fbpx

คณะโลจิสติกส์ (Logistics) เรียนจบแล้วทำอะไรได้บ้าง?

 คณะโลจิสติกส์ (Logistics) เรียนจบแล้วทำอะไรได้บ้าง?

คณะโลจิสติกส์ (Logistics) อีกหนึ่งคณะที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน และเป็นที่ต้องการมากในตลาดแรงงาน โดยเป็นการเรียนเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ควบคุมการส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางตามความต้องการของลูกค้า เป็นการจัดการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อหาวิธีการขนส่งสินค้าที่ดีที่สุด โดยการขนส่งของระบบโลจิสติกส์นั้น ไม่ใช่แค่ทางบก หรือทางพื้นดินอย่างเดียว แต่ยังมีทางเรือ และทางอากาศด้วย

การขนส่งที่ดี ต้องมีการวางแผนการขนส่งอย่างรอบคอบ การตรวจสอบสินค้าในคลังสินค้า การจัดเก็บ การควบคุม การบริหารธุรกิจอย่างฉลาด รวมไปถึงต้องเข้าใจการตลาดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านการบริหารเงินด้วย โดยการทำงานของผู้ที่จบคณะโลจิสติกส์นั้น สามารถไปได้หลากหลายทาง ซึ่งสายงานหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ ดังนี้ 

  1. ฝ่ายจัดซื้อ มีหน้าที่จัดหาซื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการผลิตและการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยใช้ความสามารถและทักษะในการต่อรองเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผล และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์
  2. ฝ่ายจัดหา ทำหน้าที่ตั้งแต่กระบวนการซื้อโดยศึกษาความต้องการ หาแหล่งจัดซื้อและการคัดเลือกผู้ส่งมอบสินค้า การเจรจาต่อรองราคาและกำหนดเงื่อนไขให้ตรงตามความต้องการ รวมไปถึงการติดตามการจัดส่งเพื่อให้ได้รับสินค้าตรงเวลา
  3. ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการรับ – จ่าย การเก็บ และส่งสินค้าไปยังลูกค้า การตรวจเช็กสินค้าตามระบบการควบคุมของสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าและวัตถุดิบอย่างละเอียด และรอบคอบ
  4. ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ โดยหลัก ๆ จะมีหน้าที่ประสานข้อมูลจากลูกค้า วางแผนกระบวนการผลิตว่าต้องใช้ขั้นตอนอะไรบ้าง จัดวางกลยุทธ์ด้านการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพและระดับสินค้าคงคลัง เพื่อจัดส่งสินค้าอย่างเสร็จสมบูรณ์
  5. ฝ่ายการขนส่ง วางแผนการขนส่งอย่างเป็นระบบ รักษาคุณภาพของระบบขนส่งให้ทันเวลา รวมถึงการรักษาสินค้าได้อย่างปลอดภัย
  6. นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทำหน้าที่วิเคราะห์ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนด้านบริหารคลังสินค้า วัตถุดิบ สินค้าหลังการผลิต และการขนส่งสินค้าที่ได้สินค้าตรงตามเวลาและสถานที่ตามที่กำหนด  โดยจะวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน สนับสนุนงานบริการและการผลิต รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ
  7. นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า เป็นผู้วางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ในราคาต้นทุน ขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้องและรวดเร็วตามระบบของการผลิต รวมถึงขั้นตอนการขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือลูกค้าคนสุดท้าย ให้ถึงภายในระยะเวลาที่กำหนดและสินค้าปลอดภัย
  8. นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ ทำงานร่วมกับทีมงานในองค์กร เก็บรวมรวมข้อมูลความต้องการของผู้ใช้งาน วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบให้รองรับความต้องการ 
  9. ทำธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ ฯลฯ
  10. รับราชการ เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Faculty of Logistics

โดยปัจจุบันผู้จบด้านโลจิสติกส์ (Logistics) สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ประกอบอาชีพว่าอยากไปทางด้านไหน เนื่องจากความต้องการผู้ที่จบการศึกษาด้านโลจิสติกส์ยังคงมีความต้องการ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ธุรกิจด้านการขนส่งจำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างเหมาะสมเพื่อการตอบโจทย์ต่อการขนส่งในอนาคต

และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย ลองมาเตรียมความพร้อมไปพร้อม ๆ กันได้จากที่นี่เลย เตรียมสอบ TCAS65 หรืออยากหาโจทย์เก่า ๆ ทำเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ก็เข้ามาที่นี่ได้เลยน้าา คลังข้อสอบ แล้วมาฝึกทำข้อสอบไปพร้อม ๆ กันนะ

kat pari

pari

Related post