ยกระดับหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ และการผลิตอัจฉริยะ พีไอเอ็ม จบไปทำอะไรได้มากกว่าที่คิด?!
“วิศวกรรมอุตสาหการ และการผลิตอัจฉริยะ อีกสาขาที่กำลังมาแรง ตอบโจทย์กับเด็กยุคใหม่ โดยสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้หลายแขนง ทั้งไฟฟ้า ยานยนต์ หุ่นยนต์ AI ไอที ฯลฯ”
“ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเน้นความรู้ด้าน Big Data การควบคุมเทคโนโลยี AI”
“หลักสูตรนี้…น้อง ๆ สามารถเรียนวิศวกรรมศาสตร์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องจบสายวิทย์ฯ”
“พีไอเอ็ม เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ด้วยการฝึกงานที่เข้มข้นเพื่อให้เด็กพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง”
.
ทางสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) (Panyapiwat Institute of Management) ปรับหลักสูตรใหม่รับอุตสาหกรรม 4.0 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ (Industrial Engineering and Intelligent Manufacturing
ปัจจุบันประเทศของเราได้มีการนำเข้าเทคโนโลยีมามากมายเพื่อการตอบโจทย์ในยุคของอุตสาหกรรม 4.0 โรงงานต่าง ๆ มีการใช้ AI หรือที่เรารู้จัก คือ ระบบประมวลผลอัจฉริยะ ที่มีความฉลาดคล้ายมนุษย์มาควบคุมระบบต่าง ๆ ของเทคโนโลยี…แต่ว่า!! ระบบเหล่านี้ยังต้องการผู้มีความรู้เฉพาะทางมาควบคุมการทำงาน การที่พีไอเอ็มเปิดสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ ทำให้นักศึกษาที่จบมาสามารถไปทำหน้าที่เหล่านี้ได้ เรียกได้ว่าตอบโจทย์ตลาดแรงงานและช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นให้กับเด็กยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
โดยวันนี้ทางทีมงาน TCASter ได้มีโอกาสพิเศษสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม ที่จะมาเล่าถึงหลักสูตรที่เปลี่ยนไปและรายละเอียดเนื้อหาแบบเจาะลึก! โดยมีการปรับปรุงรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะเพื่อให้เด็กที่จบมามีความรู้พร้อมที่จะไปเผชิญกับโลกแห่งการทำงานจริง ลองมาฟังกันเลย!!
อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ให้หน่อยค่ะ ว่าอะไรเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
จุดเริ่มต้นของหลักสูตรเกิดจากทางสถาบันตระหนักถึงการที่ประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 ทำให้ทางสถาบันมีการปรับตัว เพื่อตอบรับการเข้ามาของเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันและอนาคตนั้นภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการวิศวกร อุตสาหการฯ ที่มีองค์ความรู้ ทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติเฉพาะด้าน อีกทั้งยังเป็นยุคของการผลิตอัจฉริยะที่มีระบบออโตเมชั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ สร้าง พัฒนา ควบคุม จัดการ และบำรุงรักษา ให้ได้ใช้งานทรัพยากรต่างๆ ทั้งหุ่นยนต์ เทคโนโลยี และคน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเสริมทักษะที่จำเป็นและให้นักศึกษามีความรู้พร้อมใช้งานได้จริงกับตลาดแรงงาน
การเรียนวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะของที่นี่เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
การเรียนวิศวอุตสาหการฯ ของเรา จะเรียนเรื่องการวางแผน การควบคุมระบบต่าง ๆ และนอกจากนี้เรายังเรียนในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในด้านของอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม ต้นทุนอุตสาหกรรม เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อควบคุมภาพรวมของอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถต่อยอดอาชีพ เป็นถึงระดับ ผู้จัดการ ผู้บริหาร รวมถึงเจ้าของธุรกิจได้อีกด้วย
หลักสูตรของที่นี่เห็นว่า…เมื่อเด็ก ๆ จบไปแล้ว สามารถไปสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรได้ด้วย ใบนี้มีความสำคัญอย่างไร
ต้องบอกว่าก่อนใบประกอบวิชาชีพวิศวกร หรือ ใบ กว. ไม่ใช่ทุกคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยจะสอบได้ ต้องเป็นสถาบันที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกรด้วย และเนื่องจากการศึกษาของสถาบันถูกควบคุมหลักสูตรโดยสภาวิศวกร ดังนั้นนักศึกษาที่จบจากที่นี่ไปก็มั่นใจได้ว่า…เราสามารถไปสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรได้
ความโดดเด่นของหลักสูตรที่นี่คืออะไร
ความโดดเด่นในหลักสูตรนี้ คือ เราได้ทำการยกระดับเนื้อหา เพิ่มวิชาใหม่ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา
โดยทางพีไอเอ็มได้มีการปรับปรุงรายเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมจากหลักสูตรเดิม ดังนี้
- กลุ่มวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมอุตสาหการ
มีการเพิ่มรายวิชาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชนิดของอุปกรณ์ทำงานในระบบควบคุมและหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม และการเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการควบคุมระบบอัตโนมัติ และวิชาระบบผลิตอัจฉริยะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักของระบบผลิตอัจฉริยะ ได้แก่ อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (IoT) สำหรับงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระบบระบบผลิตเสมือนจริง (Virtual Manufacturing) ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
- กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะ
มีการเพิ่มวิชาเลือกทางด้านการผลิตยานยนต์ เช่น วิชาหลักการวิศวกรรมยานยนต์ วิชาการบริหารกระบวนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และวิชาเลือกทางด้านกระบวนการผลิตอัจฉริยะ เช่น วิชาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) สำหรับงานอุตสาหกรรม วิชาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมวิชาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในระบบการผลิตอัจฉริยะ
ในเรื่องของการฝึกงาน ได้ยินมาว่าที่นี่มีการฝึกงานที่แตกต่างจากที่อื่น
ความแตกต่าง คือ ทางพีไอเอ็ม จะเน้นเรื่องการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง โดยทางสถาบันฯ จะแบ่งการเรียนเป็น 60% และการฝึกงาน เป็น 40% ในส่วนของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ทางพีไอเอ็มจะให้นักศึกษาฝึกงานตั้งแต่ปี 1 ที่ 7-Eleven เป็นการฝึกด้านการรับมือกับผู้คนในรูปแบบต่าง ๆ และปี 2 นักศึกษาจะได้เข้าโรงงานจริง เป็นเหมือนการปรับตัว และในปี 3 นักศึกษาจะได้เรียนจนจบหลักสูตร ทั้งนี้นักศึกษาจะได้ทำโปรเจกต์ร่วมกับสถานที่ฝึกงานด้วย เพื่อในปี 4 จะได้รับการฝึกงานแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างจากที่อื่นที่ฝึกเพียง 3 เดือน และอีกเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อนักศึกษาเราได้ฝึกงานเร็ว ก็ยิ่งทำให้รู้ตัวเร็วมากขึ้นว่าอยากฝึกงานในรูปแบบไหน
สถานที่ฝึกงานนักศึกษาสามารถฝึกงานได้ตามความสนใจของตัวเอง ฝึกได้ตั้งแต่บริษัท / โรงงาน Start up, SME ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงหากนักศึกษาอยากเน้นการฝึกงานที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทางเราก็มีสถานประกอบการณ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ เช่น บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM) และบริษัท บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด (ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย) ที่มีเทคโนโลยีอัจฉริยะมากมายให้ได้เรียนรู้ และนอกจากนี้พีไอเอ็มได้ทำความร่วมมือกับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มอบห้องแล็บพร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แก่นักศึกษาไว้ใช้ประกอบการเรียนด้วย
จบจากสาขานี้ไป สามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง
อาชีพหลังจากเรียนจบ นักศึกษาสามารถเป็นวิศวกรวางแผนการผลิต วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรจัดส่งสินค้า รวมถึงอาชีพที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคือ Data science ในระยะยาวพีไอเอ็มมองว่านักศึกษาหลังเรียนจบสามารถเป็นถึงระดับ ผู้จัดการ ผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจได้ และในส่วนของเรื่องค่าตอบแทนของสายอาชีพในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา Start อยู่ที่ 22,000 – 30,000 บาท
เด็กแบบไหนที่จะตอบโจทย์สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ
สำหรับที่นี่ คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนที่จบสายวิทย์คณิต โดยตรง เด็กสายศิลป์ ปวช. ปวส. ก็สามารถสมัครได้ โดยวิศวกรรมอุตสาหการฯ จะเน้นการปฏิบัติเยอะ การฝึกงานสำคัญพอ ๆ กับการเรียน คนที่ชอบการบริหาร การจัดการ ชอบวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สื่อสารเข้าใจ น่าจะเหมาะกับการเรียนสาขานี้ เอาจริง ๆ ในสาขานี้ มีผู้หญิงมากกว่า 60% ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายก็เรียนวิศวกรรมได้
สุดท้ายอยากให้อาจารย์ช่วยฝากถึงน้อง ๆ ม.ปลายที่กำลังสนใจสาขานี้อยู่
สิ่งที่อยากฝากถึงน้อง ๆ คือ การเรียนที่วิศวกรรมอุตสาหการฯ ของเรามีการเรียนแบบครอบคลุมการจัดการแบบกว้างขวาง ดังนั้น การเรียนของเราสามารถเข้าไปควบคุมการจัดการโรงงานอุตสาหกรรมได้ทุกที่ หากน้อง ๆ เป็นคนที่มีความช่างสังเกต ชอบวางแผนในการบริหารจัดการระบบต่าง ๆ อยากให้ลองเปิดใจกับสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ไว้ด้วยนะครับ
รุ่นพี่อยากแชร์…
นายภาคภูมิ รุ่งแจ้ง หรือ ไมค์ อายุ 25 ปี บัณฑิตสาขาวิศวกรรมอุตสาหการฯ รุ่นที่ 4
ปัจจุบันทำงานตำแหน่ง Supervisor Production Engineer บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
“บรรยากาศในห้องเรียนพูดได้เลยว่าความรู้สึกไม่ต่างอะไรจากมัธยมปลายเลย อบอุ่นเหมือนบ้าน เพื่อนๆ พี่ๆ น่ารัก เราสนิทกันมาก อาจารย์ดูแลนักศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึง รูปแบบการเรียนของที่นี่จะเป็นการเรียนควบคู่กันระหว่างวิชาการกับการปฏิบัติงานจริงครับ ผมได้ฝึกงานตรงกับสาขาที่เรียนทุกปี ฝึกในโรงงานมาตลอดโดยเฉพาะปี 4 ได้ฝึกงานโรงงานฉีดพลาสติก เป็นเวลา 6 เดือน ทำตำแหน่ง Production Engineer ดูแล วางแผน และควบคุมการผลิต ตั้งแต่นำวัตถุดิบเข้า จนถึงจัดส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ผมว่าจุดเด่นของเด็กพีไอเอ็มไม่ได้มีเพียงความรู้ด้านวิชาการเท่านั้น แน่นอนครับ สิ่งที่ได้รับเต็มๆ คือประสบการณ์การทำงานเกือบ 2 ปี ได้ความอดทน การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี และสามารถเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการบางแห่งที่ได้ไปฝึกงาน มีค่าตอบแทนให้ด้วยนะครับ ซึ่งเบี้ยเลี้ยงระหว่างการฝึกงานนี้สามารถช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ได้มากเลยทีเดียว”
.
อีก 1 รุ่นพี่คนเก่งคือ นางสาวกชกร พุกดี หรือ อุ้มบุญ บัณฑิตสาขาวิศวกรรมอุตสาหการฯ รุ่นที่ 6
ปัจจุบันทำงานตำแหน่ง GA Quality Engineer บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด (ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย)
“การเรียนที่พีไอเอ็มจะมีทั้งการเรียนแบบทฤษฎีและแบบปฏิบัติ เรียนในห้องห้องแล็บ ทั้งเคมี ไฟฟ้า หุ่นยนต์ เช่น การเชื่อมแก๊ส เชื่อมไฟฟ้า การตะไบเหล็ก และยังมีภาคปฏิบัติอย่างอื่นอีกด้วย ถ้าอยากรู้ให้ลองมาเรียนกันดูนะคะ อุ้มได้ความรู้เยอะมากๆ จากที่นี่ นอกจากนี้ยังได้มิตรภาพ การเสียสละ การแบ่งปัน จากทางสถาบันฯ ที่มีโครงการและกิจกรรมช่วยเหลือสังคมอยู่เสมอ ซึ่งเราได้รับจากสถาบันฯ ก็อยากส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับน้องๆ อีกทอดค่ะ
สำหรับการฝึกงาน อุ้มได้ฝึกทั้งหมด 18 เดือน ค่ะ ที่แรกเลยอย่างที่รู้ๆ กันนะคะว่าเด็กพีไอเอ็มชั้นปี 1 ต้องฝึกงาน 3 เดือน ที่ร้าน 7-Eleven เพื่อฝึกความมีวินัย ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ และอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญคือ “มนุษย์สัมพันธ์” ค่ะ จากนั้นปีอื่นๆ ก็ไปฝึกในโรงงาน เคยได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ให้ทำโปรเจกต์ร่วมกับเพื่อน เพื่อช่วยให้พนักงานทำง่ายขึ้น ถือว่าเป็นการเอาวิชาที่เรียนมาปฏิบัติจริงเลยค่ะ”
เป็นยังไงกันบ้างกับสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ พี่ว่าเป็นอีกหนึ่งคณะที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง และความตอบโจทย์ในด้านของตลาดแรงงาน น้อง ๆ คนไหนที่กำลังสนใจอยากเข้าวิศวะต้องอย่าพลาดสาขานี้!!
สุดท้ายนี้ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจและอยากสมัคร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหลักสูตรได้ที่นี้เลย!!
ทุนการศึกษาพีไอเอ็มได้มีการสนับสนุนนักศึกษาผู้มีความสามารถด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ทุนเจียระไนเพชร
– ชำระครั้งแรก 7,000 บาท เทอมถัดไปชำระ 3,500 บาท
– เกรดเฉลี่ยรวม (GPAX) แรกเข้าไม่ต่ำกว่า 3.00
– รักษาเกรดเฉลี่ยระหว่างเรียนไม่น้อยกว่า 2.5 - ทุน PIM 50%
– ชำระครั้งแรก 5,000 บาท เทอมถัดไปรับส่วนลด 50%
– เกรดเฉลี่ยรวม (GPAX) แรกเข้าไม่ต่ำกว่า 2.50
– รักษาเกรดเฉลี่ยระหว่างเรียนไม่น้อยกว่า 2.00 - ทุนสำหรับปวส.เทียบโอน
– เกรดเฉลี่ยแรกเข้าไม่ต่ำกว่า 2.00
รับส่วนลดทุน 15% หรือ 50% (ขึ้นอยู่กับประเภททุนที่ได้รับ) ระยะเวลาเรียน 2.5 – 3 ปี
สมัครและสอบถาม ปรึกษาแนวทางการเรียน/อาชีพกับพี่ๆ แนะแนว ได้ 2 ช่องทาง
ห้องรับสมัครนักศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ชั้น L ตึก CP All Academy ถ.แจ้งวัฒนะ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30-16:00 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-15.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์)
ช่องทางออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็สมัครเรียนได้ CALL ปุ๊บ ให้ทุนการศึกษาเรียนต่อ ป.ตรี ทุกคณะ คลิก!
https://www.pim.ac.th/pim/archives/7101
Website: www.pim.ac.th
Facebook: https://www.facebook.com/pimfanpage
โทร. 02-855-0000
[email protected] : @pim.line