ผลจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าสุดปี 2019 โดยสถาบันการจัดอันดับ Quacquarelli Symonds (QS)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ วันนี้TCASter จึงขอนำเสนอข้อมูลการจัดอันดับมหาลัยให้น้องๆได้นำข้อมูลนี้ไปใช้ในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย
Quacquarelli Symond หรือ QS เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และยังเป็นองค์กรที่เผยแพร่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกในชื่อ “QS World University Rankings” โดยจะมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี
การจัดอันดับระดับนานาชาติโดย Quacquarelli Symonds (QS) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก แบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา (สาขาละ 100 อันดับ) ได้แก่
- สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์
- สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
- สาขาสังคมศาสตร์
และในปี2019 สถาบันการจัดอันดับ Quacquarelli Symonds (QS) แห่งสหราชอาณาจักร ได้มีการเปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับล่าสุดออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยเกณฑ์การพิจารณาที่นำมาใช้ในการจัดอันดับประกอบด้วย
- ชื่อเสียงทางวิชาการ : สำรวจจากอาจารย์ทั่วโลก (40%)
- ทัศนคติของผู้จ้างงานบัณฑิต : สำรวจจากผู้จ้างงานทั่วโลก (10%)
- สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา : ชี้วัดคุณภาพการสอน (20%)
- สัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ : ชี้วัดคุณภาพการวิจัย (20%)
- สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของนักศึกษา (5%)
- สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ : วัดความเป็นนานาชาติของอาจารย์ (5%)
มหาวิทยาลัยไทยอันดับ 4 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อยู่ในอันดับที่ 271
จุฬาฯ เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยจากหลายสถาบันจัดอันดับ ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย คุณภาพบัณฑิต คุณภาพด้านการวิจัย ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย คุณภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยในเขตเมือง และคุณภาพแยกตามรายวิชาอีก 27 รายวิชา
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล
อยู่ในอันดับที่ 380
จากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนักมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552 และเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network : AUN)
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อยู่ที่ช่วงอันดับ 601-650
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของประเทศไทย และในปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรปตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN)
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อยู่ในช่วงอันดับ 651-700
โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ อีกด้วย
อ้างอิงจาก : https://campus.campus-star.com , https://th.wikipedia.org/wiki , https://campus.campus-star.com/variety/73545.html