับความต้องการของมนุษย์ด้วยนั่นเอง
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
. - สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
เป็นหลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และความปลอดภัยด้านการเกษตร เป็นการใช้ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสายการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อการแก้ไขปัญหาด้านการจัดทรัพยากรการเกษตร
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
. - คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี
รับเฉพาะบางสาขาเท่านั้น เป็นการเรียนด้านอุตสาหกรรมแบบรวมหลายสาขา ทั้งด้านเครื่องกล โยธา ไฟฟ้า และอีกมากมาย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
. - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นสายประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อค้นหา ส่งผ่าน และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ เน้นด้านระบบ และเทคโนโลยีเบื้องต้น การเขียนโปรแกรม การเรียนกราฟิก รวมทั้งด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นความต้องการของแรงงานปัจจุบัน
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปราจีนบุรี), มหาวิทยาลัยบูรพา (สระแก้ว), มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
. - คณะโลจิสติกส์
เรียนเกี่ยวกับการจัดการระบบขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้า และบริการ จากผู้ส่งไปถึงผู้รับ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่การเรียนโลจิสติกส์ไม่ใช่แค่การขนส่งเท่านั้น แต่เป็นการเรียนในเรื่องของการวางแผน การจัดเก็บ ดูแล และควบคุมต้นทุนค่าส่งให้คุ้มกับแรงนั่นเอง
ตัวอย่างสถาบันที่เปิดรับสายศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ระยอง), มหาวิทยาลัยบูรพา (สระแก้ว, จันทบุรี)
.
- คณะแพทยศาสตร์
เป็นยังไงกันบ้างเหล่าเด็กศิลป์หัวใจวิทย์ทุกคน ทั้ง 14 คณะที่พี่เอามาฝากนี้มีคณะไหนที่น้อง ๆ กำลังเล็งไว้อยู่บ้างรึเปล่า…อยากแนะนำว่า ถ้าน้อง ๆ คนไหนมีคณะที่อยากเข้า แต่ไม่ตรงกับสายที่เรียนมา ไม่ใช่แค่เฉพาะสายศิลป์ แต่เป็นทุกสายเลย พี่อยากให้น้องลองพยายามดูก่อน อย่าเพิ่งตัดใจแค่เพราะ สายการเรียนไม่ตรง การเปลี่ยนสายไม่ใช่เรื่องผิดเลยนะ เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่น้อง ๆ รู้ตัวเอง และกล้าตัดสินใจ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระเบียบการในแต่ละปีด้วย ถ้าน้อง ๆ รู้ว่าเราต้องการเรียนต่อด้านไหนแล้ว สามารถเช็กระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือสามารถดาวน์โหลดแอป TCASter ก่อนก็ได้ เพราะในแอปนอกจากเช็กว่าเรามีคุณสมบัติเพียงพอต่อความต้องการของคณะแล้วหรือไม่ น้อง ๆ ยังสามารถเช็กคะแนนของคณะนั้น ๆ ได้อีกด้วย และตอนนี้ ข้อมูลปัจจุบันได้ทำการ Update แล้ว อย่าลืมเข้าไปดูกันล่ะ!!
ติดตามข่าวสารแบบแอปเดียวจบครบทุกเรื่องสอบโหลด “TCASter”
IOS – http://bit.ly/TCASteriOS
Android – http://bit.ly/TCASterAndroid